Biography กับลำดับที่ของพี่น้องตอนที่ 30
ถ้าทุกสิ่งมีเวลาของตัวเอง เคยนึกแปลกใจไหมคะว่าทำไมเรื่องบางเรื่องต้องใช้เวลาเดินทางยาวนานเพื่อมาถึงจุดหมาย เมื่อถึงที่หมายแล้วประตูบานใหม่ก็เปิดขึ้นและมีเสียงเตือนว่าถึงเวลาที่ต้องบอกลาใครสักคนเพื่อเดินทางต่อไป
4 ปีผ่านไป Biography กับลำดับที่ของพี่น้องที่เริ่มต้นจากเรื่องเล่าของครอบครัวเราผ่านลำดับการเกิดของลูก จากข้อมูลในกระดาษหน้า A4 ที่ครู Karl-Heinz สอนพวกเราใน Module ชื่อ Life Encounter เนื้อหาในวิชาสร้างแรงกระเพื่อมภายในให้พี่ลุกขึ้นมาเขียนเรื่องเล่าที่ถูกเก็บไว้เฉพาะครอบครัวให้เพื่อนทุกคนฟัง
พี่ใช้เวลา 9 เดือนในการเขียนความทรงจำทั้งทุกข์และสุขในฐานะแม่ตั้งแต่เดือนเมษายน - ธันวาคม 2560 เขียนจบไป 28 ตอนแบบสบายๆ กลับมาดูพบว่าบางวันเขียนได้ 3 ตอน หรือเขียนได้อย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ตอน ทั้งที่ช่วงนั้นพี่ยุ่งมากติดทั้งเรื่องเรียนและเรื่องงาน พี่มีโอกาสกลับมาเขียนตอนที่ 29 เพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 แล้วเขียนภาคพิเศษในวันที่ 22 เมษายน 2561 เท่านั้น
พี่พยายามตั้งสติและทุ่มพลังงานไปกับการรวมเล่ม ไปพบคุณเรือรบ Learning Hub หลังทิ้งร้างเรื่องการรวมเล่มไปนาน ชวนพี่โจ (ผู้ชายสร้างภาพ) มาเป็นบก. พิเศษให้ เหมือนทุกอย่างจะดำเนินไปด้วยดีแต่พี่ไม่มีแรงส่งที่จะเขียนต่อให้จบ ข้ออ้างสวยๆ ที่ให้พี่โจไปคือ “พี่อยากรอน้องปรางอายุครบ 21 ปี ก่อน”
แล้วจู่ๆ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 เมษายนที่ผ่านมาสัญญาณของการกลับมาเขียนตอนจบก็ดังขึ้นอย่างไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย พี่ลุกขึ้นมาเขียนรวดเดียวจบเหมือนเขียนตอนแรกเมื่อ 4 ปีก่อน พี่ถามตัวเองว่าทำไมต้องเป็นวันที่ 19 เมษายน ทำไมต้องรอปัญญ์อายุ 19 และทำไมความคิดถึงสุกงอมช่วง Covid 19
ที่น่าประหลาดใจที่สุดคือพี่เขียน Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง ตอนแรกเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2560 น้ำพุความคิดพวยพุ่งในบ่ายวันอาทิตย์ที่ 19 เมษายนที่ผ่านมา อยากให้อ่านความคิดที่ไหลเหมือนตาน้ำ ก่อนพาไปฟังบทสัมภาษณ์ของลูกแต่ละคนในวันถัดไปค่ะ
