Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง (ตอนที่ 21)
แม้พี่ให้ความสำคัญกับการยืนยันตัวตนของลูกซึ่งคือคุณลักษณะของเพศชาย (masculine) แต่สิ่งที่พี่ไม่เคยยอมและไม่มีวันยอมคือคือคุณสมบัติของการทีส่วนร่วมซึ่งเป็นคุณลักษณะของเพศหญิง (feminine)
โดยธรรมชาติเด็กวัยรุ่นเริ่มแยกตัว วิพากษ์วิจารณ์สังคมและความเป็นไปของโลกรอบตัว ถ้าเราปล่อยให้เขาเติบโตแบบต่อต้านสังคมและมองโลกแยกส่วน ลูกจะเห็นโลกเพียงมุมเดียวและขาดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นยามเติบโตขึ้น
บทบาทสำคัญของแม่ตอนลูกวัยรุ่นคือการยืนยันการมีส่วนร่วมมากกว่าช่วงอายุอื่น รวมถึงการมอบหน้าที่ความรับผิดชอบในบ้านให้โดยไม่มีการอ่อนข้อ เนื่องจากลูกใช้อารมณ์นำเหตุผล การขอความช่วยเหลือและบอกให้ลูกช่วยทำอะไรอย่างชัดเจนตามลำดับ 1-2-3-4 จะเปิดโอกาสให้ลูกมีส่วนร่วมในการทำงานด้วยกันแบบไม่ต้องเสียอารมณ์กันทั้ง 2 ฝ่าย
การเตรียมความพร้อมเรื่องการมีส่วนร่วมทำได้ตั้งแต่เรื่องเล็กจนเรื่องใหญ่ เริ่มตั้งแต่มารยาททางสังคม การแต่งตัว การดูแลญาติผู้ใหญ่ งานบ้าน งานโรงเรียน งานจิตอาสา แน่นอนว่าในช่วงแรกลูกย่อมอิดออดเพราะรู้สึกแปลก ไม่ชอบ สิ่งสำคัญที่ลูกต้องเรียนรู้คือการอยู่เหนือความชอบไม่ชอบส่วนตัว
วัย 14-21 เป็นช่วงเวลาที่ลูกมีความคิดเป็นของตัวเอง แต่ความคิดนั้นต้องมาพร้อมความรับผิดชอบ ลูกสามารถใช้จินตนาการอย่างอิสระ แต่ต้องลงมือทำด้วยความรับผิดชอบต่อภาพรวมทั้งหมด
ยิ่งเราเตรียมความพร้อมด้านการมีส่วนร่วมได้เร็วเท่าไร เราจะช่วยให้ลูกปรับตัวและรับมือกับสภาพแวดล้อมใหม่ที่มีอัตราเร่งเร็วของการเปลี่ยนแปลงได้มั่นคงขึ้นเท่านั้น
ปัญหาของวัยรุ่นมีตั้งแต่เรื่องเล็กยันเรื่องใหญ่ การที่ลูกเรียนรู้ว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของนิเวศธรรมชาติที่เป็นองค์รวม มีพ่อแม่พี่น้องที่พร้อมจะยืนมือเข้ามาช่วยทุกเรื่อง จะช่วยลดปัญหาเรื่องความโดดเดี่ยว อ้างว้างทั้งกายและใจลงได้เกือบหมด
ตอนลูกเล็กพี่พูดถึง Good pain ที่ลูกต้องเรียนรู้ในวัย 7-14 พอลูกย่างเข้าวัยรุ่นคุณพ่อคุณแม่สามารถสร้างบรรยากาศในบ้านให้ลูกมีพื้นที่ปลอดภัยในการระเบิดอารมณ์และเรียนรู้ผ่านความผิดพลาดได้ ในภาษาจิตวิทยาเราเรียกว่า Psychological safe place
การสร้างพื้นที่ปลอดภัยมีความจำเป็นสำหรับลูกวัยรุ่นมาก เพราะมันคือพื้นที่เปิดสำหรับแม่และลูกที่จะเรียนรู้ร่วมกัน ในพื้นที่นี้เราต่างเสมอภาคในการแสดงความคิดเห็น เราต่างรับผิดชอบกับผลลัพธ์ที่เกิดร่วมกัน โดยปกติพี่ให้น้ำหนักกับการทำให้ถูกต้องมากกว่าการทำให้ถูกใจ
