Inner Journey
Once upon a Time ...กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว
หลายคนคงเคยได้ยินวลีนี้เวลาฟังนิทาน เรื่องเล่าหรือตำนาน ณ ริมแม่น้ำโขง ประเทศลาว พี่มีโอกาสได้แบ่งปันประสบการณ์และเรื่องราวของเส้นทาง “วิชาชีพ” ให้กับน้องๆ เลขา ผู้เลือกสถานที่ให้เราได้มาพบกันในบรรยากาศสบายๆ ที่ร้านกาแฟกลางกรุงเวียงจันทน์ชื่อ Once upon a time
จริงๆ พี่เขียนเรื่องนี้ไว้ตั้งปีเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว แต่ไม่ทันได้เล่าให้ทุกคนฟังเพราะมีเรื่องเหตุการณ์สำคัญหลายอย่างที่แทรกเข้ามา วันนี้เป็นวันอาทิตย์สบายๆ ในวันที่พี่นั่งทำงานและคิดเรื่องชีวิตไปพร้อมกัน ยิ่งค้นลึกลงไปในเรื่องราวที่กำลังศึกษา ชื่อ “Once upon a a Time” ก็ผุดขึ้นมาในใจอีกครั้ง เหมือนเป็นสัญญาณเตือนให้นำเรื่องที่เขียนมาแบ่งปันผ่าน “วิชาชีพแรก” ที่ส่งผลต่อการทำงานและการตัดสินใจสำคัญหลายเรื่องในชีวิตแม้เวลาจะผ่านไปเกือบ 30 ปี
พี่จบวิชาเลขานุการจากโรงเรียนเลขาที่ต้องใส่สูทสีน้ำเงินและใส่รองเท้าส้นสูงส้นเข็ม 3 นิ้วไปโรงเรียนทุกวัน ยังจำภาพตัวเองใส่ส้นสูงวิ่งลงเรือข้ามฟากเพื่อมาเรียนที่สาทรทุกวันได้ติดตา เพราะต้องโหย่งเท้าวิ่งเพื่อไม่ให้ส้นเข็มตกลงไปในร่องไม้ทีมีขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้างในท่าเรือข้ามฟาก
มาสเตอร์ที่เป็นครูใหญ่เข้มงวดเรื่องส้นรองเท้าของพวกเรามาก ส้นรองห้ามถลอกเป็นรอยขีดข่วนเพราะจะทำให้เสีย Look ของเลขานุการ ตอนเด็กๆ พี่ไม่ค่อยเข้าใจว่าส้นรองเท้าเกี่ยวอะไรกับวิชาชีพ ใครที่ส้นรองเท้าไม่สวยต้องคอยเปลี่ยนส้นให้เนี๊ยบตลอดเวลา
วิชาเลขาในสมัยก่อนที่พี่เรียนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดทุกวิชา มีวิชาภาษาไทยวิชาเดียวคือพิมพ์ดีดไทย จำได้ว่าวิชาแปลกใหม่และดูเป็นความลับสมคำว่า Secretary หรือผู้เก็บความลับ คือวิชา short hand นักเรียนต้องจดบันทึกสิ่งที่ได้ยินเป็นตัวย่อแค่เส้นตรงและเส้นโค้ง
ตอนเรียนปี 1 ไม่ได้ทำอะไรเลยนอกจากฝึกเขียนเส้นโค้งและเส้นตรงบนสมุดกราฟ เพื่อฝึกมือให้คล่อง จำความสูงให้ได้ว่าเสียงของสระและตัวอักษรสูงต่างกันเท่าไหร่ ถือเป็นแบบฝึกหัดที่ตลกดีในตอนแรกเพราะเรียนลากเส้นอย่างเดียว แต่ตอนหลังกลายเป็นทักษะที่ช่วยได้มากเพราะถ้าเราลากยาวเกินไป 1 ช่องคำแปลก็ผิดเพี้ยนได้ทันที
ยุคสมัยเปลี่ยนไปไม่แน่ใจว่าเลขานุการรุ่นลูกหลานจะได้เรียนวิชา Shorthand หรือที่แปลเป็นไทยว่าเชาวเลขหรือเปล่า เดี๋ยวต้องค้นคว้าเพิ่มเติมว่าทำไมคนไทยเรียกว่าเชาวเลข พี่คิดเอาเองว่าอาจเป็นเพราะเลขาต้องใช้เชาว์ปัญญาในการจำเสียงตัวอักษรเช่นคำว่า Shorthand เป็นเสียงของ Sh (เชอะ) + H (เฮอะ) + D (เดอะ) คำที่ยาวๆ ก็หดสั้นเหลือ 3 ขีด
