Resilience
ทักษะความสามารถในการล้มและลุก
Resilience คือกระบวนการในการปรับตัวได้ดีในช่วงเวลาที่ชีวิตมีความตึงเครียด, ต้องเผชิญหน้ากับความไม่แน่นอนและผันผวน เป็นความสามารถในการล้มและลุกขึ้นได้อย่างรวดเร็วเมื่อต้องเผชิญกับความบอบช้ำหรือโศกนาฏกรรม, การคุกคาม, หรือการขึ้นของความเครียดจากสาเหตุต่างๆ ไม่ว่าจากปัญหาครอบครัว, ปัญหาด้านความสัมพันธ์, ปัญหาด้านสุขภาพ, ปัญหาทางการเงิน หรือแม้แม้แต่ปัญหาในที่ทำงาน เป็นต้น โดยResilienceนั้น เป็นการตอบสนองด้วยทัศนคติในเชิงบวกต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิต จนสามารถก้าวข้ามและผ่านพ้นอุปสรรค และสามารถรับมือกับทุกการเปลี่ยนแปลงในชีวิตได้เป็นอย่างดี
Resilience เป็นทักษะที่สามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนากันได้ตลอดเวลา โดยขึ้นอยู่กับผู้คนรอบตัวที่เรามีปฏิสัมพันธ์และสภาพแวดล้อมที่อยู่ล้อมรอบตัวเรา ยิ่งเราเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะด้านResilienceมากเท่าใด เราก็จะยิ่งมีศักยภาพในการนำทักษะด้านResilienceไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตของเรามากขึ้น ซึ่งการพัฒนาทักษะด้านResilienceนั้น จะช่วยให้เราสามารถเผชิญหน้ากับความท้าทายและความยากลำบากในชีวิต ทำให้เรารู้สึกดีขึ้นและสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่างๆได้ดียิ่งขึ้น
เราสามารถดูแลตนเองให้ดีขึ้นพร้อมกับสร้างทักษะด้านResilienceได้อย่างไรบ้าง
1. ด้านร่างกาย = เสริมพลังงานทางกายภาพ : เริ่มต้นดูแลตัวเองด้วยการใส่ใจดูแลสุขภาพร่างกายเบื้องต้น การกินอาหารที่ดีต่อ ร่างกาย, นอนพักผ่อนให้เพียงพอ และเคลื่อนไหวร่างกายให้บ่อยขึ้น จะสามารถช่วยเราให้เรา มีพลังในการจัดการชีวิตมากขึ้น
มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น และสามารถเลือกทางเลือกในการใช้ชีวิตที่ดีกว่าได้
2. ด้านอารมณ์ = เสริมสร้างคุณภาพของพลังงาน : เมื่อคนเราสามารถควบคุมสภาวะอารมณ์ของตนเองได้ดี ก็จะสามารถพัฒนา พลังงานในด้านต่างๆของตนเองได้ดี โดยไม่มัวแต่วิตกกังวลถึงแรงกดดันหรือสถาวะความผันผวนที่กำลังเผชิญอยู่
3. ด้านจิตใจ = สร้างขุมพลังของความตั้งใจ : การมีสติคือความสามารถในการตั้งใจกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า โดยไม่กังวลถึงอดีตหรือ อนาคต หรือแสดงตระหนกตกใจกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
4. ด้านจิตวิญญาณของมนุษย์ = เสริมพลังแห่งคุณค่าและจุดหมายในชีวิต : การใช้ชีวิตอย่างมีความหมายและหมุดหมายใน ชีวิต จะช่วยให้เกิดพลังงานเชิงบวก และสามารถช่วยให้เราได้ใช้ชีวิตอย่างมีสติ,มีความตั้งใจ และมีความสุขกับการเผชิญหน้ากับ ความปกติใหม่ได้ดียิ่งขึ้น เป็นเรื่องปกติ ที่เราไม่สามารถควบคุมหลายๆเรื่องในชีวิตของเราได้ เฉกเช่นเดียวกับหยินและหยาง ทุก สิ่งในชีวิตคือเรื่องของความสมดุล หากปราศจากความมืด เราก็จะมองไม่เห็นคุณค่าของแสงสว่าง หากปราศจากความโศกเศร้า เราก็จะมองไม่เห็นคุณค่าของความสุข ชีวิตของคนเรานั้น ต้องการอารมณ์และประสบการณ์ชีวิตทั้งในเชิงบวกและเชิงลบเพื่อการ ชื่นชมในสิ่งต่างๆที่เรามีในชีวิตนี้มากยิ่งขึ้น
