Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง (ตอนที่ 26)
มาตามต่อเรื่องจิต 5 ลักษณะที่สังคมควรปลูกฝังในคนรุ่นถัดไปกันนะคะ จิตลักษณะที่ 2 คือจิตรู้สังเคราะห์ (Synthesizing Mind) ที่คุณเมอร์เรย์ เกลล์-แมนน์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์กล่าวไว้ว่า ในศตวรรษที่ 21 จิตใจที่มีค่ามากที่สุดคือจิตรู้สังเคราะห์
คุณเกลล์-แมนน์ กล่าวว่าการฉลาดเลือกข้อมูลในวันที่ข้อมูลท่วมท้นทางอินเตอร์เน็ตเป็นทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ใครที่รู้จักสังเคราะห์ข้อมูลได้เก่งจะกลายเป็นบุคลากรแถวหน้า และใครที่สังเคราะห์ข้อมูลให้ผู้อื่นเข้าใจง่ายจะกลายเป็นครู นักการสื่อสารและผู้นำที่ทรงคุณค่า
เด็กๆ ในโรงเรียนวอลดอร์ฟถูกเตรียมการเรื่องนี้มาอย่างดีเยี่ยมตั้งแต่เล็กจนโต กระบวนการเรียนรู้ค่อยๆ เกิดขึ้นผ่านนิทานที่หลับไหลในตัวลูกโดยไม่มีการสรุปว่านิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ....
การเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้สร้างภาพในหัวด้วยตัวเองคือการเตรียมความพร้อมด้านศักยภาพในการเรียนรู้ยามที่ลูกโตขึ้น วันที่ลูกต้องเชื่อมโยงแนวคิดพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ปรัชญาและศาสตร์อื่นๆ เข้าด้วยกัน
พี่ยังจำวันที่ลูกคิดเป็นภาพครั้งแรกได้ดี น้องปัญญ์ซึ่งตอนนั้นอายุ 7 ขวบเดินมาบอกพี่อย่างตื่นเต้นว่า "แม่...ปัญญ์เดินเข้าไปในหัวได้แล้ว ปัญญ์เห็นภาพอยู่ในหัวเต็มไปหมดเลยล่ะแม่"
ภาพในหัวที่ลูกเห็นเป็นสัญญาณที่บอกว่าลูกพร้อมแล้วที่จะเชื่อมความรู้ใหม่ที่อยู่รอบตัวกับภาพในหัวที่ตัวเองจินตนาการไว้ กระบวนการเรียนรู้จะจริงจังมากขึ้น ผ่านบทเรียนหลัก การสังเกต การจดบันทึก การลงมือปฏิบัติ การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง การฝึกงานและการทำโปรเจค
ทักษะเหล่านี้กลายเป็นทักษะที่มีค่าและใช้ได้จริงตอนลูกโตขึ้น เพราะความสามารถในการสังเคราะห์คือการมีภาพของโครงเรื่องในหัว ความสามารถในการเล่าเรื่องผ่านอุปมาอุปไมยเปรียบเทียบ รู้ว่าอะไรสำคัญควรค่าแก่ความสนใจ และนำข้อมูลทั้งหมดมาประสานกันได้อย่างมีเหตุมีผลสำหรับตนเองและผู้อื่น
ตลกดีที่ลูกชอบพูดว่า "พวกเราแถเก่งแม่ เราเอาทุกเรื่องมาพูดรวมกันได้ เรื่องง่ายๆ แบบนี้ใครๆ ก็ทำได้" เด็กๆ คงไม่รู้ว่าสิ่งที่ตัวเองเรียกว่า "แถ" แม่เรียกว่า "บูรณาการ" ซึ่งเป็นสิ่งที่แม่ยังต้องฝึกฝนตัวเองทุกวัน
