TWC_ Newsletter
เทคนิคการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)
เทคนิคการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)
เราทุกคนต่างทราบว่า บางเทคนิคและวิธีการให้ข้อมูลย้อนกลับดูเหมือนจะได้ผลดีกว่าวิธีการอื่น เมื่อการให้ข้อมูลย้อนกลับถูกถ่ายทอดและตอบรับเป็นอย่างดี ผู้คนส่วนใหญ่จะยอมรับการให้ข้อมูลย้อนกลับดังเช่นวัตถุประสงค์ของการให้ข้อมูลย้อนกลับ ซึ่งได้แก่ การสร้างสิ่งใหม่ มีประโยชน์ และให้ความช่วยเหลือ เทคนิค 3 ประการที่ปฏิบัติแล้วมีอัตราความสำเร็จในระดับสูง ได้แก่ เทคนิคการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบมองเป้าหมายข้างหน้า(feedforward) เทคนิค DESC และเทคนิคให้-ได้รับ-ผสาน-ลงมือทำ (Give-get-merge-go)
การให้ข้อมูลย้อนกลับแบบมองเป้าหมายข้างหน้า (feedforward)
คุณจะเปิดรับฟังคำแนะนำพิเศษที่ช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในอนาคตมากขึ้นจากหุ้นส่วนหรือผู้ที่คุณเชื่อใจหรือไม่? แน่นอนว่า คุณคงจะเปิดรับฟัง และสิ่งนี้คือแนวคิดเบื้องหลังที่ผู้รู้ด้านการฝึกอบรมชื่อว่า Marshall Goldsmith ตั้งวิธีการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบมองเป้าหมายข้างหน้า (feedforward) ขึ้น
ตัวอย่างวิธีการนี้อาจเป็นในลักษณะดังต่อไปนี้ ครั้งหน้าที่คุณเข้าร่วมการประชุมพนักงาน คุณสามารถทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการถามความคิดเห็นของผู้อื่นแบบตรงไปตรงมาและปราศจากการพยายามให้เหตุผลหรือตรรกะว่า เหตุใดวิธีการของคุณจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่ควรลงมือปฏิบัติขั้นต่อไป
วิธีการสื่อสารการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบมองเป้าหมายข้างหน้า (feedforward) กับผู้อื่น มีแนวโน้มที่จะช่วยลดปฏิกิริยาการปกป้องตนเองและเพิ่มความน่าจะเป็นที่ผู้อื่นจะเต็มใจรับความคิดเห็นและคำแนะนำเชิงสร้างสรรค์สำหรับปรับปรุงสถานการณ์และปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในอนาคต
เทคนิค DESC
เทคนิคการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบ DESC ได้แก่ การอธิบาย การแสดงออก การระบุอย่างเฉพาะเจาะจง และผลลัพธ์ เป็นวิธีที่ง่ายและทรงพลังในการแสดงให้ผู้อื่นทราบว่า คุณต้องการให้พวกเขาทำสิ่งใดเพิ่มขึ้น น้อยลง หรือแตกต่างออกไป เพื่อเพิ่มระดับความสัมพันธ์ให้มากที่สุดหรือปรับปรุงงานที่พวกเขากำลังทำเทคนิคนี้จะได้ผลดีที่สุดกับผู้ที่คุณต้องการสื่อสารทางอารมณ์และผู้ที่มีแนวโน้มห่วงใยความรู้สึกและความต้องการของคุณ