ทักษะด้านResilience จะช่วยให้เราเกิดการเรียนรู้ที่จะปล่อยวางและปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงและความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นในชีวิต พร้อมไปกับการช่วยให้เราได้ใช้ชีวิตด้วยกรอบความคิดใหม่ (New Mindset)ได้อย่างแท้จริง
สรุปและอ้างอิงจาก :
Website; Resilience Skills, Factors and Strategies of the Resilient Person : https://positivepsychology.com/resilience-skills/
Book: On Managing Yourself (HBR's 10 Must Read)
|
องค์กรสามารถนำทักษะการล้มและลุกของResilienceมาใช้ในองค์กรหลังจากการปรับตัวหรือการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงหรือความท้าทายใหม่ที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งทักษะResilienceที่เกิดขึ้นในองค์กรนั้น ถือว่าเป็นวัฒนธรรมแห่งการมีความยืดหยุ่นทางจิตใจ (Culture of Resilience) ที่แสดงออกให้เห็นถึงรูปแบบของการมี “ภูมิคุ้มกันทางใจ (Psychological Immunity)” ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบันนี้ มีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กร จนบางครั้งได้สร้างความปั่นป่วนหรือความผันผวนขึ้นอย่างมหาศาล ความสามารถในการรับมือผ่านทักษะResilienceขององค์กร จึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะนำมาใช้ในการขับเคลื่อนและนำพาองค์กรให้ก้าวผ่านกระแสคลื่นที่เกิดขึ้นนี้ไปได้
การสร้างวัฒนธรรมResilience ให้เกิดขึ้นในองค์กรนั้น พฤติกรรมของผู้นำหรือผู้มีบทบาทในองค์กรถือว่าเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างการรับรู้ในเรื่องของ Resilience ภายในองค์กรเป็นอย่างมาก โดยบุคคลเหล่านี้จะกลายเป็นบุคคลต้นแบบหรือRole-Model ที่สำคัญที่จะช่วยให้เกิดการสร้างวัฒนธรรมแห่งResilience โดยเฉพาะพฤติกรรมที่เป็นหัวใจสำคัญของResilience คือ การมองโลกในแง่ดีและตระหนักรู้ถึงประสิทธิภาพในตนเอง
พฤติกรรมเบื้องต้นของ 'ผู้นำที่มีความยืดหยุ่นสูง (Resilient Leadership)'
สรุปและอ้างอิงจาก :
องค์กรสามารถนำทักษะการล้มและลุกของResilienceมาใช้ในองค์กรหลังจากการปรับตัวหรือการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงหรือความท้าทายใหม่ที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งทักษะResilienceที่เกิดขึ้นในองค์กรนั้น ถือว่าเป็นวัฒนธรรมแห่งการมีความยืดหยุ่นทางจิตใจ (Culture of Resilience) ที่แสดงออกให้เห็นถึงรูปแบบของการมี “ภูมิคุ้มกันทางใจ (Psychological Immunity)” ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบันนี้ มีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กร จนบางครั้งได้สร้างความปั่นป่วนหรือความผันผวนขึ้นอย่างมหาศาล ความสามารถในการรับมือผ่านทักษะResilienceขององค์กร จึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะนำมาใช้ในการขับเคลื่อนและนำพาองค์กรให้ก้าวผ่านกระแสคลื่นที่เกิดขึ้นนี้ไปได้