นั่งนับวันรอเขียน Biography ตอนสุดท้าย เขียนทิ้งมาหลายฉบับเพราะแม่อยากเก็บข้อมูลเพิ่มตอนลูกโตเป็นวัยรุ่นเต็มที่ ปีนี้ปรางย่าง 22 ปัญญ์ 19 โอมย่าง 17 แม่ถึงกับจินตนาการบรรเจิดล่วงหน้าว่าแม่กับวัยรุ่นคงจะงอนและทะเลาะกันสนั่นบ้าน ผ่านไปเกือบปี แม่พึ่งมาตกผลึกว่าลูกยังเติบโตตามปกติแต่แม่เติบโตผิดปกติ
ความผิดปกติแรกน่าจะมาจากลูกโตขึ้น ลูกมีสิ่งที่ตัวเองสนใจในชีวิตมากขึ้น แม่มีเวลาเหลือเยอะกว่าตอนที่ลูกยังเล็ก ช่วงปีหลังๆ แม่มีเวลาไปท่องโลกกว้างทั้งภายในและภายนอกบ่อยมากขึ้น มีเวลานั่งสมาธิ เรียนหนังสือ อ่านหนังสือ เดินทางไกล เขียน Facebook สะสมผลึกคริสตัล สนุกกับการจับคู่เสื้อผ้ากับเครื่องประดับจนไม่ค่อยมีเวลาทะเลาะกัน
เรามีเวลาเจอกันน้อยมาก ปีหน้าปรางจะจบมหาวิทยาลัย ปีนี้ปรางมีกิจกรรมมากขึ้น ช่วงปัญญ์เตรียมตัวเอ็นทรานส์ แม่มีเวลาเจอกันแค่ช่วงกินข้าวเย็นเพิ่งได้คุยกันเยอะๆ ตอนลูกจบ ม. 6 ส่วนโอมใช้เวลาส่วนใหญ่กับเพื่อนใช้ชีวิตวัยรุ่นยุคใหม่แบบจัดเต็ม เวลาที่เหลือน้อยทำให้เราต่างรอคอยเรื่องเล่าบนโต๊ะอาหารที่หวือหวาขึ้นลงตามวัน แม่ต้องปรับวิธีสื่อสารให้สั้น กระชับ ฉับไวตรงใจวัยรุ่น ใช้ช่องทาง online ให้เป็นประโยชน์เพราะลูกไม่มีเวลาอ่านเรื่องยาวๆ
ความผิดปกติข้อที่ 2 น่าจะมาจากเราทะเลาะกันบ่อยตั้งแต่ลูกเริ่มเป็นวัยรุ่น ทุกครั้งที่ทะเลาะจบเราต้องคุยกันว่าเราจะทำอะไรให้ดีขึ้นในอนาคต สิ่งที่แม่โดนลูกบ่นมานานว่า “แม่หัวแข็งมาก เชื่อในสิ่งที่ตัวเองเชื่อ และไม่เคยขอโทษใครเลย” เรื่องหัวแข็งแม่ยังขอเก็บไว้พิจารณาแต่เรื่องขอโทษแม่เปลี่ยนโดยไม่ได้บอกลูกล่วงหน้า
ช่วงนี้ลูกจะงงๆ ว่าทำไมแม่ขอโทษง่ายจัง เวลาแม่ลืมปิดประตูหน้าบ้าน เวลาแม่ลืมล้างจาน ลูกบ่นปุ๊ปแม่ยกมือปั๊ปว่า “แม่ลืมค่ะ ขอบคุณนะคะที่ล้างจานให้แม่” ลูกเลยไม่รู้จะบ่นแม่เรื่องอะไร แม่เริ่มรู้จักถ่ายเทพลังภายในเป็นหลังจากไปดูหนังจีนกำลังภายในเรื่อง “ยิบมัน ภาคสุดท้าย” กับโอมช่วงตรุษจีน แม่อินถึงขนาดกลับมาฝึกตัวเองให้สงบขึ้น ไม่ลุย ไม่บู๊ แต่จะยืนหยัดกับสิ่งที่ตัวเองยืนยัน
รออ่านความผิดปกติของแม่อีก 2 ข้อในวันพรุ่งนี้นะคะ ตื่นเต้นที่ได้เขียน Biography แบบจัดเต็มอีกครั้ง แต่เป็นห่วงว่าเพื่อนๆ จะตกใจ ขอทยอยส่งให้อ่านทีละน้อยนะคะ
รัก
พี่ณี
21/4/63
