Inner Journey
จากดินสู่ดาว ...
Biodynamic Agriculture Farm (ตอนที่ 1)
ไม่น่าเชื่อว่าวิชาเกษตรชีวพลวัตร หรือ Biodynamic Agriculture ที่เรียนเมื่อเกือบ 7 ปีก่อน กับป้าอ้วนและเพื่อนๆ ที่ดุลยพัฒน์ ขอนแก่น ยังเป็นพลวัตที่ขับเคลื่อนอยู่ภายในให้พี่ออกเดินทางค้นหาความหมายที่แท้ของการก่อเกิดชีวิต
ในฐานะคนเมืองที่ไม่มีความรู้ใดๆ เกี่ยวกับการทำเกษตรกรรม การเรียนวิชา Nutrition กับอาจารย์ Daphne ช่วยเตรียมเมล็ดพันธุ์บางอย่างให้พี่เข้าใจที่มาที่ไปของอาหารเปี่ยมแสง น้ำนมจากแม่วัวที่ยังไม่ถูกตัดเขา วัวที่กินหญ้า น้ำผึ้ง กระบวนการย่อย และกระบวนการก่อเกิดชีวิตที่ถูกนำมาถ่ายทอดอีกครั้งในบริบทของวิชา Biodynamic Agriculture
ถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่ได้เห็นผู้ทำฟาร์มขนาดใหญ่จนถึงขนาดย่อม ผู้ปกครองอาสา คุณหมอและนักขับเคลื่อนสังคมมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เมื่อวันที่ 9-13 ตุลาคมที่ผ่านมากับคุณครู Bernard Jarman
ครูเริ่มด้วยหลักการของการทำเกษตรชีวพลวัต ที่ประกอบไปด้วยหลักการสำคัญ 3 ข้อคือ
1. การสร้างความยั่งยืนด้วยตัวเอง
2. การสร้างพลวัตและวัฏจักรในฟาร์ม
3. การสร้างและบริหารฟาร์มในฐานะองคาพยพที่มีชีวิต
ด้วยหลักการ 3 ข้อนี้ แปลงเกษตรมิได้มีบทบาทเป็นเพียงที่ทำการเพาะปลูกเท่านั้น หากแต่เป็นชุมชนขององค์ชีวิตที่หลากหลายซึ่งมาอยู่ร่วมกันในผืนดินแต่ละแปลง
คุณครู Bernard ช่วยให้เราตระหนักว่าหน้าที่ของเจ้าของฟาร์มคือการสร้างบุคลิกอันเป็นปัจเจกเฉพาะให้กับฟาร์มของตนเอง เพราะทุกฟาร์มมีอัตชีวประวัติ (Biography) มีวัตถุประสงค์ของการดำรงอยู่ทั้งเพื่อตนเองและเพื่อผู้อื่น ทุกสรรพชีวิตภายในฟาร์มเกื้อกูลและหล่อเลี้ยงซึ่งกันและกัน
ในแต่ละวันครูได้นำเสนอหลักการสำคัญผ่านภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เริ่มจากผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อโลกเมื่อเราใช้ความศิวิไลซ์นำภูมิปัญญา พี่ได้เรียนรู้ว่าผืนดินที่เราอาศัยอยู่นั้นน้อยนิดมากเมื่อเทียบกับอาณาเขตของผืนน้ำบนโลก ดังนั้น การสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินคือการมอบคืนชีวิตให้กับโลกใบนี้
ชีวิตใหม่จะก่อเกิดถ้าเราเตรียมดินให้อุดมสมบูรณ์ พืชพันธุ์ธัญญาหารคือสิ่งสะท้อนความอุดมสมบูรณ์ของผืนโลก น่าเสียดายที่มนุษย์ทำให้พืชอ่อนแอลง กระบวนการเพาะปลูกในปัจจุบันทำให้พืชตัดขาดตัวเองจากการเชื่อมโยงกับโลกภายนอก หูบอดที่จะฟังเสียงจากธรรมชาติ และถูกเร่งให้เติบโตนอกฤดูกาลโดยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และการคัดเลือกสายพันธุ์เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจเป็นหลัก
การทำปุ๋ยหรือที่เรียกว่า Preparation ช่วยให้ผืนดินสามารถเก็บพลังจากฟากฟ้าและช่วยให้พืชสามารถหาหนทางกลับไปเขื่อมตัวเองเข้ากับพื้นโลกและสิ่งแวดล้อมความเข้มแข็งของพืชเกิดจากรากที่แข็งแรงพร้อมที่จะชอนไชนำสารอาหารใต้พื้นดินมาหล่อเลี้ยงตนเอง โดยที่มีสติรับรู้ความเป็นไปของโลกรอบตัวและกลับมาฟังเสียงของจักรวาลอีกครั้ง
