Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง (ตอนที่ 18)
ช่วง 7-14 ปีคือช่วงเวลาสำคัญในการบ่มเพาะคุณค่าให้เกิดขึ้นในตัวลูก ถือเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญจากวัยเด็กสู่วัยรุ่นตอนต้น
เหตุการณ์สำคัญในช่วงนี้คือความรู้สึกแปลกแยกจากโลก ลูกไม่ได้เป็นหนึ่งเดียวกับโลกรอบตัวอีกต่อไป ความรู้สึกถึงการมีตัวตนที่แตกต่างจากพี่น้องหรือพ่อแม่ในช่วงวัย 9 ขวบ แนวการศึกษาวอลล์ดอร์ฟเรียกช่วงเวลานี้ว่า Rubicon
อุปมาของคำว่า Rubicon คือการข้ามแม่น้ำสายใหญ่ที่เมื่อข้ามฝั่งไปแล้วตัองเดินหน้าต่อไม่สามารถข้ามกลับได้ เป็นการให้ภาพของวัยเด็กที่ไม่มีวันหวนคืน
ความสับสนและความไม่แน่นอนที่ผุดพรายขึ้นในใจทำให้ลูกมีท่าทีที่เปลี่ยนไป ทุกอย่างรอบตัวไม่มั่นคงแน่นอนดังเดิม ปรากฎการณ์ภายนอกจึงแสดงออกผ่านแรงเหวี่ยงสองด้านคือควบคุมบัญชาการแม่ ตั้งตนเป็นศูนย์กลางของบ้านหรือหงุดหงิด ขี้โมโห ปฏิเสธแม่
ช่วง Rubicon ถือเป็นช่วงการยืนยันความเป็นตัวเองครั้งที่สองของลูกหลัง 3 ขวบ เป็นกระบวนการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญทีสุดผ่าน "ความทรงสิทธิ์" หรือ "Authority" ของแม่
พี่ค่อยๆ เข้าใจคำว่า "ความทรงสิทธิ์" มากขึ้นหลังมีลูกครบ 3 คน ความทรงสิทธิ์คือวิถีของบ้านที่แม่ใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิต ความทรงสิทธิ์คือแก่นและคุณค่าที่แม่ยึดโยงในยามแรงเหวี่ยงในใจลูกเริ่มแกว่ง
การเตรียมความพร้อมเพื่อให้ลูกได้ค้นหาจุดยืนของตัวเองเป็นสิ่งสำคัญมาก แรงเหวี่ยงสองขั้วที่เกิดขึ้นเพื่อยืนยันความเป็นตัวเองและความพร้อมที่จะก้าวเป็นวัยรุ่นเต็มตัวในอนาคต สิ่งสำคัญที่สุดคือลูกต้องผ่านวิกฤติ Rubicon นี้ไปด้วยตัวเอง
เหตุการณ์สำคัญในช่วงนี้คือความรู้สึกแปลกแยกจากโลก ลูกไม่ได้เป็นหนึ่งเดียวกับโลกรอบตัวอีกต่อไป ความรู้สึกถึงการมีตัวตนที่แตกต่างจากพี่น้องหรือพ่อแม่ในช่วงวัย 9 ขวบ แนวการศึกษาวอลล์ดอร์ฟเรียกช่วงเวลานี้ว่า Rubicon
อุปมาของคำว่า Rubicon คือการข้ามแม่น้ำสายใหญ่ที่เมื่อข้ามฝั่งไปแล้วตัองเดินหน้าต่อไม่สามารถข้ามกลับได้ เป็นการให้ภาพของวัยเด็กที่ไม่มีวันหวนคืน
ความสับสนและความไม่แน่นอนที่ผุดพรายขึ้นในใจทำให้ลูกมีท่าทีที่เปลี่ยนไป ทุกอย่างรอบตัวไม่มั่นคงแน่นอนดังเดิม ปรากฎการณ์ภายนอกจึงแสดงออกผ่านแรงเหวี่ยงสองด้านคือควบคุมบัญชาการแม่ ตั้งตนเป็นศูนย์กลางของบ้านหรือหงุดหงิด ขี้โมโห ปฏิเสธแม่
ช่วง Rubicon ถือเป็นช่วงการยืนยันความเป็นตัวเองครั้งที่สองของลูกหลัง 3 ขวบ เป็นกระบวนการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญทีสุดผ่าน "ความทรงสิทธิ์" หรือ "Authority" ของแม่
พี่ค่อยๆ เข้าใจคำว่า "ความทรงสิทธิ์" มากขึ้นหลังมีลูกครบ 3 คน ความทรงสิทธิ์คือวิถีของบ้านที่แม่ใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิต ความทรงสิทธิ์คือแก่นและคุณค่าที่แม่ยึดโยงในยามแรงเหวี่ยงในใจลูกเริ่มแกว่ง
การเตรียมความพร้อมเพื่อให้ลูกได้ค้นหาจุดยืนของตัวเองเป็นสิ่งสำคัญมาก แรงเหวี่ยงสองขั้วที่เกิดขึ้นเพื่อยืนยันความเป็นตัวเองและความพร้อมที่จะก้าวเป็นวัยรุ่นเต็มตัวในอนาคต สิ่งสำคัญที่สุดคือลูกต้องผ่านวิกฤติ Rubicon นี้ไปด้วยตัวเอง
สิ่งที่แม่มอบให้เป็นของขวัญยามวิกฤติคือความทรงสิทธิ์ที่ยืนยันขอบเขต ความรัก ความเข้าใจว่าสิ่งที่ลูกกำลังเผชิญอยู่สำคัญกับการเติบโตภายในตัวลูกอย่างไร