เมื่อพี่ส่งสัญญาณชัดว่าเราต้องคุยกัน วัยรุ่นที่เหลือจะหลบออกจากอาณาบริเวณนั้น ทิ้งเราสองคนไว้ด้วยกัน ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่เราจะปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด และเผชิญหน้ากันแบบตัวต่อตัว
พี่จะเปิดฉากพูดในสิ่งที่พี่เห็นว่าลูกทำไม่ถูกต้อง เรานั่งคุยบนเก้าอี้ที่เสมอกัน นอกจากกรณีที่มีความผิดที่รุนแรงแม่จะนั่งสูงกว่าเล็กน้อย
"ตรง..สบตา..จบ" คือยุทธศาตร์ยามคุยกับลูกวัยรุ่นของแม่
พี่เปิดประเด็น" ตรงไปตรงมา" ด้วยคำถามว่า "ลูกรู้สึกอย่างไรกับเรื่องที่แม่สังเกตุมาสักระยะ" ถ้าลูกบอกว่า "ไม่รู้สึกอะไร" คราวนี้แม่จะเล่าให้ฟังว่าแม่รู้สึกอะไร
"สบตา"เพื่อบอกว่าพี่ฟังทุกเรื่องที่ลูกพูด ลูกมีสิทธิ์ที่จะพูดสิ่งที่คิดทุกเรื่อง โดยไม่มีถูกหรือผิด สิ่งที่เราให้ความสำคัญคือจะแก้ให้ดีกว่าเดิมด้วยกัน เราพูดถึงอนาคตเสมอ โดยไม่พูดพาดพิงถึงบุคคลที่สาม
"จบ" ด้วยการอธิบายว่า "ทำไมแม่เห็นเรื่องนี้สำคัญกับชีวิตลูก" รวมทั้งสิ่งที่พี่เห็นแต่ลูกมองไม่เห็น ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการด้านความคิด ความรู้สึกและความรับผิดชอบในฐานะสมาชิกในบ้าน
"นี่คือหน้าที่แม่...ผู้หญิงคนเดียวที่จะยืนพูดทุกครั้ง ในสิ่งที่ลูกไม่อยากได้ยิน" แล้วเราก็กอดกัน เช็ดน้ำตาให้กัน
วัยรุ่นที่นั่งรอนอกห้องก็เข้ามาสมทบ ไม่มีใครถามว่าเกิดอะไรขึ้นเพราะทุกคนผ่านกระบวนการเดียวกันหมด แล้วเราทั้งหมดก็กลับมาคุยกันเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
พื้นที่ปลอดภัยในบ้านคือหัวใจที่จะหล่อเลี้ยงให้ลูกๆ เห็นความสำคัญของการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ยิ่งโลกภายนอกวุ่นวายมากเท่าไร การสื่อสารอย่างมีสติเป็นเรื่องจำเป็นมากเท่านั้น
การกลับมารวมเป็นหนึ่งเดียวกันอีกครั้งคือปลายทางของการสนทนาที่เกื้อกูลนี้
การดูแลลุกวัยรุ่นจะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่ายถ้าเราจับหลักถูก เพราะลูกมีแต่เรื่องอารมณ์เป็นหลัก ถ้าเรานิ่ง กล้าเผชิญหน้า ไม่เดินหนีปัญหา ลูกก็จะรู้ว่าแม่เอาจริงสิ่งที่ลูกตัองยึดไว้ในใจเสมอคือ แม่คือแม่ ไม่ใช่เพื่อนและจะไม่มีวันใช่ตลอดไป
ในข่วง 14-21 มีเหตุการณ์ที่สำคัญอีกเรื่องในชีวิตลูกคือ Moon Node ครั้งที่ 1 เราจะเตรียมสนับสนุนและนำทางลูกได้อย่างไร ติดตามตอนต่อไปนะคะ
รัก
พี่ณี
26/7/60
บริษัท เดอะ ทรี เวิลด์ส ครีเอเตอร์ จำกัด
