TWC_ Newsletter
ความสัมพันธ์และมิตรภาพในวัยผู้ใหญ่
ความสัมพันธ์และมิตรภาพในวัยผู้ใหญ่ จะช่วยลดความเจ็บปวด สร้างความอดทนต่อความเจ็บปวดได้ดีขึ้น เพิ่มความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงโรคซึมเศร้าและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
ดร. Laura Carstensen แห่ง Stanford University's Center on Longevity พบว่า อารมณ์เป็นสาเหตุของกระบวนการทำงานของร่างกาย คนที่ขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีความเสี่ยงต่อปัญหาทางสุขภาพโดยตรง
นักจิตวิทยา ดร. Andrew Steptoe แห่งมหาวิทยาลัย คอลลิน ลอนดอน พบว่า ความรู้สึกโดดเดี่ยวและการแยกตัวจากสังคมเพิ่มความเสี่ยงของอัตราการเสียชีวิต เมื่อเทียบจากปัจจัยด้านสถิติจำนวนประชากรและพื้นฐานด้านสุขภาพ (PNAS, 2013)
ดร. Steptoe พบว่า "ความรู้สึก" แยกตัวหรือไม่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม เป็นอันตรายมากกว่า การแยกตัวอยู่เพียงลำพังเสียอีก ความรู้สึกโดดเดี่ยวมีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา
การศึกษาความสัมพันธ์ทางสังคมความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนและครอบครัว หากขาดความสัมพันธ์ทางสังคมมากเท่าไหร่ จะเป็นสัญญาณถึงระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ (Psychoneuroendocrinology, 2013)
สร้างมิตรภาพในวัยผู้ใหญ่ได้อย่างไร?
1. สร้างความคุ้นเคย
การทดลองให้คนแปลกหน้า (เพศเดียวกัน) ให้คะแนนความพึงพอใจที่มีต่อกัน หลังจากพบปะสนทนาและพูดคุยทางออนไลน์หลายครั้ง ปรากฏว่าผู้ทดลองให้คะแนนความพึงพอใจต่อกันมากขึ้น
2. เปิดเผยความลับ
การเพิ่มระดับความลึกของคำถามและคำตอบระหว่างคนแปลกหน้าสามารถสร้างมิตรภาพได้ภายใน 45 นาที โดยเริ่มต้นด้วยคำถามทั่วไปและค่อยๆ สร้างความสัมพันธ์ด้วยคำถามที่มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น เช่น "ถ้าคุณรู้ว่า วันพรุ่งนี้คนใกล้ชิดของคุณจะเสียชีวิต คุณจะบอกอะไรแก่เขาในวันนี้ และทำไมคุณถึงยังไม่บอกเขา?"
3. ตระหนักว่ามันเป็นเพียงความคิด
ความโดดเดี่ยวเป็น ประสบการณ์เชิงนามธรรม ที่ยิ่งคิดก็ยิ่งรู้สึกว่าความโดดเดี่ยวนั้นเป็นเรื่องจริง เมื่อผู้คนรู้สึกแยกตัวจากสังคม สมองจะเข้าสู่ภาวะป้องกันตนเองจากการถูกคุกคาม ซึ่งถ้าเป็นบ่อยๆ จะเป็นอันตรายต่อร่างกาย สุขภาพจิตและ ความสุขของตนเอง ทำให้มองโลกในแง่ร้าย
เทคนิคในการลดความรู้สึกโดดเดี่ยวและคิดในแง่ร้าย คือ การแบ่งปันเรื่องราวด้านบวกของชีวิตกับผู้อื่น จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาทักษะทางสังคม และเพิ่มโอกาสในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
4. ออนไลน์ด้วยความระมัดระวัง
โซเชียลมีเดียช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีแก่ผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางสังคมระดับสูง แต่อาจทำให้ผู้ที่แยกตัวจากสังคม ยิ่งรู้สึกแยกตัวมากขึ้นไปอีก (Journal of Personality and Social Psychology, 2011)
5. ไม่บังคับ
ถ้ารู้สึกกดดันในการพยายามสรัางความสัมพันธ์ใหม่ สามารถปฏิเสธการเชิญชวนให้เป็นเพื่อนได้ และมุ่งความสนใจในสิ่งหรือบุคคลที่ทำให้มีความสุขแทน "ถ้าคุณไม่มีความรู้สึกตื่นตัวทางสังคมมาก ไม่สนใจถึงความจำเป็นในการขยายวงโซเชียลเนตเวิร์ค และคุณมีความมั่นคงทางอารมณ์ที่ดี สุขภาพจิตดี ดังนั้น คุณไม่จำเป็นต้องรู้สึกตื่นตระหนก"
ไม่ควรรีบตัดสินเมื่อมีผู้อื่นกล่าวว่า "ฉันไม่ชอบไปปาร์ตี้ ฉันไม่อยากมีเพื่อนใหม่" จริงๆ แล้วเป็นเรื่องปกติเพราะมีผู้คนอีกจำนวนมากที่รู้สึกอย่างเดียวกัน ดังนั้น ไม่ว่าการมีเพื่อนสนิทเพียง 2 คน หรือรายล้อมไปด้วยเพื่อนที่คุ้นเคย 20 คน สิ่งสำคัญคือ การรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของบางสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าตนเอง
Facebook : www.facebook.com/the3worldscreator
LINE ID : the3worldscreator
Tel. 02-530-9150,093-245-9985
ดร. Laura Carstensen แห่ง Stanford University's Center on Longevity พบว่า อารมณ์เป็นสาเหตุของกระบวนการทำงานของร่างกาย คนที่ขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีความเสี่ยงต่อปัญหาทางสุขภาพโดยตรง
นักจิตวิทยา ดร. Andrew Steptoe แห่งมหาวิทยาลัย คอลลิน ลอนดอน พบว่า ความรู้สึกโดดเดี่ยวและการแยกตัวจากสังคมเพิ่มความเสี่ยงของอัตราการเสียชีวิต เมื่อเทียบจากปัจจัยด้านสถิติจำนวนประชากรและพื้นฐานด้านสุขภาพ (PNAS, 2013)
ดร. Steptoe พบว่า "ความรู้สึก" แยกตัวหรือไม่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม เป็นอันตรายมากกว่า การแยกตัวอยู่เพียงลำพังเสียอีก ความรู้สึกโดดเดี่ยวมีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา
การศึกษาความสัมพันธ์ทางสังคมความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนและครอบครัว หากขาดความสัมพันธ์ทางสังคมมากเท่าไหร่ จะเป็นสัญญาณถึงระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ (Psychoneuroendocrinology, 2013)
สร้างมิตรภาพในวัยผู้ใหญ่ได้อย่างไร?