การสร้างวัฒนธรรมResilience ให้เกิดขึ้นในองค์กรนั้น พฤติกรรมของผู้นำหรือผู้มีบทบาทในองค์กรถือว่าเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างการรับรู้ในเรื่องของ Resilience ภายในองค์กรเป็นอย่างมาก โดยบุคคลเหล่านี้จะกลายเป็นบุคคลต้นแบบหรือRole-Model ที่สำคัญที่จะช่วยให้เกิดการสร้างวัฒนธรรมแห่งResilience โดยเฉพาะพฤติกรรมที่เป็นหัวใจสำคัญของResilience คือ การมองโลกในแง่ดีและตระหนักรู้ถึงประสิทธิภาพในตนเอง
พฤติกรรมเบื้องต้นของ 'ผู้นำที่มีความยืดหยุ่นสูง (Resilient Leadership)'
- มีความอดทนต่อความยากลำบาก
- พยายามรับมือกับความท้าทายต่างๆที่เกิดขึ้น
- หมั่นฝึกฝนและทำแบบอย่างในเรื่องของรับรู้,เข้าใจตนเองและสามารถบริหารจัดการตนเองได้
- ให้การสนับสนุนและให้คำปรึกษาแก่ผู้อื่น
- ฝึกการสื่อสารแบบเปิด (Open Communication)
- มีความเด็ดขาดในการการคิดและการลงมือทำ
สรุปและอ้างอิงจาก :
- Resilience Theory: What Research Articles in Psychology Teach Us: https://positivepsychology.com/resilience-theory/
10 วิธีในการสร้างพลังแห่ง Resilience
#The3WorldsCreator Knowledge Sharing
: 10 วิธีในการสร้างพลังแห่ง Resilience
สรุปและอ้างอิงจาก :
The Road to Resilience – American Psychological Association
#The3WorldsCreator Knowledge Sharing
: 10 วิธีในการสร้างพลังแห่ง Resilience
- สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้คนรอบตัว : การมีความสัมพันธ์อันดีกับคนในครอบครัว,เพื่อนฝูง,หรือบุคคอื่นๆ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ การยอมรับความความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากผู้ที่ห่วงใยเราและรับฟังเราอย่างแท้จริงจะช่วยเสริมสร้างทักษะด้านResilienceได้ดี ในบางคนการได้ทำงานในกลุ่มหรือองค์กรเพื่อสังคม จะช่วยฟื้นฟูความหวังในชีวิตให้กลับมาอีกครั้ง เพราะการได้ช่วยเหลือผู้อื่นนั้น มักจะสร้างพลังคืนกลับให้กับผู้ที่ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นเสมอ
- ไม่มองว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นในชีวิตเป็นเรื่องที่เราไม่สามารถข้ามผ่านไปได้ : เราไม่สามารถสกัดกั้นไม่ให้ปัญหาหรือสถานการณ์ร้ายๆใดเกิดขึ้นได้ แต่เราสามารถเปลี่ยนวิธีการในการโต้ตอบและรับมือกับเรื่องเหล่านั้นๆได้ เมื่อรู้สึกเหนื่อยล้ากับการรับมือในสถานการณ์ที่ยากลำบาก ลองสังเกตสิ่งเล็กๆน้อยๆที่อยู่รอบตัว อาจจะช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้นบ้าง
- ยอมรับให้ได้ว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต : เพราะการเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การเดินทางไปสู่เป้าหมายในชีวิต อาจจะไม่เป็นดั่งที่ตั้งใจเอาไว้ การหันมาสนใจในเรื่องที่เราสามารถจัดการได้ จะช่วยให้เราค่อยๆรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิตได้ดียิ่งขึ้น
- มุ่งไปสู่เป้าหมาย : ปรับเป้าหมายที่ตั้งไว้ให้สามารถทำได้ง่ายขึ้น จับต้องได้มากขึ้น และมั่นทำทีละเล็กทีละน้อย การค่อยๆทำตามเป้าหมายไปที่ละน้อย จะช่วยให้เราจดจ่อกับความสำเร็จเล็กๆ เพื่อไปสู่ความสำเร็จที่ใหญ่ขึ้นในอนาคต
- ลงมือทำอย่างตั้งใจ : การลงมือทำอย่างตั้งอกตั้งใจ แทนการนั่งรอคอยให้ปัญหาและความเครียดที่เกิดขึ้นนั้นจางหายไปเอง จะช่วยให้เรารับมือกับปัญหาหรือสถานการณ์ได้ดีขึ้น
