Inner Journey
โอกาสงามยามวิกฤติ (ตอนแรก)
วิกฤติแม่กับวัยรุ่นเมื่อ 2 ปีก่อนช่วยให้แม่ตาสว่างและเติบโตขึ้นหลายด้าน เราใช้เวลาเดินทางไกลจากจุดเดิมมาพอควรและคิดว่าทุกอย่างน่าจะลงตัว แต่ชีวิตไม่ได้สมบูรณ์แบบขนาดนั้น พอเราแม่ลูกแข็งแรงขึ้นคราวนี้ฟ้าส่งบททดสอบมาให้ใหม่ เพื่อให้เราแม่ลูกได้เติบโตขึ้นอีกขั้น
จำได้ว่าเรา 4 คนแม่ลูกไปนั่งกินข้าวกันที่ร้านอาหารชื่อดังเมื่อ 2 ปีก่อน แม่ถามลูกว่า “ซื้อกลับไปกินเป็นข้าวเช้าที่บ้านวันพรุ่งนี้ดีไหมลูก วันนี้ดึกแล้วแม่กลับไปทำอาหารเช้าไม่ทัน” ลูกตอบกลับมาว่า “ดีแม่ จะได้ไม่ต้องกลับไปกินอาหารห่วยๆ ที่บ้าน” แม่ฟังแล้วนิ่งเงียบเหมือนถูกทุบแต่ไม่ได้พูดอะไร เก็บปากสงบคำจนมาถึงบ้าน
แม่อดรนทนไม่ได้ต้องถามลูกวัยรุ่นว่า “อะไรคืออาหารห่วยๆ ในความคิดของลูก” ลูกตอบว่า “แม่ไม่รู้หรือว่าอาหารของแม่ทำมีแต่ ... เค็มและเค็ม พวกเราทนกินมานานมาก มันไม่อร่อย แม่จะใส่ผงปรุงรสหรือผงชูรสลงไปได้นะแม่ มันกินไม่ได้จริงๆ”
แม่นิ่งอยู่นานจนพูดขึ้นมาว่า “ลูกรู้ไหมว่าตั้งแต่แม่ป่วย ลิ้นแม่ชิมอาหารไม่รู้รส จมูกแม่ดมไม่ได้กลิ่น แม่เป็นอย่างนี้มาสักพักแล้ว แม่เห็นลูกชอบกินเค็ม แม่เลยใส่เกลือเพิ่มเพื่อให้ลูกกินข้าวได้มากขึ้น” “แต่แม่ไม่รู้ว่าเรากินไม่ได้ เราทุกคนไม่กล้าบอกแม่” ลูกตอบ
คืนนั้นเราคุยกันอยู่นานมากจนได้ข้อสรุปร่วมกันว่าลูกจะเตือนแม่เองถ้าอาหารแม่เค็มไปหรือจืดไป แม่บอกลูกไปว่าแม่เสียใจที่ได้ยินลูกพูดแบบนี้ เพราะงานหลักของชีวิตแม่คือเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตวิญญาณของทุกคนในบ้าน อาหารคือสะพานเชื่อมโลกทั้งสองเข้าด้วยกัน วันที่ลูกโตขึ้นลูกจะเห็นคุณค่าของสองเรื่องนี้ ลูกขอโทษเพราะไม่ได้ตั้งใจพูดให้แม่เสียใจ
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แม่พยายามปรับปรุงวิธีทำอาหารใหม่ ลูกบอกให้แม่ดู YouTube ที่สอนทำอาหารแต่แม่ดูแล้วทำออกมาก็ไม่อร่อย แม่ได้สูตรลับจากเพื่อนแม่หลายคนที่ได้ยินแม่เล่าเรื่องอาหารห่วยๆ ของตัวเองให้ฟัง แม้แม่จะหัวเราะสนุกตอนเล่าแต่แม่ก็จริงจังกับการปรับปรุงรสชาติอาหารของตัวเองมาก