ในตอนฟังทฤษฏีครั้งแรก พี่นึกภาพไม่ออกว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้อย่างไร คำตอบเริ่มคลี่คลายเมื่อครูพาพวกเราลงสวนทำปุ๋ยกันจริงๆ เริ่มจากวิธีการทำกองปุ๋ยหมัก (Compose Fertilizer) ที่เตรียมจากเศษอาหารสดในครัว ใบไม้แห้ง วัชพืชสด ขี้วัวแห้ง ตามด้วยการทำปุ๋ยขี้วัวสดผสมเปลือกไข่คลุกให้เข้ากันเพื่อเพิ่มแคลเซียมและปุ๋ยที่ทำจากพืชชนิดต่างๆ เช่น ต้นคาโมมายด์, ต้นแดนดิไลอ้อน, ต้นโอค, ต้นตำแย, ต้นแยโรว์และต้นวาเลอเรียน ที่ช่วยสร้างสมดุลให้กองปุ๋ยหมักนี้
ปุ๋ยเขาวัว เป็นปุ๋ยที่ใช้หลักการเกษตรชีวพลวัตมี 2 ชนิดคือปุ๋ยที่ทำจากขี้วัวและปุ๋ยที่ทำจากผงซิลิกาหรือผลึกคริสตัลป่น ซิลิกาในธรรมชาติเป็นธาตุที่อัดแน่นเป็นผลึกไม่มีแสงในตัวเองแต่กลับยินยอมให้แสงผ่านได้ ทำหน้าที่กระจายแสงสู่พื้นโลกที่มืดมิด รูดอล์ฟ สไตเนอร์ ได้กล่าวว่า “ซิลิกา เป็นเสมือนดวงตาของโลก เหมือนร่างกายมนุษย์ที่มีแต่ดวงตาที่แสงผ่านเข้ามาสู่ภายในได้” หลักการนี้ได้นำซิลิกามาใช้เพื่อกระจายแสงให้แก่พืช
สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการทำปุ๋ยทั้ง 2 ชนิดคือเขาวัวที่คลอดลูกมาแล้ว 1 คอก ครูนำมาใช้เป็นพาชนะบรรจุปุ๋ยและฝังลงในดินตลอดฤดูหนาวหรือฤดูร้อนเพื่อให้จุลินทรีย์ในดินและในอากาศช่วยย่อยสลายให้กลายเป็นปุ๋ย
..จากอินทรีย์ของฟาร์ม จิตวิญญาณของสถานที่และปัจเจกภาพ ยังเหลือวิชาดาราศาสตร์ที่มีความสำคัญต่อการทำเกตรชีวพลวัตรอย่างคาดไม่ถึง ติดตามตอนต่อไปค่ะ
รัก
พี่ณี
21/10/61
บริษัท เดอะ ทรี เวิลด์ส ครีเอเตอร์ จำกัด
LINE ID : the3worldscreator
Facebook : www.facebook.com/the3worldscreator
Tel. 093-2459985, 02-5309150
Fax. 02-5309150
ในฐานะคนเมืองที่ไม่มีความรู้ใดๆ เกี่ยวกับการทำเกษตรกรรม การเรียนวิชา Nutrition กับอาจารย์ Daphne ช่วยเตรียมเมล็ดพันธุ์บางอย่างให้พี่เข้าใจที่มาที่ไปของอาหารเปี่ยมแสง น้ำนมจากแม่วัวที่ยังไม่ถูกตัดเขา วัวที่กินหญ้า น้ำผึ้ง กระบวนการย่อย และกระบวนการก่อเกิดชีวิตที่ถูกนำมาถ่ายทอดอีกครั้งในบริบทของวิชา Biodynamic Agriculture
ถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่ได้เห็นผู้ทำฟาร์มขนาดใหญ่จนถึงขนาดย่อม ผู้ปกครองอาสา คุณหมอและนักขับเคลื่อนสังคมมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เมื่อวันที่ 9-13 ตุลาคมที่ผ่านมากับคุณครู Bernard Jarman
ครูเริ่มด้วยหลักการของการทำเกษตรชีวพลวัต ที่ประกอบไปด้วยหลักการสำคัญ 3 ข้อคือ
1. การสร้างความยั่งยืนด้วยตัวเอง
2. การสร้างพลวัตและวัฏจักรในฟาร์ม
3. การสร้างและบริหารฟาร์มในฐานะองคาพยพที่มีชีวิต
ด้วยหลักการ 3 ข้อนี้ แปลงเกษตรมิได้มีบทบาทเป็นเพียงที่ทำการเพาะปลูกเท่านั้น หากแต่เป็นชุมชนขององค์ชีวิตที่หลากหลายซึ่งมาอยู่ร่วมกันในผืนดินแต่ละแปลง
คุณครู Bernard ช่วยให้เราตระหนักว่าหน้าที่ของเจ้าของฟาร์มคือการสร้างบุคลิกอันเป็นปัจเจกเฉพาะให้กับฟาร์มของตนเอง เพราะทุกฟาร์มมีอัตชีวประวัติ (Biography) มีวัตถุประสงค์ของการดำรงอยู่ทั้งเพื่อตนเองและเพื่อผู้อื่น ทุกสรรพชีวิตภายในฟาร์มเกื้อกูลและหล่อเลี้ยงซึ่งกันและกัน