- มองเห็นโอกาสในการค้นหาตัวเอง : คนเรามักจะค้นพบตัวเองหลังจากการเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ยากลำบากหรือการสูญเสีย หลายๆคนมีจิตใจที่เข้มแข็งมากขึ้น เห็นคุณค่าในตัวเองมากขึ้น มีพัฒนาการทางจิตวิญญาณมากขึ้นและมีความซาบซึ้งต่อชีวิตมากขึ้นไปด้วย หลังจากข้ามผ่านเรื่องราวที่ยากลำบากเหล่านั้นไปได้
- หมั่นเติมพลังบวกให้กับตนเอง : การหมั่นสร้างความมั่นใจในการจัดการและรับมือกับปัญหาต่างให้กับตนเอง จะช่วยให้เรานั้นไว้วางใจในสัญชาตญาณของตนเองและเสริมสร้างทักษะด้านResilienceให้กับตนเองได้ดียิ่งขึ้น
- เปิดมุมมองใหม่ : แม้ว่าการเผชิญหน้ากับปัญหาหรือสถานการณ์ที่เลวร้ายนั้นจะทำให้เรารู้สึกเจ็บปวดมาก แต่ลองพยายามพิจารณาสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในบริบทที่กว้างขึ้นและระยะยาวมากขึ้น เพื่อเปิดมุมมองใหม่ในการมองปัญหาและสถานการณ์เหล่านั้น
- ใช้ชีวิตอย่างมีความหวังเสมอ : การมองโลกในแง่ดีทำให้เราคาดหวังได้ว่าจะมีสิ่งดีๆเกิดขึ้นในชีวิต ลองนึกภาพถึงสิ่งที่ตัวเราต้องการ แทนการกังวลไปกับสิ่งที่เรากลัว
- หมั่นใส่ใจดูแลตัวเอง : เอาใจใส่ความต้องการและความรู้สึกของตัวเราเองให้มากขึ้น หาเวลาในการทำกิจกรรมที่เราชอบและรู้สึกผ่อนคลาย หรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การดูแลตัวเองจะช่วยให้จิตใจและร่างกายของเราพร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น
สรุปและอ้างอิงจาก :
The Road to Resilience – American Psychological Association
การเดินทางของวีรบุรุษ
(The Hero's Journey)
การเดินทางของวีรบุรุษ (The Hero's Journey)
เมื่อการเดินทางของวีรบุรุษหรือที่เราเรียกกันว่า ‘Hero's Journey’ ได้กลายเป็นเรื่องราวที่เราสามารถรับรู้และเข้าถึงได้มากขึ้นในยุคปัจจุบันนี้ ผ่านภาพยนตร์,ละคร,ข่าวสารต่างๆ หรือการได้รับฟังเรื่องราวที่เกิดจากประสบการณ์ในการใช้ชีวิตของผู้อื่น
The Hero's Journey เป็นกรอบความคิดที่สามารถนำไปขยายได้หลากหลายมิติ และช่วยให้เรามองเห็นกระบวนการในการใช้ชีวิตได้อย่างชัดเจนขึ้น สามารถบอกเล่าเรื่องราวทั้งทุกข์และสุขของผู้เล่าเรื่อง รวมถึงเส้นทางของจิตวิญญาณที่เกิดขึ้นตลอดชีวิตของเรา และความมหัศจรรย์ที่พิเศษของ Hero’s Journey ก็คือ เมื่อผู้คนได้อ่านหรือได้ยินเรื่องราวการเดินทางในเส้นทางสายHero's Journey มักจะเกิดความรู้สึกประหลาดใจในเรื่องราวเล่านั้น และย้อนนึกถึงประสบการณ์ของตนเองที่เคยเกิดขึ้นและเกิดความรู้สึกร่วมในการเดินทางผจญภัยนี้มากยิ่งขึ้น
Hero's Journey มีรากฐานมาจากการศึกษาเชิงจิตวิทยาของ Carl G.Jung และการศึกษาตำนานโบราณของ Joseph Campbell โดย Joseph Campbell คือนักวิชาการที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับตำนาน และเรื่องราวต่างๆที่มีอยู่ทุกมุมบนโลกใบนี้ และเป็นผู้ตั้งทฤษฎีที่เรียกว่า Hero's Journey โดยเขาเชื่อว่า Hero's Journeyนั้นเป็นเรื่องราวที่เป็นมากกว่าการเป็นแค่หนังสือคู่มือสำหรับการใช้ชีวิต แต่Hero's Journeyนั้น เป็นคู่มือที่สมบูรณ์ของศิลปะแห่งการเป็นมนุษย์