ทุกอย่างคลี่คลายไปด้วยดี ลูกชมว่าบางวันอาหารแม่อร่อยมากกกก บางวันต้องพัฒนา เราคุยกันอย่างเปิดใจมากขึ้น แม่เองสนุกกับการทำอาหารเมนูใหม่ ถ่ายรูปส่งไปในไลน์ห้องครอบครัวเพื่อเชิญชวนลูกๆ มากินอาหาร
หลายครั้งที่แม่ต้องแอบลุ้นจากในครัวว่าลูกกินกันหมดหรือเปล่า ถ้าลูกตะโกนมาว่ามีเพิ่มอีกไหมแม่ แม่รีบตอบกลับทันทีว่า “มีค่ะลูก รอแป๊ปเดี๋ยวออกไปเสริฟ” แม่ยอมหัวหมุนปาดเหงื่ออยู่ในครัวเพราะลูกชม
ปัญหาเรื่องอาหารในบ้านดูเหมือนจะคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีเมื่อเราเข้าใจมุมมองของกันและกันมากขึ้น แม้วัยรุ่นจะพูดตรงเป็นไม้บรรทัด แต่บางครั้งก็แอบได้ยินลูกคุยกันว่ากินอาหารที่แม่ทำเถอะเดี๋ยวแม่เสียใจ
แม่แอบน้ำตารื่นเพราะลูกเริ่มเข้าใจสิ่งที่แม่ตั้งใจและอดตาหลับขับตานอนเพื่อให้ลูกได้กินอาหารรสมือแม่ ความอร่อยดูเป็นเรื่องรอง อาหารกลายเป็นสื่อกลางที่เราใช้แทนความรัก ความห่วงใยในบ้าน อาหารคือพรที่แม่มอบให้กับลูกเพื่อเป็นเกราะคุ้มกันชีวิต
แล้ววิกฤติโควิดก็ส่งบททดสอบใหม่มาให้แม่ แม่เริ่มยกหน้าที่ทำอาหารเย็นให้ปัญญ์หลังลูกมีเวลาว่างจากภารกิจเรื่องการเรียนและการเตรียมตัวเข้ามหาวิทยาลัย ฝีมือทำอาหารของลูกก้าวไกลกว่าแม่มาก ปัญญ์ทำอาหารได้ทั้งอาหารอินเดีย เกาหลี ญี่ปุ่น ทำขนมและเค้กกินกันทุกวัน ส่วนแม่เหลือเพียงทำข้าวเช้าเท่านั้น
ปกติเราจะคุยกันแบบหลวมๆ ว่าแม่จะทำอะไร เราจะบริหารของสดที่เอาลงมาจากช่องแข็งอย่างไร เหมือนแม่กับปัญญ์จะรู้จังหวะกันและกันว่าถ้าใครใช้ของสดไม่หมด คนทำอาหารมื้อต่อไปต้องคิดเมนูจากของสดที่มี ณ วันนั้น
เช้าวันนั้นแม่รีบไปทำงานทำให้เมนูหมูทอดกระเทียมพริกไทยต้องถูกเปลี่ยนกระทันหันเป็นหมูสับผัดหอมใหญ่ แม่เสี่ยงทำไข่เจียวหมูสับเพิ่มเพราะอยากแก้มือจากวันก่อนที่ทอดไข่เจียวไก่สับอมน้ำมันเกินไป
ชีวิตที่ดูราบเรียบราวทะเลที่ดูสงบนิ่งกลับเปลี่ยนเป็นท้องทะเลที่มีคลื่มลมแรงเพียงเพราะเมนูเร่งด่วน 2 จานนี้ ความเบิกบานที่แม่มีแปรเปลี่ยนไปเป็นพลังงานใหม่ที่แม่ไม่คาดคิด อาหารสองเมนูนี้เปลี่ยนแปลงมุมมองและมอบแง่งามในชีวิตเราสองแม่ลูกได้อย่างไรติดตามต่อได้ในตอนจบค่ะ
รัก
แม่