บริษัท เดอะ ทรี เวิลด์ส ครีเอเตอร์ จำกัด
LINE ID : the3worldscreator
Facebook : www.facebook.com/the3worldscreator
Tel. 093-2459985, 02-5309150
4 ปีผ่านไป Biography กับลำดับที่ของพี่น้องที่เริ่มต้นจากเรื่องเล่าของครอบครัวเราผ่านลำดับการเกิดของลูก จากข้อมูลในกระดาษหน้า A4 ที่ครู Karl-Heinz สอนพวกเราใน Module ชื่อ Life Encounter เนื้อหาในวิชาสร้างแรงกระเพื่อมภายในให้พี่ลุกขึ้นมาเขียนเรื่องเล่าที่ถูกเก็บไว้เฉพาะครอบครัวให้เพื่อนทุกคนฟัง
พี่ใช้เวลา 9 เดือนในการเขียนความทรงจำทั้งทุกข์และสุขในฐานะแม่ตั้งแต่เดือนเมษายน - ธันวาคม 2560 เขียนจบไป 28 ตอนแบบสบายๆ กลับมาดูพบว่าบางวันเขียนได้ 3 ตอน หรือเขียนได้อย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ตอน ทั้งที่ช่วงนั้นพี่ยุ่งมากติดทั้งเรื่องเรียนและเรื่องงาน พี่มีโอกาสกลับมาเขียนตอนที่ 29 เพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 แล้วเขียนภาคพิเศษในวันที่ 22 เมษายน 2561 เท่านั้น
พี่พยายามตั้งสติและทุ่มพลังงานไปกับการรวมเล่ม ไปพบคุณเรือรบ Learning Hub หลังทิ้งร้างเรื่องการรวมเล่มไปนาน ชวนพี่โจ (ผู้ชายสร้างภาพ) มาเป็นบก. พิเศษให้ เหมือนทุกอย่างจะดำเนินไปด้วยดีแต่พี่ไม่มีแรงส่งที่จะเขียนต่อให้จบ ข้ออ้างสวยๆ ที่ให้พี่โจไปคือ “พี่อยากรอน้องปรางอายุครบ 21 ปี ก่อน”
แล้วจู่ๆ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 เมษายนที่ผ่านมาสัญญาณของการกลับมาเขียนตอนจบก็ดังขึ้นอย่างไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย พี่ลุกขึ้นมาเขียนรวดเดียวจบเหมือนเขียนตอนแรกเมื่อ 4 ปีก่อน พี่ถามตัวเองว่าทำไมต้องเป็นวันที่ 19 เมษายน ทำไมต้องรอปัญญ์อายุ 19 และทำไมความคิดถึงสุกงอมช่วง Covid 19
ที่น่าประหลาดใจที่สุดคือพี่เขียน Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง ตอนแรกเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2560 น้ำพุความคิดพวยพุ่งในบ่ายวันอาทิตย์ที่ 19 เมษายนที่ผ่านมา อยากให้อ่านความคิดที่ไหลเหมือนตาน้ำ ก่อนพาไปฟังบทสัมภาษณ์ของลูกแต่ละคนในวันถัดไปค่ะ
นั่งนับวันรอเขียน Biography ตอนสุดท้าย เขียนทิ้งมาหลายฉบับเพราะแม่อยากเก็บข้อมูลเพิ่มตอนลูกโตเป็นวัยรุ่นเต็มที่ ปีนี้ปรางย่าง 22 ปัญญ์ 19 โอมย่าง 17 แม่ถึงกับจินตนาการบรรเจิดล่วงหน้าว่าแม่กับวัยรุ่นคงจะงอนและทะเลาะกันสนั่นบ้าน ผ่านไปเกือบปี แม่พึ่งมาตกผลึกว่าลูกยังเติบโตตามปกติแต่แม่เติบโตผิดปกติ