จำได้ว่าตอนเรียนทั้งสนุกทั้งเครียดเพราะต้องใช้ทักษะการฟังสูงมาก มาสเตอร์จะยืนอ่านจดหมายยาวๆ หนึ่งหน้า A4 ทุกคนต้องตั้งใจฟังเสียงทุกเสียงให้ครบและจดเป็นเส้นและแปลคืนกลับมาเป็นประโยคในจดหมายอีกที ถ้าหูเพี้ยนแปลออกมาได้เป็นคนละความหมาย เป็นวิชาที่สร้างความอัศจรรย์ใจให้พี่ยิ่งนัก
ตอนจบนักเรียนทุกคนต้องทำ Mission Statement หรือพันธกิจแห่งวิชาชีพ เหมือนเป็นพิธีสาบานตนว่าจะรักษาและสืบถอดเจตนารมณ์ของวิชาชีพด้วยกฎเพียง 2 ข้อที่นักเรียนเลขานุการต้องจำจนขึ้นใจคือ
Rule No. 1: Boss is always right (นายถูกเสมอ)
Rule No. 2: When he does something wrong, see rule No. 1 (ถ้านายทำบางอย่างผิดไป ดูกฏข้อที่ 1)
ตอนเรียนจบรู้สึกว่ามันเป็นพิธีสาบานตนที่ศักดิ์สิทธิ์มาก โรงเรียนจัดงานเลี้ยงฉลองให้พวกเราที่โรงแรมหรูริมแม่น้ำเจ้าพระยา นักเรียนทุกคนต้องใส่ชุดสีขาวมาในงานเพื่อเฉลิมฉลองวิชาชีพอันทรงเกียรตินี้ ซึ่งตอนนั้นพี่รู้สึกว่า “ฉันคงยึดวิชาชีพนี้ไปจนแก่เหมือนมิสที่สอนทุกคน”
พี่รักและภาคภูมิใจในวิชาชีพเลขานุการมาก อาจเป็นเพราะพี่มีโอกาสได้ทำงานกับนายเก่งๆ หลายคน ทำให้มีเรื่องราวมากมายให้เรียนรู้ มีงานสนุกๆ และโครงการใหม่ๆ ให้ได้คิด นำเสนอและเติบโตไปพร้อมนาย
จนมาวันหนึ่งนายยื่นหนังสือชื่อ “อย่าหยุดแค่ตำแหน่งเลขา” มาให้เป็นของขวัญวันเกิด พี่ไม่ยอมเปิดอ่านเพราะไม่คิดว่าจะย้ายไปทำตำแหน่งอื่น ที่สำคัญคิดภาพตัวเองไม่ออกว่าตัวเองจะเปลี่ยนวิชาชีพไปทำงานด้านไหนได้อีก
วันเกิดปีที่สองนายถามว่าอ่านหรือยัง พี่ตอบว่ายังไม่ได้เปิดและไม่รู้ว่าไปเก็บไว้ที่ไหนแล้ว ตอนเย็นก่อนกลับบ้านนายซื้อหนังสือเล่มเดิมมาวางไปให้อีกครั้งและกำชับว่า “เธอควรจะเปิดอ่านสักที”
อาจเป็นความคิดแบบเด็กๆ ที่ไม่เชื่อว่าเราควรเปิดโลกทัศน์และหาความรู้อื่นเพิ่มเติมด้วย พี่คิดอย่างเดียวว่านี่คือวิชาชีพที่พี่รักที่สุด เราเรียนและโตมากับวิชาชีพที่เต็มไปด้วยเรื่องราวที่มีเรื่องใหม่ให้ทำทุกวัน ทำไมเราต้องคิดเรื่องอื่นด้วย
พี่ได้พบคำตอบหลายอย่างกลับมาเปิดหนังสือเล่มนี้ตอนโต เสียดายที่หนังสือทั้ง 2 เล่มที่อุตส่าห์เก็บไว้ในกล่องอย่างดีตอนย้ายบ้านแต่ตอนนี้หาไม่เจอ สำนักพิมพ์เลิกผลิตแล้ว พี่เจอหนังสืออีกเรื่อง “ที่ทางของคุณบนโลกนี้” ของสำนักพิมพ์ Oh My God (OMG) ที่พี่หยิบจากเมืองไทยไปแนะนำให้น้องๆ หาซื้อมาเก็บไว้ข้างตัว
หนังสือสองเล่มนี้มีความเชื่อมโยงกันอย่างคาดไม่ถึง ถือเป็น “ตำราชีวิต” ที่น่าศึกษาในวันที่เราอยากสืบค้นให้ลึกลงไปว่าวิชาชีพกับชีวิตสอดประสานกันอย่างไร ติดตามตอนต่อไปค่ะ