7/4/63
บริษัท เดอะ ทรี เวิลด์ส ครีเอเตอร์ จำกัด
LINE ID : the3worldscreator
Facebook : www.facebook.com/the3worldscreator
Tel. 093-2459985, 02-5309150
จำได้ว่าเรา 4 คนแม่ลูกไปนั่งกินข้าวกันที่ร้านอาหารชื่อดังเมื่อ 2 ปีก่อน แม่ถามลูกว่า “ซื้อกลับไปกินเป็นข้าวเช้าที่บ้านวันพรุ่งนี้ดีไหมลูก วันนี้ดึกแล้วแม่กลับไปทำอาหารเช้าไม่ทัน” ลูกตอบกลับมาว่า “ดีแม่ จะได้ไม่ต้องกลับไปกินอาหารห่วยๆ ที่บ้าน” แม่ฟังแล้วนิ่งเงียบเหมือนถูกทุบแต่ไม่ได้พูดอะไร เก็บปากสงบคำจนมาถึงบ้าน
แม่อดรนทนไม่ได้ต้องถามลูกวัยรุ่นว่า “อะไรคืออาหารห่วยๆ ในความคิดของลูก” ลูกตอบว่า “แม่ไม่รู้หรือว่าอาหารของแม่ทำมีแต่ ... เค็มและเค็ม พวกเราทนกินมานานมาก มันไม่อร่อย แม่จะใส่ผงปรุงรสหรือผงชูรสลงไปได้นะแม่ มันกินไม่ได้จริงๆ”
แม่นิ่งอยู่นานจนพูดขึ้นมาว่า “ลูกรู้ไหมว่าตั้งแต่แม่ป่วย ลิ้นแม่ชิมอาหารไม่รู้รส จมูกแม่ดมไม่ได้กลิ่น แม่เป็นอย่างนี้มาสักพักแล้ว แม่เห็นลูกชอบกินเค็ม แม่เลยใส่เกลือเพิ่มเพื่อให้ลูกกินข้าวได้มากขึ้น” “แต่แม่ไม่รู้ว่าเรากินไม่ได้ เราทุกคนไม่กล้าบอกแม่” ลูกตอบ
คืนนั้นเราคุยกันอยู่นานมากจนได้ข้อสรุปร่วมกันว่าลูกจะเตือนแม่เองถ้าอาหารแม่เค็มไปหรือจืดไป แม่บอกลูกไปว่าแม่เสียใจที่ได้ยินลูกพูดแบบนี้ เพราะงานหลักของชีวิตแม่คือเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตวิญญาณของทุกคนในบ้าน อาหารคือสะพานเชื่อมโลกทั้งสองเข้าด้วยกัน วันที่ลูกโตขึ้นลูกจะเห็นคุณค่าของสองเรื่องนี้ ลูกขอโทษเพราะไม่ได้ตั้งใจพูดให้แม่เสียใจ
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แม่พยายามปรับปรุงวิธีทำอาหารใหม่ ลูกบอกให้แม่ดู YouTube ที่สอนทำอาหารแต่แม่ดูแล้วทำออกมาก็ไม่อร่อย แม่ได้สูตรลับจากเพื่อนแม่หลายคนที่ได้ยินแม่เล่าเรื่องอาหารห่วยๆ ของตัวเองให้ฟัง แม้แม่จะหัวเราะสนุกตอนเล่าแต่แม่ก็จริงจังกับการปรับปรุงรสชาติอาหารของตัวเองมาก
ทุกอย่างคลี่คลายไปด้วยดี ลูกชมว่าบางวันอาหารแม่อร่อยมากกกก บางวันต้องพัฒนา เราคุยกันอย่างเปิดใจมากขึ้น แม่เองสนุกกับการทำอาหารเมนูใหม่ ถ่ายรูปส่งไปในไลน์ห้องครอบครัวเพื่อเชิญชวนลูกๆ มากินอาหาร