ในการปฏิบัติ คุณสามารถใช้เทคนิคนี้แสดงออกอย่างชัดเจนถึงสิ่งที่คุณสังเกตและต้องการให้ผู้อื่นกระทำเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของพวกเขา ให้คุณเขียนประโยคสั้น ๆ 4 ประโยค บรรยายความรู้สึกจากใจ และพยายามเปิดรับการแสดงออกทั้งหมดเพื่อเริ่มต้นการสนทนาให้นานขึ้น
ขั้นแรก อธิบายพฤติกรรมของผู้อื่นที่คุณรับรู้ได้ ใช้คำว่า “ฉัน” (ไม่ใช่ “เราทุกคนต่างสังเกตเห็นว่า”) โดยมุ่งเน้นไปที่พฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งที่สำคัญสำหรับคุณ อ้างถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมา จากนั้น อธิบายโดยใช้คำพูดที่ไม่ตัดสินผู้อื่น (ตัวอย่างเช่น หลีกเลี่ยงการใช้คำว่า “เสมอ หรือ ไม่เคย”) และอย่าพาดพิงถึงประเด็นด้านบุคลิกภาพหรือบุคลิกลักษณะ
ต่อมา อธิบายว่า พฤติกรรมของผู้อื่นทำให้คุณรู้สึกอย่างไร แบ่งปันอารมณ์ความรู้สึกเชิงบวกและเชิงลบที่พฤติกรรมของพวกเขาส่งผลกระทบต่อคุณ
ระบุสิ่งที่คุณปรารถนาให้ผู้อื่นกระทำเพิ่มขึ้น น้อยลง หรือแตกต่างออกไปจากเดิม หรือสิ่งที่ควรเลิกหรือควรเริ่มต้นทำใหม่ จัดลำดับความสำคัญเพียงแค่ 1 พฤติกรรมที่สำคัญที่สุดสำหรับคุณ และตรวจสอบให้แน่ใจว่า พฤติกรรมนั้นเป็นสิ่งที่เฉพาะเจาะจงและน่าจะเกิดขึ้นได้จริง
ขั้นสุดท้าย แบ่งปันผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของพวกเขา โดยเริ่มต้นจากผลประโยชน์เชิงบวกที่คุณได้รับ ถ้าคุณเคยยกประเด็นปัญหาหรือร้องขอให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมาแล้ว ให้เปลี่ยนการสนทนาไปสู่ผลกระทบที่ได้รับในเชิงลบมากขึ้น ตรวจสอบให้แน่ใจว่า ผลลัพธ์ที่คุณแบ่งปันคือสิ่งที่คุณปรารถนาจะสนับสนุนและพร้อมลงมือทำ
เทคนิคให้-ได้รับ-ผสาน-ลงมือทำ (Give-get-merge-go)
เทคนิคนี้เป็นวิธีการที่ดีที่จะยืนกรานและแสดงความคิดและความคิดเห็นของคุณ รวมทั้งเป็นเทคนิคที่ใช้สำหรับการมีส่วนร่วมและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ลำดับขั้นตอนการให้ข้อมูลย้อนกลับที่สำคัญ ได้แก่
• เสนอมุมมองของคุณ คุณไม่จำเป็นต้องถามผู้อื่นเกี่ยวกับความคิดและความคิดเห็นของพวกเขาเป็นลำดับแรก แต่ให้ยืนกรานความคิดและข้อเสนอแนะของคุณเองในขั้นตอนแรก
• เปิดรับมุมมองของผู้อื่น โดยการรวบรวมปฏิกิริยาของพวกเขาเข้ากับความคิด ข้อเสนอแนะ หรือข้อเสนอของคุณ ยกตัวอย่างเช่น “คุณมีปฏิกิริยาใดต่อข้อเสนอแนะของฉัน”
• ผสานข้อเสนอแนะของทั้งคุณและพวกเขาเข้าด้วยกัน แต่ต้องแปลความหมายเสียก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจมุมมองของพวกเขาอย่างแท้จริง และเรียบเรียงความคิดและข้อเสนอแนะของคุณขึ้นใหม่ ยกตัวอย่างเช่น "ถ้าผมเข้าใจสิ่งที่คุณแนะนำได้ถูกต้อง สิ่งนั้นคือ..."