ในแต่ละวันครูได้นำเสนอหลักการสำคัญผ่านภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เริ่มจากผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อโลกเมื่อเราใช้ความศิวิไลซ์นำภูมิปัญญา พี่ได้เรียนรู้ว่าผืนดินที่เราอาศัยอยู่นั้นน้อยนิดมากเมื่อเทียบกับอาณาเขตของผืนน้ำบนโลก ดังนั้น การสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินคือการมอบคืนชีวิตให้กับโลกใบนี้
ชีวิตใหม่จะก่อเกิดถ้าเราเตรียมดินให้อุดมสมบูรณ์ พืชพันธุ์ธัญญาหารคือสิ่งสะท้อนความอุดมสมบูรณ์ของผืนโลก น่าเสียดายที่มนุษย์ทำให้พืชอ่อนแอลง กระบวนการเพาะปลูกในปัจจุบันทำให้พืชตัดขาดตัวเองจากการเชื่อมโยงกับโลกภายนอก หูบอดที่จะฟังเสียงจากธรรมชาติ และถูกเร่งให้เติบโตนอกฤดูกาลโดยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และการคัดเลือกสายพันธุ์เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจเป็นหลัก
การทำปุ๋ยหรือที่เรียกว่า Preparation ช่วยให้ผืนดินสามารถเก็บพลังจากฟากฟ้าและช่วยให้พืชสามารถหาหนทางกลับไปเขื่อมตัวเองเข้ากับพื้นโลกและสิ่งแวดล้อมความเข้มแข็งของพืชเกิดจากรากที่แข็งแรงพร้อมที่จะชอนไชนำสารอาหารใต้พื้นดินมาหล่อเลี้ยงตนเอง โดยที่มีสติรับรู้ความเป็นไปของโลกรอบตัวและกลับมาฟังเสียงของจักรวาลอีกครั้ง
ในตอนฟังทฤษฏีครั้งแรก พี่นึกภาพไม่ออกว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้อย่างไร คำตอบเริ่มคลี่คลายเมื่อครูพาพวกเราลงสวนทำปุ๋ยกันจริงๆ เริ่มจากวิธีการทำกองปุ๋ยหมัก (Compose Fertilizer) ที่เตรียมจากเศษอาหารสดในครัว ใบไม้แห้ง วัชพืชสด ขี้วัวแห้ง ตามด้วยการทำปุ๋ยขี้วัวสดผสมเปลือกไข่คลุกให้เข้ากันเพื่อเพิ่มแคลเซียมและปุ๋ยที่ทำจากพืชชนิดต่างๆ เช่น ต้นคาโมมายด์, ต้นแดนดิไลอ้อน, ต้นโอค, ต้นตำแย, ต้นแยโรว์และต้นวาเลอเรียน ที่ช่วยสร้างสมดุลให้กองปุ๋ยหมักนี้
ปุ๋ยเขาวัว เป็นปุ๋ยที่ใช้หลักการเกษตรชีวพลวัตมี 2 ชนิดคือปุ๋ยที่ทำจากขี้วัวและปุ๋ยที่ทำจากผงซิลิกาหรือผลึกคริสตัลป่น ซิลิกาในธรรมชาติเป็นธาตุที่อัดแน่นเป็นผลึกไม่มีแสงในตัวเองแต่กลับยินยอมให้แสงผ่านได้ ทำหน้าที่กระจายแสงสู่พื้นโลกที่มืดมิด รูดอล์ฟ สไตเนอร์ ได้กล่าวว่า “ซิลิกา เป็นเสมือนดวงตาของโลก เหมือนร่างกายมนุษย์ที่มีแต่ดวงตาที่แสงผ่านเข้ามาสู่ภายในได้” หลักการนี้ได้นำซิลิกามาใช้เพื่อกระจายแสงให้แก่พืช
สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการทำปุ๋ยทั้ง 2 ชนิดคือเขาวัวที่คลอดลูกมาแล้ว 1 คอก ครูนำมาใช้เป็นพาชนะบรรจุปุ๋ยและฝังลงในดินตลอดฤดูหนาวหรือฤดูร้อนเพื่อให้จุลินทรีย์ในดินและในอากาศช่วยย่อยสลายให้กลายเป็นปุ๋ย
..จากอินทรีย์ของฟาร์ม จิตวิญญาณของสถานที่และปัจเจกภาพ ยังเหลือวิชาดาราศาสตร์ที่มีความสำคัญต่อการทำเกตรชีวพลวัตรอย่างคาดไม่ถึง ติดตามตอนต่อไปค่ะ
รัก
พี่ณี
21/10/61
บริษัท เดอะ ทรี เวิลด์ส ครีเอเตอร์ จำกัด
LINE ID : the3worldscreator
Facebook : www.facebook.com/the3worldscreator
Tel. 093-2459985, 02-5309150
Fax. 02-5309150