1. สร้างความคุ้นเคย
การทดลองให้คนแปลกหน้า (เพศเดียวกัน) ให้คะแนนความพึงพอใจที่มีต่อกัน หลังจากพบปะสนทนาและพูดคุยทางออนไลน์หลายครั้ง ปรากฏว่าผู้ทดลองให้คะแนนความพึงพอใจต่อกันมากขึ้น
2. เปิดเผยความลับ
การเพิ่มระดับความลึกของคำถามและคำตอบระหว่างคนแปลกหน้าสามารถสร้างมิตรภาพได้ภายใน 45 นาที โดยเริ่มต้นด้วยคำถามทั่วไปและค่อยๆ สร้างความสัมพันธ์ด้วยคำถามที่มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น เช่น "ถ้าคุณรู้ว่า วันพรุ่งนี้คนใกล้ชิดของคุณจะเสียชีวิต คุณจะบอกอะไรแก่เขาในวันนี้ และทำไมคุณถึงยังไม่บอกเขา?"
3. ตระหนักว่ามันเป็นเพียงความคิด
ความโดดเดี่ยวเป็น ประสบการณ์เชิงนามธรรม ที่ยิ่งคิดก็ยิ่งรู้สึกว่าความโดดเดี่ยวนั้นเป็นเรื่องจริง เมื่อผู้คนรู้สึกแยกตัวจากสังคม สมองจะเข้าสู่ภาวะป้องกันตนเองจากการถูกคุกคาม ซึ่งถ้าเป็นบ่อยๆ จะเป็นอันตรายต่อร่างกาย สุขภาพจิตและ ความสุขของตนเอง ทำให้มองโลกในแง่ร้าย
เทคนิคในการลดความรู้สึกโดดเดี่ยวและคิดในแง่ร้าย คือ การแบ่งปันเรื่องราวด้านบวกของชีวิตกับผู้อื่น จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาทักษะทางสังคม และเพิ่มโอกาสในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
4. ออนไลน์ด้วยความระมัดระวัง
โซเชียลมีเดียช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีแก่ผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางสังคมระดับสูง แต่อาจทำให้ผู้ที่แยกตัวจากสังคม ยิ่งรู้สึกแยกตัวมากขึ้นไปอีก (Journal of Personality and Social Psychology, 2011)
5. ไม่บังคับ
ถ้ารู้สึกกดดันในการพยายามสรัางความสัมพันธ์ใหม่ สามารถปฏิเสธการเชิญชวนให้เป็นเพื่อนได้ และมุ่งความสนใจในสิ่งหรือบุคคลที่ทำให้มีความสุขแทน "ถ้าคุณไม่มีความรู้สึกตื่นตัวทางสังคมมาก ไม่สนใจถึงความจำเป็นในการขยายวงโซเชียลเนตเวิร์ค และคุณมีความมั่นคงทางอารมณ์ที่ดี สุขภาพจิตดี ดังนั้น คุณไม่จำเป็นต้องรู้สึกตื่นตระหนก"
ไม่ควรรีบตัดสินเมื่อมีผู้อื่นกล่าวว่า "ฉันไม่ชอบไปปาร์ตี้ ฉันไม่อยากมีเพื่อนใหม่" จริงๆ แล้วเป็นเรื่องปกติเพราะมีผู้คนอีกจำนวนมากที่รู้สึกอย่างเดียวกัน ดังนั้น ไม่ว่าการมีเพื่อนสนิทเพียง 2 คน หรือรายล้อมไปด้วยเพื่อนที่คุ้นเคย 20 คน สิ่งสำคัญคือ การรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของบางสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าตนเอง
Facebook : www.facebook.com/the3worldscreator
LINE ID : the3worldscreator
Tel. 02-530-9150,093-245-9985