• ลงมือปฏิบัติและสรุปสิ่งที่คุณทั้งคู่เห็นตรงกันและสิ่งที่เห็นไม่ตรงกัน รวมทั้งชี้แจงสิ่งที่คุณต้องการอภิปรายเพิ่มเติมในอนาคต
แม้ว่าคุณจะ "เห็นด้วยไปจนถึงไม่เห็นด้วย" ก็ตาม วิธีการเหล่านี้จะช่วยลดการเผชิญหน้าในการทำงานร่วมกันให้น้อยลงและเป็นจิตวิญญาณของการแสวงหาทางออกแบบ win-win
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ประสบความสำเร็จ
เมื่ออยู่ในภาวะวิกฤติ การให้ข้อมูลย้อนกลับดูเหมือนจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อประสิทธิภาพและสุขภาพของบุคคลและทีม แต่การให้ข้อมูลย้อนกลับเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ประสบความสำเร็จ ถ้าเป็นไปได้ ให้พยายามใช้การให้ข้อมูลย้อนกลับแบบมองเป้าหมายข้างหน้า (feedforward) เพื่อลดการปกป้องตนเองและเพิ่มการยอมรับเพื่อค้นหาวิธีการเติบโตและเรียนรู้หากคุณต้องการร้องขอให้ผู้อื่นเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และได้เตรียมการวิจารณ์ที่สร้างสรรค์ไว้สำหรับพวกเขาแล้ว ให้คุณคำนึงถึงการใช้เทคนิค DESC หรือให้เทคนิคให้-ได้รับ-ผสาน-ลงมือทำ (Give-get-merge-go) เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ แต่ก็ไม่ได้รับประกันว่า เทคนิคการให้ข้อมูลย้อนกลับเหล่านี้จะประสบความสำเร็จเสมอไป แต่เทคนิคเหล่านี้เพียงแค่ช่วยดึงความเจ็บปวดออกจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างคุณกับผู้อื่นเท่านั้น
Kenneth Nowack
Facebook : www.facebook.com/the3worldscreator
LINE ID : the3worldscreator
Tel. 02-530-9150,093-245-9985
เราทุกคนต่างทราบว่า บางเทคนิคและวิธีการให้ข้อมูลย้อนกลับดูเหมือนจะได้ผลดีกว่าวิธีการอื่น เมื่อการให้ข้อมูลย้อนกลับถูกถ่ายทอดและตอบรับเป็นอย่างดี ผู้คนส่วนใหญ่จะยอมรับการให้ข้อมูลย้อนกลับดังเช่นวัตถุประสงค์ของการให้ข้อมูลย้อนกลับ ซึ่งได้แก่ การสร้างสิ่งใหม่ มีประโยชน์ และให้ความช่วยเหลือ เทคนิค 3 ประการที่ปฏิบัติแล้วมีอัตราความสำเร็จในระดับสูง ได้แก่ เทคนิคการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบมองเป้าหมายข้างหน้า(feedforward) เทคนิค DESC และเทคนิคให้-ได้รับ-ผสาน-ลงมือทำ (Give-get-merge-go)
การให้ข้อมูลย้อนกลับแบบมองเป้าหมายข้างหน้า (feedforward)
คุณจะเปิดรับฟังคำแนะนำพิเศษที่ช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในอนาคตมากขึ้นจากหุ้นส่วนหรือผู้ที่คุณเชื่อใจหรือไม่? แน่นอนว่า คุณคงจะเปิดรับฟัง และสิ่งนี้คือแนวคิดเบื้องหลังที่ผู้รู้ด้านการฝึกอบรมชื่อว่า Marshall Goldsmith ตั้งวิธีการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบมองเป้าหมายข้างหน้า (feedforward) ขึ้น