LINE ID : the3worldscreator
Facebook : www.facebook.com/the3worldscreator
Tel. 093-2459985, 02-5309150
Fax. 02-5309156
โดยธรรมชาติเด็กวัยรุ่นเริ่มแยกตัว วิพากษ์วิจารณ์สังคมและความเป็นไปของโลกรอบตัว ถ้าเราปล่อยให้เขาเติบโตแบบต่อต้านสังคมและมองโลกแยกส่วน ลูกจะเห็นโลกเพียงมุมเดียวและขาดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นยามเติบโตขึ้น
บทบาทสำคัญของแม่ตอนลูกวัยรุ่นคือการยืนยันการมีส่วนร่วมมากกว่าช่วงอายุอื่น รวมถึงการมอบหน้าที่ความรับผิดชอบในบ้านให้โดยไม่มีการอ่อนข้อ เนื่องจากลูกใช้อารมณ์นำเหตุผล การขอความช่วยเหลือและบอกให้ลูกช่วยทำอะไรอย่างชัดเจนตามลำดับ 1-2-3-4 จะเปิดโอกาสให้ลูกมีส่วนร่วมในการทำงานด้วยกันแบบไม่ต้องเสียอารมณ์กันทั้ง 2 ฝ่าย
การเตรียมความพร้อมเรื่องการมีส่วนร่วมทำได้ตั้งแต่เรื่องเล็กจนเรื่องใหญ่ เริ่มตั้งแต่มารยาททางสังคม การแต่งตัว การดูแลญาติผู้ใหญ่ งานบ้าน งานโรงเรียน งานจิตอาสา แน่นอนว่าในช่วงแรกลูกย่อมอิดออดเพราะรู้สึกแปลก ไม่ชอบ สิ่งสำคัญที่ลูกต้องเรียนรู้คือการอยู่เหนือความชอบไม่ชอบส่วนตัว
วัย 14-21 เป็นช่วงเวลาที่ลูกมีความคิดเป็นของตัวเอง แต่ความคิดนั้นต้องมาพร้อมความรับผิดชอบ ลูกสามารถใช้จินตนาการอย่างอิสระ แต่ต้องลงมือทำด้วยความรับผิดชอบต่อภาพรวมทั้งหมด
ยิ่งเราเตรียมความพร้อมด้านการมีส่วนร่วมได้เร็วเท่าไร เราจะช่วยให้ลูกปรับตัวและรับมือกับสภาพแวดล้อมใหม่ที่มีอัตราเร่งเร็วของการเปลี่ยนแปลงได้มั่นคงขึ้นเท่านั้น
ปัญหาของวัยรุ่นมีตั้งแต่เรื่องเล็กยันเรื่องใหญ่ การที่ลูกเรียนรู้ว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของนิเวศธรรมชาติที่เป็นองค์รวม มีพ่อแม่พี่น้องที่พร้อมจะยืนมือเข้ามาช่วยทุกเรื่อง จะช่วยลดปัญหาเรื่องความโดดเดี่ยว อ้างว้างทั้งกายและใจลงได้เกือบหมด
ตอนลูกเล็กพี่พูดถึง Good pain ที่ลูกต้องเรียนรู้ในวัย 7-14 พอลูกย่างเข้าวัยรุ่นคุณพ่อคุณแม่สามารถสร้างบรรยากาศในบ้านให้ลูกมีพื้นที่ปลอดภัยในการระเบิดอารมณ์และเรียนรู้ผ่านความผิดพลาดได้ ในภาษาจิตวิทยาเราเรียกว่า Psychological safe place
การสร้างพื้นที่ปลอดภัยมีความจำเป็นสำหรับลูกวัยรุ่นมาก เพราะมันคือพื้นที่เปิดสำหรับแม่และลูกที่จะเรียนรู้ร่วมกัน ในพื้นที่นี้เราต่างเสมอภาคในการแสดงความคิดเห็น เราต่างรับผิดชอบกับผลลัพธ์ที่เกิดร่วมกัน โดยปกติพี่ให้น้ำหนักกับการทำให้ถูกต้องมากกว่าการทำให้ถูกใจ
