Biography สัมภาษณ์พิเศษ
ลูกสาวคนกลาง (ตอนจบ)
แม่: ปัญญ์คิดอย่างไรกับเรื่องการเตรียมตัวใน 21 ปีแรกคะ
ปัญญ์: ก็ดีเพราะรู้ว่าอะไรคือกฎของบ้าน แต่มันเป็นแค่ 50% ของชีวิต เป็นแค่การเริ่มต้นที่เราต้องออกไปเติมเต็มชีวิต 50% ที่เหลือระหว่างทาง ถ้า 14 ปีแรกเตรียมเรามาแบบนึงอีก 7 ปีที่เหลือก็ปรับให้เหมาะสมกับวัยของเรา เหมือนที่เราเองก็ต้องปรับตัวตามไปด้วย
แม่: ปัญญ์คิดว่ากฎของบ้านเราคืออะไรคะ
ปัญญ์: คงเป็นวิธีเคลียร์ปัญหาในบ้าน แต่ละคนมีวิธีเคลียร์ปัญหาไม่เหมือนกัน เราก็ต้องปรับตามแต่ละคน แม่ก็เคลียร์แบบนึงกับพ่อก็เคลียร์อีกแบบ เราก็มีวิธีของเราเอง
แม่: ปัญญ์รู้สึกไหมคะว่าตอนนี้แม่ลงจากตำแหน่ง แม่ให้พ่อมารับไม้ดูแลลูกต่อจากแม่
ปัญญ์: ปัญญ์ไม่เคยคิดว่าพ่อกับแม่ใครใหญ่กว่าใครนะ พ่อแม่เท่ากันเพียงแต่มองต่างมุมกัน พ่อแม่มีบทบาทที่ชัดเจนว่าใครทำอะไร อย่างพ่อขับรถไปส่งเราที่โรงเรียนทุกวันเรื่องนี้เราก็รู้อยู่แล้วว่าแม่ทำไม่ได้ แม่ก็ยังเหมือนเดิมเพราะถ้ามีอะไรที่ไม่ใช่แม่ก็พูดอยู่แล้ว
แม่: ปัญญ์มองเรื่องนี้อย่างไรคะ
ปัญญ์: ถ้าแม่ทุกคนคิดว่ามีอำนาจเหนือชีวิตลูกจนโต พอต้องปล่อยลูกก็จะทุกข์เอง ปัญญ์ว่าดีแล้วนะที่แม่ค่อยๆ ถอยลงมา
แม่: ปัญญ์ มองปัญหาเรื่องความขัดแย้งภายในบ้านอย่างไรคะ
ปัญญ์: ทุกคนมีวิธีการจัดการความขัดแย้งต่างกัน เรารู้ว่าแม่โกรธเราจะเคลียร์กับแม่อย่างไร รู้ว่าพ่อโกรธจะคุยกับพ่ออย่างไร ไม่ต้องเหมือนกัน
แม่: แล้วเรื่องความแตกหักล่ะคะ
ปัญญ์: เรื่องแตกหักกับหย่าร้างเป็นคนละแบบกันนะ แตกหักเรายังมีเรื่องดีๆ ให้จดจำ อาจจะกลับมาเหมือนเดิมหรือไม่เหมือนเดิมก็ได้เพราะเป็นเรื่องของคน 2 คนไม่ได้ส่งผลกระทบกับใคร แต่ถ้าหย่าร้างก็ต้องนึกถึงคนในครอบครัวและคนรอบข้างด้วย
แม่: ปัญญ์มองเรื่องสถาบันครอบครัวอย่างไรคะ เราควรทำอย่างไรเพื่อรักษาสถาบันนี้
ปัญญ์: ปัญญ์คิดว่าคำว่า “ครอบครัว” ไม่ใช่และไม่ได้เป็นเรื่องอุดมคติ เพราะแต่ละครอบครัวไม่เหมือนกัน เราจะเอากฎของครอบครัวเราไปใช้กับครอบครัวอื่นไม่ได้ เอาเข้าจริงๆ การที่เราเกิดมาในครอบครัวไหน เราสามารถเรียกว่าเรามีครอบครัวของตัวเอง แต่นั่นเป็นแค่ 50% ของชีวิตและเป็นเรื่องจริง แต่เรื่องการสร้างครอบครัวเป็นเรื่อง 50% ในอนาคต เพราะทุกคนในครอบครัวต้องช่วยกันสร้าง ตอนเล็กๆ พ่อแม่เตรียมไว้ 50% พอเราโตขึ้นมาเรามาเติมเต็มอีก 50% ที่เหลือ