ตัวอย่างวิธีการนี้อาจเป็นในลักษณะดังต่อไปนี้ ครั้งหน้าที่คุณเข้าร่วมการประชุมพนักงาน คุณสามารถทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการถามความคิดเห็นของผู้อื่นแบบตรงไปตรงมาและปราศจากการพยายามให้เหตุผลหรือตรรกะว่า เหตุใดวิธีการของคุณจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่ควรลงมือปฏิบัติขั้นต่อไป
วิธีการสื่อสารการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบมองเป้าหมายข้างหน้า (feedforward) กับผู้อื่น มีแนวโน้มที่จะช่วยลดปฏิกิริยาการปกป้องตนเองและเพิ่มความน่าจะเป็นที่ผู้อื่นจะเต็มใจรับความคิดเห็นและคำแนะนำเชิงสร้างสรรค์สำหรับปรับปรุงสถานการณ์และปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในอนาคต
เทคนิค DESC
เทคนิคการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบ DESC ได้แก่ การอธิบาย การแสดงออก การระบุอย่างเฉพาะเจาะจง และผลลัพธ์ เป็นวิธีที่ง่ายและทรงพลังในการแสดงให้ผู้อื่นทราบว่า คุณต้องการให้พวกเขาทำสิ่งใดเพิ่มขึ้น น้อยลง หรือแตกต่างออกไป เพื่อเพิ่มระดับความสัมพันธ์ให้มากที่สุดหรือปรับปรุงงานที่พวกเขากำลังทำเทคนิคนี้จะได้ผลดีที่สุดกับผู้ที่คุณต้องการสื่อสารทางอารมณ์และผู้ที่มีแนวโน้มห่วงใยความรู้สึกและความต้องการของคุณ
ในการปฏิบัติ คุณสามารถใช้เทคนิคนี้แสดงออกอย่างชัดเจนถึงสิ่งที่คุณสังเกตและต้องการให้ผู้อื่นกระทำเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของพวกเขา ให้คุณเขียนประโยคสั้น ๆ 4 ประโยค บรรยายความรู้สึกจากใจ และพยายามเปิดรับการแสดงออกทั้งหมดเพื่อเริ่มต้นการสนทนาให้นานขึ้น
ขั้นแรก อธิบายพฤติกรรมของผู้อื่นที่คุณรับรู้ได้ ใช้คำว่า “ฉัน” (ไม่ใช่ “เราทุกคนต่างสังเกตเห็นว่า”) โดยมุ่งเน้นไปที่พฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งที่สำคัญสำหรับคุณ อ้างถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมา จากนั้น อธิบายโดยใช้คำพูดที่ไม่ตัดสินผู้อื่น (ตัวอย่างเช่น หลีกเลี่ยงการใช้คำว่า “เสมอ หรือ ไม่เคย”) และอย่าพาดพิงถึงประเด็นด้านบุคลิกภาพหรือบุคลิกลักษณะ
ต่อมา อธิบายว่า พฤติกรรมของผู้อื่นทำให้คุณรู้สึกอย่างไร แบ่งปันอารมณ์ความรู้สึกเชิงบวกและเชิงลบที่พฤติกรรมของพวกเขาส่งผลกระทบต่อคุณ
ระบุสิ่งที่คุณปรารถนาให้ผู้อื่นกระทำเพิ่มขึ้น น้อยลง หรือแตกต่างออกไปจากเดิม หรือสิ่งที่ควรเลิกหรือควรเริ่มต้นทำใหม่ จัดลำดับความสำคัญเพียงแค่ 1 พฤติกรรมที่สำคัญที่สุดสำหรับคุณ และตรวจสอบให้แน่ใจว่า พฤติกรรมนั้นเป็นสิ่งที่เฉพาะเจาะจงและน่าจะเกิดขึ้นได้จริง
ขั้นสุดท้าย แบ่งปันผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของพวกเขา โดยเริ่มต้นจากผลประโยชน์เชิงบวกที่คุณได้รับ ถ้าคุณเคยยกประเด็นปัญหาหรือร้องขอให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมาแล้ว ให้เปลี่ยนการสนทนาไปสู่ผลกระทบที่ได้รับในเชิงลบมากขึ้น ตรวจสอบให้แน่ใจว่า ผลลัพธ์ที่คุณแบ่งปันคือสิ่งที่คุณปรารถนาจะสนับสนุนและพร้อมลงมือทำ