เมื่อพี่ส่งสัญญาณชัดว่าเราต้องคุยกัน วัยรุ่นที่เหลือจะหลบออกจากอาณาบริเวณนั้น ทิ้งเราสองคนไว้ด้วยกัน ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่เราจะปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด และเผชิญหน้ากันแบบตัวต่อตัว
พี่จะเปิดฉากพูดในสิ่งที่พี่เห็นว่าลูกทำไม่ถูกต้อง เรานั่งคุยบนเก้าอี้ที่เสมอกัน นอกจากกรณีที่มีความผิดที่รุนแรงแม่จะนั่งสูงกว่าเล็กน้อย
"ตรง..สบตา..จบ" คือยุทธศาตร์ยามคุยกับลูกวัยรุ่นของแม่
พี่เปิดประเด็น" ตรงไปตรงมา" ด้วยคำถามว่า "ลูกรู้สึกอย่างไรกับเรื่องที่แม่สังเกตุมาสักระยะ" ถ้าลูกบอกว่า "ไม่รู้สึกอะไร" คราวนี้แม่จะเล่าให้ฟังว่าแม่รู้สึกอะไร
"สบตา"เพื่อบอกว่าพี่ฟังทุกเรื่องที่ลูกพูด ลูกมีสิทธิ์ที่จะพูดสิ่งที่คิดทุกเรื่อง โดยไม่มีถูกหรือผิด สิ่งที่เราให้ความสำคัญคือจะแก้ให้ดีกว่าเดิมด้วยกัน เราพูดถึงอนาคตเสมอ โดยไม่พูดพาดพิงถึงบุคคลที่สาม
"จบ" ด้วยการอธิบายว่า "ทำไมแม่เห็นเรื่องนี้สำคัญกับชีวิตลูก" รวมทั้งสิ่งที่พี่เห็นแต่ลูกมองไม่เห็น ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการด้านความคิด ความรู้สึกและความรับผิดชอบในฐานะสมาชิกในบ้าน
"นี่คือหน้าที่แม่...ผู้หญิงคนเดียวที่จะยืนพูดทุกครั้ง ในสิ่งที่ลูกไม่อยากได้ยิน" แล้วเราก็กอดกัน เช็ดน้ำตาให้กัน
วัยรุ่นที่นั่งรอนอกห้องก็เข้ามาสมทบ ไม่มีใครถามว่าเกิดอะไรขึ้นเพราะทุกคนผ่านกระบวนการเดียวกันหมด แล้วเราทั้งหมดก็กลับมาคุยกันเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
พื้นที่ปลอดภัยในบ้านคือหัวใจที่จะหล่อเลี้ยงให้ลูกๆ เห็นความสำคัญของการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ยิ่งโลกภายนอกวุ่นวายมากเท่าไร การสื่อสารอย่างมีสติเป็นเรื่องจำเป็นมากเท่านั้น
การกลับมารวมเป็นหนึ่งเดียวกันอีกครั้งคือปลายทางของการสนทนาที่เกื้อกูลนี้
การดูแลลุกวัยรุ่นจะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่ายถ้าเราจับหลักถูก เพราะลูกมีแต่เรื่องอารมณ์เป็นหลัก ถ้าเรานิ่ง กล้าเผชิญหน้า ไม่เดินหนีปัญหา ลูกก็จะรู้ว่าแม่เอาจริงสิ่งที่ลูกตัองยึดไว้ในใจเสมอคือ แม่คือแม่ ไม่ใช่เพื่อนและจะไม่มีวันใช่ตลอดไป
ในข่วง 14-21 มีเหตุการณ์ที่สำคัญอีกเรื่องในชีวิตลูกคือ Moon Node ครั้งที่ 1 เราจะเตรียมสนับสนุนและนำทางลูกได้อย่างไร ติดตามตอนต่อไปนะคะ
รัก
พี่ณี
26/7/60
บริษัท เดอะ ทรี เวิลด์ส ครีเอเตอร์ จำกัด
LINE ID : the3worldscreator
Facebook : www.facebook.com/the3worldscreator
Tel. 093-2459985, 02-5309150
Fax. 02-5309156