แม่: ตอนนี้ปัญญ์อายุ 19 อีก 2 ปีก็จะบรรลุนิติภาวะแล้ว คำว่าบรรลุนิติภาวะในความคิดของปัญญ์คืออะไรคะ
ปัญญ์: การอยู่เหนือความชอบ/ไม่ชอบ รับผิดชอบชีวิตตัวเองได้ มันคือการเลือกต้นแบบหรือเลือกเกณฑ์การให้คุณค่ากับเรื่องสำคัญในชีวิตในแบบของตัวเอง
แม่: ปัญญ์คิดว่าคำว่า Mature คืออะไรคะ
ปัญญ์: ความสามารถในการตัดสินใจว่าเรื่องอะไรสำคัญและไม่สำคัญ
ปัญญ์: ปัญญ์มองว่าชีวิตเหมือน Supermarket พวกเราคือ Shopper ที่เข้ามาเลือกคุณค่าที่เราอยากเห็น อยากเป็นด้วยตัวเอง 21 ปีแรกเราก็เก็บของใส่ตระกร้าไปเรื่อยๆ บอกไม่ได้ว่าจะเอาไปใช้เมื่อไหร่ แต่รู้ว่าเราจะเอาไปใช้เป็นแผนที่นำทางในชีวิตแน่ๆ
แม่: ขอบคุณนะคะ แม่ชอบเวลาที่เราสองคนได้นั่งคุยกันแบบนี้มากเลยค่ะ
แม่: รักหนูนะคะ (กอด)
ปัญญ์: รักแม่ (กอด)
รัก
พี่ณี
6/5/63
บริษัท เดอะ ทรี เวิลด์ส ครีเอเตอร์ จำกัด
LINE ID : the3worldscreator
Facebook : www.facebook.com/the3worldscreator
Tel. 093-2459985, 02-5309150
ปัญญ์: ก็ดีเพราะรู้ว่าอะไรคือกฎของบ้าน แต่มันเป็นแค่ 50% ของชีวิต เป็นแค่การเริ่มต้นที่เราต้องออกไปเติมเต็มชีวิต 50% ที่เหลือระหว่างทาง ถ้า 14 ปีแรกเตรียมเรามาแบบนึงอีก 7 ปีที่เหลือก็ปรับให้เหมาะสมกับวัยของเรา เหมือนที่เราเองก็ต้องปรับตัวตามไปด้วย
แม่: ปัญญ์คิดว่ากฎของบ้านเราคืออะไรคะ
ปัญญ์: คงเป็นวิธีเคลียร์ปัญหาในบ้าน แต่ละคนมีวิธีเคลียร์ปัญหาไม่เหมือนกัน เราก็ต้องปรับตามแต่ละคน แม่ก็เคลียร์แบบนึงกับพ่อก็เคลียร์อีกแบบ เราก็มีวิธีของเราเอง
แม่: ปัญญ์รู้สึกไหมคะว่าตอนนี้แม่ลงจากตำแหน่ง แม่ให้พ่อมารับไม้ดูแลลูกต่อจากแม่
ปัญญ์: ปัญญ์ไม่เคยคิดว่าพ่อกับแม่ใครใหญ่กว่าใครนะ พ่อแม่เท่ากันเพียงแต่มองต่างมุมกัน พ่อแม่มีบทบาทที่ชัดเจนว่าใครทำอะไร อย่างพ่อขับรถไปส่งเราที่โรงเรียนทุกวันเรื่องนี้เราก็รู้อยู่แล้วว่าแม่ทำไม่ได้ แม่ก็ยังเหมือนเดิมเพราะถ้ามีอะไรที่ไม่ใช่แม่ก็พูดอยู่แล้ว
แม่: ปัญญ์มองเรื่องนี้อย่างไรคะ
ปัญญ์: ถ้าแม่ทุกคนคิดว่ามีอำนาจเหนือชีวิตลูกจนโต พอต้องปล่อยลูกก็จะทุกข์เอง ปัญญ์ว่าดีแล้วนะที่แม่ค่อยๆ ถอยลงมา