เทคนิคให้-ได้รับ-ผสาน-ลงมือทำ (Give-get-merge-go)
เทคนิคนี้เป็นวิธีการที่ดีที่จะยืนกรานและแสดงความคิดและความคิดเห็นของคุณ รวมทั้งเป็นเทคนิคที่ใช้สำหรับการมีส่วนร่วมและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ลำดับขั้นตอนการให้ข้อมูลย้อนกลับที่สำคัญ ได้แก่
• เสนอมุมมองของคุณ คุณไม่จำเป็นต้องถามผู้อื่นเกี่ยวกับความคิดและความคิดเห็นของพวกเขาเป็นลำดับแรก แต่ให้ยืนกรานความคิดและข้อเสนอแนะของคุณเองในขั้นตอนแรก
• เปิดรับมุมมองของผู้อื่น โดยการรวบรวมปฏิกิริยาของพวกเขาเข้ากับความคิด ข้อเสนอแนะ หรือข้อเสนอของคุณ ยกตัวอย่างเช่น “คุณมีปฏิกิริยาใดต่อข้อเสนอแนะของฉัน”
• ผสานข้อเสนอแนะของทั้งคุณและพวกเขาเข้าด้วยกัน แต่ต้องแปลความหมายเสียก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจมุมมองของพวกเขาอย่างแท้จริง และเรียบเรียงความคิดและข้อเสนอแนะของคุณขึ้นใหม่ ยกตัวอย่างเช่น "ถ้าผมเข้าใจสิ่งที่คุณแนะนำได้ถูกต้อง สิ่งนั้นคือ..."
• ลงมือปฏิบัติและสรุปสิ่งที่คุณทั้งคู่เห็นตรงกันและสิ่งที่เห็นไม่ตรงกัน รวมทั้งชี้แจงสิ่งที่คุณต้องการอภิปรายเพิ่มเติมในอนาคต
แม้ว่าคุณจะ "เห็นด้วยไปจนถึงไม่เห็นด้วย" ก็ตาม วิธีการเหล่านี้จะช่วยลดการเผชิญหน้าในการทำงานร่วมกันให้น้อยลงและเป็นจิตวิญญาณของการแสวงหาทางออกแบบ win-win
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ประสบความสำเร็จ
เมื่ออยู่ในภาวะวิกฤติ การให้ข้อมูลย้อนกลับดูเหมือนจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อประสิทธิภาพและสุขภาพของบุคคลและทีม แต่การให้ข้อมูลย้อนกลับเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ประสบความสำเร็จ ถ้าเป็นไปได้ ให้พยายามใช้การให้ข้อมูลย้อนกลับแบบมองเป้าหมายข้างหน้า (feedforward) เพื่อลดการปกป้องตนเองและเพิ่มการยอมรับเพื่อค้นหาวิธีการเติบโตและเรียนรู้หากคุณต้องการร้องขอให้ผู้อื่นเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และได้เตรียมการวิจารณ์ที่สร้างสรรค์ไว้สำหรับพวกเขาแล้ว ให้คุณคำนึงถึงการใช้เทคนิค DESC หรือให้เทคนิคให้-ได้รับ-ผสาน-ลงมือทำ (Give-get-merge-go) เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ แต่ก็ไม่ได้รับประกันว่า เทคนิคการให้ข้อมูลย้อนกลับเหล่านี้จะประสบความสำเร็จเสมอไป แต่เทคนิคเหล่านี้เพียงแค่ช่วยดึงความเจ็บปวดออกจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างคุณกับผู้อื่นเท่านั้น
Kenneth Nowack
Facebook : www.facebook.com/the3worldscreator
LINE ID : the3worldscreator
Tel. 02-530-9150,093-245-9985