ความมั่นคงทางอารมณ์ของแม่จะช่วยประคับประคองใจลูกให้มั่นคง ไม่ไหวเอนไปกับแรงกระเพื่อมจากสิ่งเร้าภายนอก ลูกต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ที่ไม่คุ้นชิน เรียนรู้ที่จะยอมรับความแตกต่าง และรับมือกับความเจ็บปวดที่ต้องถูกปฏิเสธจากเพื่อนหรือพี่น้อง มือที่เคยยื่นให้ลูกเกาะยามลูกหัดเดิน เปลี่ยนเป็นใจที่เชื่อมั่นว่าลูกจะก้าวข้ามความขัดแย้งและการถูกสังคมปฏิเสธด้วยตัวเอง แม่เป็นเพียงผู้เฝ้าดูและนิ่งฟังอย่างเงียบๆ ยามลูกถูกเพื่อนปฏิเสธ หรือเกิดการทะเลาะกันระหว่างพี่น้อง แม่ทำหน้าที่เดียวคือทำให้ทุกอย่างกลับมาดีกันดังเดิม |
ลูกแต่ละคนมีความเปราะบางต่างกัน ความทรงสิทธิ์ของแม่จะเป็นเกราะกำบังใจให้ลูกค่อยๆ เห็นคุณค่าและยอมรับความแตกต่างได้ในที่สุด ทุกอย่างจะกลับมาเข้าที่และดีขึ้นกว่าเดิม ครูพี่เรียกปรากฎการณ์นี้ว่า "Good Pain"
สำหรับพี่ลูกทุกคนรู้ว่าถ้าลูกเหวี่ยงจนเกินขอบเขตที่แม่กำหนดไว้ แม่คนนี้เอาจริง ดุถึงดุมากที่สุด ประโยคที่พี่ใข้เสมอเพื่อดึงลูกกลับไปหาแก่นคือ
"ร้องไห้ออกมาเลยลูก ร้องวันนี้...ดีกว่าร้องไห้ตอนโต"
"แม่ไม่สนใจว่าคนทั้งโลกจะรู้สึกอย่างไรกับแม่ แม่สนใจอย่างเดียวว่าลูกรู้สึกอย่างไรกับแม่"
"ลูกยังเด็กเกินไป เมื่อลูกโตขึ้น..ลูกจะเข้าใจ"
ไม่ว่าเรื่องราวจะร้ายแรงเพียงใด แม่พร้อมแสดงจุดยืนและสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ลูกได้แสดงความรู้สึกเปราะบางเพื่อยืนยันความเป็นตัวเองที่ฉายแววชัดขึ้นทุกวัน
สำหรับพี่ลูกทุกคนรู้ว่าถ้าลูกเหวี่ยงจนเกินขอบเขตที่แม่กำหนดไว้ แม่คนนี้เอาจริง ดุถึงดุมากที่สุด ประโยคที่พี่ใข้เสมอเพื่อดึงลูกกลับไปหาแก่นคือ
"ร้องไห้ออกมาเลยลูก ร้องวันนี้...ดีกว่าร้องไห้ตอนโต"
"แม่ไม่สนใจว่าคนทั้งโลกจะรู้สึกอย่างไรกับแม่ แม่สนใจอย่างเดียวว่าลูกรู้สึกอย่างไรกับแม่"
"ลูกยังเด็กเกินไป เมื่อลูกโตขึ้น..ลูกจะเข้าใจ"
ไม่ว่าเรื่องราวจะร้ายแรงเพียงใด แม่พร้อมแสดงจุดยืนและสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ลูกได้แสดงความรู้สึกเปราะบางเพื่อยืนยันความเป็นตัวเองที่ฉายแววชัดขึ้นทุกวัน
ความทรงสิทธิ์มิได้จำกัดเพียงการสร้าง good pain แต่ยังหมายรวมถึงการสร้างความมีส่วนร่วมในบ้านที่เป็นลูกตุ้มถ่วงไม่ให้ลูกแต่ละคนดำดิ่งยืนยันความเป็นตัวเองมากเกินงาม
นี่คือช่วงทองของการเตรียมทัศนคติในการเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง การเตรียมความพร้อมในการกลับมาหาแก่นของชีวิตยามเผชิญปัญหาและอุปสรรคตอนลูกอายุ 28-35 ซึ่งเป็นช่วง Turning Point ที่ตัองใช้แสงสว่างภายในหัวใจตัวเองนำทาง คุณค่าและวิถีของบ้านจะดำเนินต่อไปอย่างไรหลังลูกอายุ 14 ปี แม่จะส่งไม้ต่อให้พ่ออย่างไร ความทรงสิทธิ์ good pain และการสร้างความมีส่วนร่วมจะสามารถสร้างความมั่นคงทางใจลูกได้จริงหรือไม่ ติดตามตอนต่อไปค่ะ |
รัก
พี่ณี
25/6/60
บริษัท เดอะ ทรี เวิลด์ส ครีเอเตอร์ จำกัด
LINE ID : the3worldscreator
Facebook : www.facebook.com/the3worldscreator
Tel. 093-2459985, 02-5309150
Fax. 02-5309156
พี่ณี
25/6/60
บริษัท เดอะ ทรี เวิลด์ส ครีเอเตอร์ จำกัด
LINE ID : the3worldscreator
Facebook : www.facebook.com/the3worldscreator
Tel. 093-2459985, 02-5309150
Fax. 02-5309156