Hero's Journey จึงไม่ได้เป็นเพียงเรื่องราวที่ถูกปั้นแต่งขึ้นมา แต่ยังเป็นเรื่องราวที่เกิดจากการสังเกตดูการใช้ชีวิต ซึ่งการใช้ชีวิตในแต่ละรูปแบบนั้น ล้วนแต่มีความงดงามในตัวของมันเอง ดังนั้นการเดินทางในเส้นทางของ Hero's Journey จึงไม่สามารถระบุรูปแบบได้อย่างชัดเจน และไม่สามารถกำหนดได้ว่ารูปแบบใดเป็นรูปแบบที่เหมาะสำหรับการใช้ชีวิตที่สุด เพราะเส้นทางสายHero's Journeyนั้น เป็นเส้นทางการเดินทางที่สามารถเกิดขึ้นได้ในหลากหลายรูปแบบ และแต่ละเส้นทางการเดินทางก็จะสอดคล้องไปตามรูปแบบจิตวิญญาณของแต่ละบุคคล หรืออาจจะมีเพียงภาพต้นแบบ (Archetype) ของวีรบุรุษหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่การผจญภัยบนเส้นทางสายชีวิตของแต่ละคนนั้น ล้วนมีความแตกต่างกันออกไปตามภารกิจของชีวิต (Mission of Life)และโชคชะตา (Destiny) ของแต่ละบุคคล
สรุปและอ้างอิงจาก :
งานบรรยาย HR Talk # 01 : The Hero Journey (2021) และหนังสือ The Writer's Journey: Mythic Structure for Writers ของ Christopher Vogler
เมื่อการเดินทางของวีรบุรุษหรือที่เราเรียกกันว่า ‘Hero's Journey’ ได้กลายเป็นเรื่องราวที่เราสามารถรับรู้และเข้าถึงได้มากขึ้นในยุคปัจจุบันนี้ ผ่านภาพยนตร์,ละคร,ข่าวสารต่างๆ หรือการได้รับฟังเรื่องราวที่เกิดจากประสบการณ์ในการใช้ชีวิตของผู้อื่น
The Hero's Journey เป็นกรอบความคิดที่สามารถนำไปขยายได้หลากหลายมิติ และช่วยให้เรามองเห็นกระบวนการในการใช้ชีวิตได้อย่างชัดเจนขึ้น สามารถบอกเล่าเรื่องราวทั้งทุกข์และสุขของผู้เล่าเรื่อง รวมถึงเส้นทางของจิตวิญญาณที่เกิดขึ้นตลอดชีวิตของเรา และความมหัศจรรย์ที่พิเศษของ Hero’s Journey ก็คือ เมื่อผู้คนได้อ่านหรือได้ยินเรื่องราวการเดินทางในเส้นทางสายHero's Journey มักจะเกิดความรู้สึกประหลาดใจในเรื่องราวเล่านั้น และย้อนนึกถึงประสบการณ์ของตนเองที่เคยเกิดขึ้นและเกิดความรู้สึกร่วมในการเดินทางผจญภัยนี้มากยิ่งขึ้น
Hero's Journey มีรากฐานมาจากการศึกษาเชิงจิตวิทยาของ Carl G.Jung และการศึกษาตำนานโบราณของ Joseph Campbell โดย Joseph Campbell คือนักวิชาการที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับตำนาน และเรื่องราวต่างๆที่มีอยู่ทุกมุมบนโลกใบนี้ และเป็นผู้ตั้งทฤษฎีที่เรียกว่า Hero's Journey โดยเขาเชื่อว่า Hero's Journeyนั้นเป็นเรื่องราวที่เป็นมากกว่าการเป็นแค่หนังสือคู่มือสำหรับการใช้ชีวิต แต่Hero's Journeyนั้น เป็นคู่มือที่สมบูรณ์ของศิลปะแห่งการเป็นมนุษย์
Hero's Journey จึงไม่ได้เป็นเพียงเรื่องราวที่ถูกปั้นแต่งขึ้นมา แต่ยังเป็นเรื่องราวที่เกิดจากการสังเกตดูการใช้ชีวิต ซึ่งการใช้ชีวิตในแต่ละรูปแบบนั้น ล้วนแต่มีความงดงามในตัวของมันเอง ดังนั้นการเดินทางในเส้นทางของ Hero's Journey จึงไม่สามารถระบุรูปแบบได้อย่างชัดเจน และไม่สามารถกำหนดได้ว่ารูปแบบใดเป็นรูปแบบที่เหมาะสำหรับการใช้ชีวิตที่สุด เพราะเส้นทางสายHero's Journeyนั้น เป็นเส้นทางการเดินทางที่สามารถเกิดขึ้นได้ในหลากหลายรูปแบบ และแต่ละเส้นทางการเดินทางก็จะสอดคล้องไปตามรูปแบบจิตวิญญาณของแต่ละบุคคล หรืออาจจะมีเพียงภาพต้นแบบ (Archetype) ของวีรบุรุษหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่การผจญภัยบนเส้นทางสายชีวิตของแต่ละคนนั้น ล้วนมีความแตกต่างกันออกไปตามภารกิจของชีวิต (Mission of Life)และโชคชะตา (Destiny) ของแต่ละบุคคล