ความผิดปกติแรกน่าจะมาจากลูกโตขึ้น ลูกมีสิ่งที่ตัวเองสนใจในชีวิตมากขึ้น แม่มีเวลาเหลือเยอะกว่าตอนที่ลูกยังเล็ก ช่วงปีหลังๆ แม่มีเวลาไปท่องโลกกว้างทั้งภายในและภายนอกบ่อยมากขึ้น มีเวลานั่งสมาธิ เรียนหนังสือ อ่านหนังสือ เดินทางไกล เขียน Facebook สะสมผลึกคริสตัล สนุกกับการจับคู่เสื้อผ้ากับเครื่องประดับจนไม่ค่อยมีเวลาทะเลาะกัน
เรามีเวลาเจอกันน้อยมาก ปีหน้าปรางจะจบมหาวิทยาลัย ปีนี้ปรางมีกิจกรรมมากขึ้น ช่วงปัญญ์เตรียมตัวเอ็นทรานส์ แม่มีเวลาเจอกันแค่ช่วงกินข้าวเย็นเพิ่งได้คุยกันเยอะๆ ตอนลูกจบ ม. 6 ส่วนโอมใช้เวลาส่วนใหญ่กับเพื่อนใช้ชีวิตวัยรุ่นยุคใหม่แบบจัดเต็ม เวลาที่เหลือน้อยทำให้เราต่างรอคอยเรื่องเล่าบนโต๊ะอาหารที่หวือหวาขึ้นลงตามวัน แม่ต้องปรับวิธีสื่อสารให้สั้น กระชับ ฉับไวตรงใจวัยรุ่น ใช้ช่องทาง online ให้เป็นประโยชน์เพราะลูกไม่มีเวลาอ่านเรื่องยาวๆ
ความผิดปกติข้อที่ 2 น่าจะมาจากเราทะเลาะกันบ่อยตั้งแต่ลูกเริ่มเป็นวัยรุ่น ทุกครั้งที่ทะเลาะจบเราต้องคุยกันว่าเราจะทำอะไรให้ดีขึ้นในอนาคต สิ่งที่แม่โดนลูกบ่นมานานว่า “แม่หัวแข็งมาก เชื่อในสิ่งที่ตัวเองเชื่อ และไม่เคยขอโทษใครเลย” เรื่องหัวแข็งแม่ยังขอเก็บไว้พิจารณาแต่เรื่องขอโทษแม่เปลี่ยนโดยไม่ได้บอกลูกล่วงหน้า
ช่วงนี้ลูกจะงงๆ ว่าทำไมแม่ขอโทษง่ายจัง เวลาแม่ลืมปิดประตูหน้าบ้าน เวลาแม่ลืมล้างจาน ลูกบ่นปุ๊ปแม่ยกมือปั๊ปว่า “แม่ลืมค่ะ ขอบคุณนะคะที่ล้างจานให้แม่” ลูกเลยไม่รู้จะบ่นแม่เรื่องอะไร แม่เริ่มรู้จักถ่ายเทพลังภายในเป็นหลังจากไปดูหนังจีนกำลังภายในเรื่อง “ยิบมัน ภาคสุดท้าย” กับโอมช่วงตรุษจีน แม่อินถึงขนาดกลับมาฝึกตัวเองให้สงบขึ้น ไม่ลุย ไม่บู๊ แต่จะยืนหยัดกับสิ่งที่ตัวเองยืนยัน
รออ่านความผิดปกติของแม่อีก 2 ข้อในวันพรุ่งนี้นะคะ ตื่นเต้นที่ได้เขียน Biography แบบจัดเต็มอีกครั้ง แต่เป็นห่วงว่าเพื่อนๆ จะตกใจ ขอทยอยส่งให้อ่านทีละน้อยนะคะ
รัก
พี่ณี
21/4/63
บริษัท เดอะ ทรี เวิลด์ส ครีเอเตอร์ จำกัด
LINE ID : the3worldscreator
Facebook : www.facebook.com/the3worldscreator
Tel. 093-2459985, 02-5309150