รัก
พี่ณี
10/2/62
บริษัท เดอะ ทรี เวิลด์ส ครีเอเตอร์ จำกัด
LINE ID : the3worldscreator
Facebook : www.facebook.com/the3worldscreator
Tel. 093-2459985, 02-5309150
จริงๆ พี่เขียนเรื่องนี้ไว้ตั้งปีเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว แต่ไม่ทันได้เล่าให้ทุกคนฟังเพราะมีเรื่องเหตุการณ์สำคัญหลายอย่างที่แทรกเข้ามา วันนี้เป็นวันอาทิตย์สบายๆ ในวันที่พี่นั่งทำงานและคิดเรื่องชีวิตไปพร้อมกัน ยิ่งค้นลึกลงไปในเรื่องราวที่กำลังศึกษา ชื่อ “Once upon a a Time” ก็ผุดขึ้นมาในใจอีกครั้ง เหมือนเป็นสัญญาณเตือนให้นำเรื่องที่เขียนมาแบ่งปันผ่าน “วิชาชีพแรก” ที่ส่งผลต่อการทำงานและการตัดสินใจสำคัญหลายเรื่องในชีวิตแม้เวลาจะผ่านไปเกือบ 30 ปี
พี่จบวิชาเลขานุการจากโรงเรียนเลขาที่ต้องใส่สูทสีน้ำเงินและใส่รองเท้าส้นสูงส้นเข็ม 3 นิ้วไปโรงเรียนทุกวัน ยังจำภาพตัวเองใส่ส้นสูงวิ่งลงเรือข้ามฟากเพื่อมาเรียนที่สาทรทุกวันได้ติดตา เพราะต้องโหย่งเท้าวิ่งเพื่อไม่ให้ส้นเข็มตกลงไปในร่องไม้ทีมีขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้างในท่าเรือข้ามฟาก
มาสเตอร์ที่เป็นครูใหญ่เข้มงวดเรื่องส้นรองเท้าของพวกเรามาก ส้นรองห้ามถลอกเป็นรอยขีดข่วนเพราะจะทำให้เสีย Look ของเลขานุการ ตอนเด็กๆ พี่ไม่ค่อยเข้าใจว่าส้นรองเท้าเกี่ยวอะไรกับวิชาชีพ ใครที่ส้นรองเท้าไม่สวยต้องคอยเปลี่ยนส้นให้เนี๊ยบตลอดเวลา
วิชาเลขาในสมัยก่อนที่พี่เรียนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดทุกวิชา มีวิชาภาษาไทยวิชาเดียวคือพิมพ์ดีดไทย จำได้ว่าวิชาแปลกใหม่และดูเป็นความลับสมคำว่า Secretary หรือผู้เก็บความลับ คือวิชา short hand นักเรียนต้องจดบันทึกสิ่งที่ได้ยินเป็นตัวย่อแค่เส้นตรงและเส้นโค้ง
ตอนเรียนปี 1 ไม่ได้ทำอะไรเลยนอกจากฝึกเขียนเส้นโค้งและเส้นตรงบนสมุดกราฟ เพื่อฝึกมือให้คล่อง จำความสูงให้ได้ว่าเสียงของสระและตัวอักษรสูงต่างกันเท่าไหร่ ถือเป็นแบบฝึกหัดที่ตลกดีในตอนแรกเพราะเรียนลากเส้นอย่างเดียว แต่ตอนหลังกลายเป็นทักษะที่ช่วยได้มากเพราะถ้าเราลากยาวเกินไป 1 ช่องคำแปลก็ผิดเพี้ยนได้ทันที
ยุคสมัยเปลี่ยนไปไม่แน่ใจว่าเลขานุการรุ่นลูกหลานจะได้เรียนวิชา Shorthand หรือที่แปลเป็นไทยว่าเชาวเลขหรือเปล่า เดี๋ยวต้องค้นคว้าเพิ่มเติมว่าทำไมคนไทยเรียกว่าเชาวเลข พี่คิดเอาเองว่าอาจเป็นเพราะเลขาต้องใช้เชาว์ปัญญาในการจำเสียงตัวอักษรเช่นคำว่า Shorthand เป็นเสียงของ Sh (เชอะ) + H (เฮอะ) + D (เดอะ) คำที่ยาวๆ ก็หดสั้นเหลือ 3 ขีด