หลายครั้งที่แม่ต้องแอบลุ้นจากในครัวว่าลูกกินกันหมดหรือเปล่า ถ้าลูกตะโกนมาว่ามีเพิ่มอีกไหมแม่ แม่รีบตอบกลับทันทีว่า “มีค่ะลูก รอแป๊ปเดี๋ยวออกไปเสริฟ” แม่ยอมหัวหมุนปาดเหงื่ออยู่ในครัวเพราะลูกชม
ปัญหาเรื่องอาหารในบ้านดูเหมือนจะคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีเมื่อเราเข้าใจมุมมองของกันและกันมากขึ้น แม้วัยรุ่นจะพูดตรงเป็นไม้บรรทัด แต่บางครั้งก็แอบได้ยินลูกคุยกันว่ากินอาหารที่แม่ทำเถอะเดี๋ยวแม่เสียใจ
แม่แอบน้ำตารื่นเพราะลูกเริ่มเข้าใจสิ่งที่แม่ตั้งใจและอดตาหลับขับตานอนเพื่อให้ลูกได้กินอาหารรสมือแม่ ความอร่อยดูเป็นเรื่องรอง อาหารกลายเป็นสื่อกลางที่เราใช้แทนความรัก ความห่วงใยในบ้าน อาหารคือพรที่แม่มอบให้กับลูกเพื่อเป็นเกราะคุ้มกันชีวิต
แล้ววิกฤติโควิดก็ส่งบททดสอบใหม่มาให้แม่ แม่เริ่มยกหน้าที่ทำอาหารเย็นให้ปัญญ์หลังลูกมีเวลาว่างจากภารกิจเรื่องการเรียนและการเตรียมตัวเข้ามหาวิทยาลัย ฝีมือทำอาหารของลูกก้าวไกลกว่าแม่มาก ปัญญ์ทำอาหารได้ทั้งอาหารอินเดีย เกาหลี ญี่ปุ่น ทำขนมและเค้กกินกันทุกวัน ส่วนแม่เหลือเพียงทำข้าวเช้าเท่านั้น
ปกติเราจะคุยกันแบบหลวมๆ ว่าแม่จะทำอะไร เราจะบริหารของสดที่เอาลงมาจากช่องแข็งอย่างไร เหมือนแม่กับปัญญ์จะรู้จังหวะกันและกันว่าถ้าใครใช้ของสดไม่หมด คนทำอาหารมื้อต่อไปต้องคิดเมนูจากของสดที่มี ณ วันนั้น
เช้าวันนั้นแม่รีบไปทำงานทำให้เมนูหมูทอดกระเทียมพริกไทยต้องถูกเปลี่ยนกระทันหันเป็นหมูสับผัดหอมใหญ่ แม่เสี่ยงทำไข่เจียวหมูสับเพิ่มเพราะอยากแก้มือจากวันก่อนที่ทอดไข่เจียวไก่สับอมน้ำมันเกินไป
ชีวิตที่ดูราบเรียบราวทะเลที่ดูสงบนิ่งกลับเปลี่ยนเป็นท้องทะเลที่มีคลื่มลมแรงเพียงเพราะเมนูเร่งด่วน 2 จานนี้ ความเบิกบานที่แม่มีแปรเปลี่ยนไปเป็นพลังงานใหม่ที่แม่ไม่คาดคิด อาหารสองเมนูนี้เปลี่ยนแปลงมุมมองและมอบแง่งามในชีวิตเราสองแม่ลูกได้อย่างไรติดตามต่อได้ในตอนจบค่ะ
รัก
แม่
7/4/63
บริษัท เดอะ ทรี เวิลด์ส ครีเอเตอร์ จำกัด
LINE ID : the3worldscreator
Facebook : www.facebook.com/the3worldscreator
Tel. 093-2459985, 02-5309150