แม่: ปัญญ์ มองปัญหาเรื่องความขัดแย้งภายในบ้านอย่างไรคะ
ปัญญ์: ทุกคนมีวิธีการจัดการความขัดแย้งต่างกัน เรารู้ว่าแม่โกรธเราจะเคลียร์กับแม่อย่างไร รู้ว่าพ่อโกรธจะคุยกับพ่ออย่างไร ไม่ต้องเหมือนกัน
แม่: แล้วเรื่องความแตกหักล่ะคะ
ปัญญ์: เรื่องแตกหักกับหย่าร้างเป็นคนละแบบกันนะ แตกหักเรายังมีเรื่องดีๆ ให้จดจำ อาจจะกลับมาเหมือนเดิมหรือไม่เหมือนเดิมก็ได้เพราะเป็นเรื่องของคน 2 คนไม่ได้ส่งผลกระทบกับใคร แต่ถ้าหย่าร้างก็ต้องนึกถึงคนในครอบครัวและคนรอบข้างด้วย
แม่: ปัญญ์มองเรื่องสถาบันครอบครัวอย่างไรคะ เราควรทำอย่างไรเพื่อรักษาสถาบันนี้
ปัญญ์: ปัญญ์คิดว่าคำว่า “ครอบครัว” ไม่ใช่และไม่ได้เป็นเรื่องอุดมคติ เพราะแต่ละครอบครัวไม่เหมือนกัน เราจะเอากฎของครอบครัวเราไปใช้กับครอบครัวอื่นไม่ได้ เอาเข้าจริงๆ การที่เราเกิดมาในครอบครัวไหน เราสามารถเรียกว่าเรามีครอบครัวของตัวเอง แต่นั่นเป็นแค่ 50% ของชีวิตและเป็นเรื่องจริง แต่เรื่องการสร้างครอบครัวเป็นเรื่อง 50% ในอนาคต เพราะทุกคนในครอบครัวต้องช่วยกันสร้าง ตอนเล็กๆ พ่อแม่เตรียมไว้ 50% พอเราโตขึ้นมาเรามาเติมเต็มอีก 50% ที่เหลือ
แม่: ตอนนี้ปัญญ์อายุ 19 อีก 2 ปีก็จะบรรลุนิติภาวะแล้ว คำว่าบรรลุนิติภาวะในความคิดของปัญญ์คืออะไรคะ
ปัญญ์: การอยู่เหนือความชอบ/ไม่ชอบ รับผิดชอบชีวิตตัวเองได้ มันคือการเลือกต้นแบบหรือเลือกเกณฑ์การให้คุณค่ากับเรื่องสำคัญในชีวิตในแบบของตัวเอง
แม่: ปัญญ์คิดว่าคำว่า Mature คืออะไรคะ
ปัญญ์: ความสามารถในการตัดสินใจว่าเรื่องอะไรสำคัญและไม่สำคัญ
ปัญญ์: ปัญญ์มองว่าชีวิตเหมือน Supermarket พวกเราคือ Shopper ที่เข้ามาเลือกคุณค่าที่เราอยากเห็น อยากเป็นด้วยตัวเอง 21 ปีแรกเราก็เก็บของใส่ตระกร้าไปเรื่อยๆ บอกไม่ได้ว่าจะเอาไปใช้เมื่อไหร่ แต่รู้ว่าเราจะเอาไปใช้เป็นแผนที่นำทางในชีวิตแน่ๆ
แม่: ขอบคุณนะคะ แม่ชอบเวลาที่เราสองคนได้นั่งคุยกันแบบนี้มากเลยค่ะ
แม่: รักหนูนะคะ (กอด)
ปัญญ์: รักแม่ (กอด)
รัก
พี่ณี
6/5/63
บริษัท เดอะ ทรี เวิลด์ส ครีเอเตอร์ จำกัด
LINE ID : the3worldscreator
Facebook : www.facebook.com/the3worldscreator
Tel. 093-2459985, 02-5309150