จำได้ว่าตอนเรียนทั้งสนุกทั้งเครียดเพราะต้องใช้ทักษะการฟังสูงมาก มาสเตอร์จะยืนอ่านจดหมายยาวๆ หนึ่งหน้า A4 ทุกคนต้องตั้งใจฟังเสียงทุกเสียงให้ครบและจดเป็นเส้นและแปลคืนกลับมาเป็นประโยคในจดหมายอีกที ถ้าหูเพี้ยนแปลออกมาได้เป็นคนละความหมาย เป็นวิชาที่สร้างความอัศจรรย์ใจให้พี่ยิ่งนัก
ตอนจบนักเรียนทุกคนต้องทำ Mission Statement หรือพันธกิจแห่งวิชาชีพ เหมือนเป็นพิธีสาบานตนว่าจะรักษาและสืบถอดเจตนารมณ์ของวิชาชีพด้วยกฎเพียง 2 ข้อที่นักเรียนเลขานุการต้องจำจนขึ้นใจคือ
Rule No. 1: Boss is always right (นายถูกเสมอ)
Rule No. 2: When he does something wrong, see rule No. 1 (ถ้านายทำบางอย่างผิดไป ดูกฏข้อที่ 1)
ตอนเรียนจบรู้สึกว่ามันเป็นพิธีสาบานตนที่ศักดิ์สิทธิ์มาก โรงเรียนจัดงานเลี้ยงฉลองให้พวกเราที่โรงแรมหรูริมแม่น้ำเจ้าพระยา นักเรียนทุกคนต้องใส่ชุดสีขาวมาในงานเพื่อเฉลิมฉลองวิชาชีพอันทรงเกียรตินี้ ซึ่งตอนนั้นพี่รู้สึกว่า “ฉันคงยึดวิชาชีพนี้ไปจนแก่เหมือนมิสที่สอนทุกคน”
พี่รักและภาคภูมิใจในวิชาชีพเลขานุการมาก อาจเป็นเพราะพี่มีโอกาสได้ทำงานกับนายเก่งๆ หลายคน ทำให้มีเรื่องราวมากมายให้เรียนรู้ มีงานสนุกๆ และโครงการใหม่ๆ ให้ได้คิด นำเสนอและเติบโตไปพร้อมนาย
จนมาวันหนึ่งนายยื่นหนังสือชื่อ “อย่าหยุดแค่ตำแหน่งเลขา” มาให้เป็นของขวัญวันเกิด พี่ไม่ยอมเปิดอ่านเพราะไม่คิดว่าจะย้ายไปทำตำแหน่งอื่น ที่สำคัญคิดภาพตัวเองไม่ออกว่าตัวเองจะเปลี่ยนวิชาชีพไปทำงานด้านไหนได้อีก
วันเกิดปีที่สองนายถามว่าอ่านหรือยัง พี่ตอบว่ายังไม่ได้เปิดและไม่รู้ว่าไปเก็บไว้ที่ไหนแล้ว ตอนเย็นก่อนกลับบ้านนายซื้อหนังสือเล่มเดิมมาวางไปให้อีกครั้งและกำชับว่า “เธอควรจะเปิดอ่านสักที”
อาจเป็นความคิดแบบเด็กๆ ที่ไม่เชื่อว่าเราควรเปิดโลกทัศน์และหาความรู้อื่นเพิ่มเติมด้วย พี่คิดอย่างเดียวว่านี่คือวิชาชีพที่พี่รักที่สุด เราเรียนและโตมากับวิชาชีพที่เต็มไปด้วยเรื่องราวที่มีเรื่องใหม่ให้ทำทุกวัน ทำไมเราต้องคิดเรื่องอื่นด้วย
พี่ได้พบคำตอบหลายอย่างกลับมาเปิดหนังสือเล่มนี้ตอนโต เสียดายที่หนังสือทั้ง 2 เล่มที่อุตส่าห์เก็บไว้ในกล่องอย่างดีตอนย้ายบ้านแต่ตอนนี้หาไม่เจอ สำนักพิมพ์เลิกผลิตแล้ว พี่เจอหนังสืออีกเรื่อง “ที่ทางของคุณบนโลกนี้” ของสำนักพิมพ์ Oh My God (OMG) ที่พี่หยิบจากเมืองไทยไปแนะนำให้น้องๆ หาซื้อมาเก็บไว้ข้างตัว
หนังสือสองเล่มนี้มีความเชื่อมโยงกันอย่างคาดไม่ถึง ถือเป็น “ตำราชีวิต” ที่น่าศึกษาในวันที่เราอยากสืบค้นให้ลึกลงไปว่าวิชาชีพกับชีวิตสอดประสานกันอย่างไร ติดตามตอนต่อไปค่ะ
รัก
พี่ณี
10/2/62
บริษัท เดอะ ทรี เวิลด์ส ครีเอเตอร์ จำกัด
LINE ID : the3worldscreator
Facebook : www.facebook.com/the3worldscreator
Tel. 093-2459985, 02-5309150