พี่คิดว่าประโยชน์ที่สำคัญของจิตรู้สังเคราะห์คือช่วยให้ลูกไม่เชื่อข้อมูลอะไรง่ายๆ พี่ถูกลูกบ่นเสมอว่าแม่เชื่อคนง่าย ปรางบอกพี่บ่อยๆ ว่า "แม่ต้องระวังนะ อย่าไปคลิกดูอะไรถ้าไม่แน่ใจเพราะมีเว็ปที่แม่ไม่ควรเห็น คนเดี๋ยวนี้ไว้ใจยาก" ฟังแล้วอดอมยิ้มไม่ได้ เพราะแทนที่เราจะเป็นคนเตือนลูก กลับกลายเป็นลูกเตือนเรา
พี่ได้อ่านงานที่ปรางสรุปส่งอาจารย์ที่คณะเรื่อง Naruto และ Lord of the Ring เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา พูดคุยกันอยู่นานกว่าปรางจะยอมส่งให้ เพราะลูกต้องการเหตุและผลมากขึ้นว่าทำไมแม่ถึงอยากนำความคิดนี้มาแบ่งปันในที่สาธารณะ
พี่คิดว่าเป็นประโยชน์กับคุณพ่อคุณแม่ที่อยากเห็นภาพว่าทำไมครูถึงไม่อนุญาตให้ลูกดูสื่อต่างๆ ในวันที่ความสามารถในการแยกแยะและความสามารถในการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ยังไม่เกิดขึ้น
ความสามารถนี้จะถูกลดทอนกำลังลง ถ้าลูกเข้าถึงสื่อก่อนวัยอันควร ในกรณีปรางความชอบเกิดจากการอ่านหนังสือการ์ตูนนารูโตะตอนป. 6
ปกติเด็กในโรงเรียนวอลดอร์ฟจะได้โจทย์ที่ยากและท้าทายให้คิดมากขึ้นหลังอายุ 14 เป็นต้นไป พวกเขาจะได้ใช้ศักยภาพทางความคิดอย่างเต็มที่ทั้งในและนอกห้องเรียน ตอนนั้นพ่อแม่ก็ได้แต่นั่งอมยิ้มฟังสิ่งที่เขาคิดด้วยความเต็มตื้นในหัวใจกับผลลัพธ์ที่เฝ้ารอ
ติดตามตอนต่อไปกับจิตสร้างสรรค์ (Creative Mind) ที่ผุดพรายขึ้นในตัวพวกเขาอย่างเป็นธรรมชาติแบบที่ผู้ใหญ่ยังแปลกใจว่า "อืม! คิดได้อย่างไร"
รัก
พี่ณี
15/10/60
บริษัท เดอะ ทรี เวิลด์ส ครีเอเตอร์ จำกัด
LINE ID : the3worldscreator
Facebook : www.facebook.com/the3worldscreator
Tel. 093-2459985, 02-5309150
Fax. 02-530915
คุณเกลล์-แมนน์ กล่าวว่าการฉลาดเลือกข้อมูลในวันที่ข้อมูลท่วมท้นทางอินเตอร์เน็ตเป็นทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ใครที่รู้จักสังเคราะห์ข้อมูลได้เก่งจะกลายเป็นบุคลากรแถวหน้า และใครที่สังเคราะห์ข้อมูลให้ผู้อื่นเข้าใจง่ายจะกลายเป็นครู นักการสื่อสารและผู้นำที่ทรงคุณค่า
เด็กๆ ในโรงเรียนวอลดอร์ฟถูกเตรียมการเรื่องนี้มาอย่างดีเยี่ยมตั้งแต่เล็กจนโต กระบวนการเรียนรู้ค่อยๆ เกิดขึ้นผ่านนิทานที่หลับไหลในตัวลูกโดยไม่มีการสรุปว่านิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ....
การเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้สร้างภาพในหัวด้วยตัวเองคือการเตรียมความพร้อมด้านศักยภาพในการเรียนรู้ยามที่ลูกโตขึ้น วันที่ลูกต้องเชื่อมโยงแนวคิดพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ปรัชญาและศาสตร์อื่นๆ เข้าด้วยกัน
พี่ยังจำวันที่ลูกคิดเป็นภาพครั้งแรกได้ดี น้องปัญญ์ซึ่งตอนนั้นอายุ 7 ขวบเดินมาบอกพี่อย่างตื่นเต้นว่า "แม่...ปัญญ์เดินเข้าไปในหัวได้แล้ว ปัญญ์เห็นภาพอยู่ในหัวเต็มไปหมดเลยล่ะแม่"
ภาพในหัวที่ลูกเห็นเป็นสัญญาณที่บอกว่าลูกพร้อมแล้วที่จะเชื่อมความรู้ใหม่ที่อยู่รอบตัวกับภาพในหัวที่ตัวเองจินตนาการไว้ กระบวนการเรียนรู้จะจริงจังมากขึ้น ผ่านบทเรียนหลัก การสังเกต การจดบันทึก การลงมือปฏิบัติ การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง การฝึกงานและการทำโปรเจค
ทักษะเหล่านี้กลายเป็นทักษะที่มีค่าและใช้ได้จริงตอนลูกโตขึ้น เพราะความสามารถในการสังเคราะห์คือการมีภาพของโครงเรื่องในหัว ความสามารถในการเล่าเรื่องผ่านอุปมาอุปไมยเปรียบเทียบ รู้ว่าอะไรสำคัญควรค่าแก่ความสนใจ และนำข้อมูลทั้งหมดมาประสานกันได้อย่างมีเหตุมีผลสำหรับตนเองและผู้อื่น
ตลกดีที่ลูกชอบพูดว่า "พวกเราแถเก่งแม่ เราเอาทุกเรื่องมาพูดรวมกันได้ เรื่องง่ายๆ แบบนี้ใครๆ ก็ทำได้" เด็กๆ คงไม่รู้ว่าสิ่งที่ตัวเองเรียกว่า "แถ" แม่เรียกว่า "บูรณาการ" ซึ่งเป็นสิ่งที่แม่ยังต้องฝึกฝนตัวเองทุกวัน
พี่คิดว่าประโยชน์ที่สำคัญของจิตรู้สังเคราะห์คือช่วยให้ลูกไม่เชื่อข้อมูลอะไรง่ายๆ พี่ถูกลูกบ่นเสมอว่าแม่เชื่อคนง่าย ปรางบอกพี่บ่อยๆ ว่า "แม่ต้องระวังนะ อย่าไปคลิกดูอะไรถ้าไม่แน่ใจเพราะมีเว็ปที่แม่ไม่ควรเห็น คนเดี๋ยวนี้ไว้ใจยาก" ฟังแล้วอดอมยิ้มไม่ได้ เพราะแทนที่เราจะเป็นคนเตือนลูก กลับกลายเป็นลูกเตือนเรา
พี่ได้อ่านงานที่ปรางสรุปส่งอาจารย์ที่คณะเรื่อง Naruto และ Lord of the Ring เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา พูดคุยกันอยู่นานกว่าปรางจะยอมส่งให้ เพราะลูกต้องการเหตุและผลมากขึ้นว่าทำไมแม่ถึงอยากนำความคิดนี้มาแบ่งปันในที่สาธารณะ
พี่คิดว่าเป็นประโยชน์กับคุณพ่อคุณแม่ที่อยากเห็นภาพว่าทำไมครูถึงไม่อนุญาตให้ลูกดูสื่อต่างๆ ในวันที่ความสามารถในการแยกแยะและความสามารถในการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ยังไม่เกิดขึ้น
ความสามารถนี้จะถูกลดทอนกำลังลง ถ้าลูกเข้าถึงสื่อก่อนวัยอันควร ในกรณีปรางความชอบเกิดจากการอ่านหนังสือการ์ตูนนารูโตะตอนป. 6
ปกติเด็กในโรงเรียนวอลดอร์ฟจะได้โจทย์ที่ยากและท้าทายให้คิดมากขึ้นหลังอายุ 14 เป็นต้นไป พวกเขาจะได้ใช้ศักยภาพทางความคิดอย่างเต็มที่ทั้งในและนอกห้องเรียน ตอนนั้นพ่อแม่ก็ได้แต่นั่งอมยิ้มฟังสิ่งที่เขาคิดด้วยความเต็มตื้นในหัวใจกับผลลัพธ์ที่เฝ้ารอ
ติดตามตอนต่อไปกับจิตสร้างสรรค์ (Creative Mind) ที่ผุดพรายขึ้นในตัวพวกเขาอย่างเป็นธรรมชาติแบบที่ผู้ใหญ่ยังแปลกใจว่า "อืม! คิดได้อย่างไร"
รัก
พี่ณี
15/10/60
บริษัท เดอะ ทรี เวิลด์ส ครีเอเตอร์ จำกัด
LINE ID : the3worldscreator
Facebook : www.facebook.com/the3worldscreator
Tel. 093-2459985, 02-5309150
Fax. 02-530915