สรุปและอ้างอิงจาก :
งานบรรยาย HR Talk # 01 : The Hero Journey (2021) และหนังสือ The Writer's Journey: Mythic Structure for Writers ของ Christopher Vogler
เส้นทางผจญภัยของเหล่าของวีรบุรุษ
(The Adventure of Hero's Journey)
ภายใต้กระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบันนี้ ทำให้หลายๆคนต้องปรับตัวและเตรียมตัวเองให้พร้อมสำหรับการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จากที่เราเคยใช้ชีวิตอยู่ในโลกปกติที่คุ้นเคยดี (Ordinary World) แต่เมื่อทุกอย่างเกิดการเปลี่ยนแปลง เราก็ต้องออกเดินทางจากโลกที่เราคุ้นชิน ไปสู่โลกใบใหม่ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน การใช้ชีวิตแบบเดิม,วิธีการเดิมและกฎเดิม ๆ ไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไป ความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นอีกศักยภาพหนึ่งที่เราจะต้องอาศัยทักษะและปัญญาญาณแห่งการเรียนรู้ชีวิต
The Hero's Journey ช่วยให้เราได้การออกเดินทางสำรวจไปยังเรื่องราวของชีวิตของคนธรรมดาคนหนึ่ง หรือการถูกผลักออกจากโซนแห่งความสบาย (Comfort Zone) ที่ก่อให้เกิดความวิตกกังวล ความหวาดกลัว และความรู้สึกไม่ปลอดภัยให้แก่คนธรรมดาแบบเราทุกคน โดย Joseph Campbell ได้ระบุไว้ในหนังสือ The Hero with a Thousand Faces ของเขาว่า การเดินทางของวีรบุรุษหรือ Hero’s Journey นั้น จะแบ่งช่วงการเดินทางออกเป็น 3 ช่วง (3 Stages) คือ Stage 1 Departure: วีรบุรุษจะเริ่มออกเดินทางจากดินแดนปกติสุขของตนเอง ซึ่งพวกเราเหล่ามนุษย์ธรรมดาทุกคน ล้วนต่างมีช่วงเวลาที่เราจะได้ยินเสียงเรียกสู่การผจญภัย(Call to adventure) ที่พวกเราจะต้องเดินทางออกจากบ้านแสนสุขหรือพื้นที่อันคุ้นชินของเรา เพื่อพบเจอกับบททดสอบแห่งชีวิต
Stage 2 Initiation: วีรบุรุษเริ่มที่จะผจญภัยในดินแดนแห่งใหม่ที่ตนเองไม่รู้จัก ซึ่งเป็นช่วงที่วีรบุรุษทุกคน จะต้องฝ่าฟันกับอุปสรรค, บททดสอบและความท้าทาย โดยสามารถเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้นด้วยตัวของตัวเอง และสามารถกลายเป็นวีรบุรุษที่แท้จริงได้
Stage 3 Return: เป็นช่วงที่วีรบุรุษจะต้องเดินทางกลับสู่บ้านของตนเอง หลังจากที่ประสบความสำเร็จในการการทำภารกิจแห่งชีวิตของตนเองแล้ว และนำบทเรียน, เรื่องราว หรือความรู้ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้นกับชีวิตตนเอง (Transformation), การผ่านบททดสอบแห่งชีวิตของตนเอง หรือการผจญภัยที่ผ่านมานั้น มาเป็นปัญญาญาณ (Wisdom) ที่จะช่วยให้ตนเองสามารถใช้ชีวิตอยู่กับโลกที่เป็นปกติด้วยมุมมองชีวิตแบบใหม่ รวมถึงนำประสบการณ์เหล่านั้นไปต่อยอดและทำให้ผู้คนรอบตัวและสังคมรอบด้านนั้นดีขึ้นกว่าเดิม
สรุปและอ้างอิงจาก :
งานบรรยาย HR Talk # 01 และ #02 : The Hero Journey (2021) และหนังสือ The Hero with a Thousand Faces ของ Joseph Campbell