Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง (ตอนที่ 17)
ชีวิตก้าวเข้าสู่ดินแดนแห่งใหม่ที่ไม่มีแผนที่นำทางมีเพียงหมุดปักบนแผนที่ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ ทุก 7 ปี การเปลี่ยนแปลงของลูกแต่ละคนช้าเร็วไม่เท่ากัน แม่ต้องหารูปแบบเฉพาะที่เหมาะกับลูกแต่ละคนและเหมาะกับบ้านของตัวเอง
ยิ่งเรียนยิ่งค้นพบว่าการศึกษาวอลดอร์ฟคือการศึกษาเพื่ออนาคต สิ่งที่แม่ทำและไม่ทำในวันนี้คือการกำหนดชะตาชีวิตของลูกและชะตากรรมของโลกในอนาคต แม่คือผู้สร้างโลกในตัวลูก
ตอนยังไม่เรียน Biography แม่นั่งนับนิ้วตอนครูสอนว่ามีช่วงไหนของแผนที่ที่แม่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ในช่วงชีวิตลูกที่มีทั้งขาขึ้นและขาลง ครูเน้นพัฒนาการสูงสุดไว้ที่กึ่งกลางของทุก 7 ปี เป็นช่วงพักหายใจของคนเป็นแม่
0---/---7 ลูกเรียนรู้ผ่านเจตจำนงและการเลียนแบบ
7---/---14 ลูกเรียนรู้ผ่านความรู้สึกและความทรงสิทธิ์
14---/---21 ลูกเรียนรู้ผ่านความคิดและความรับผิดชอบ
ลูกในช่วงอายุ 0-14 ปี เรายังเรียกลูกว่าเป็น Childhood แม่คือ Hood ที่ปกป้องดูแลลูกเหมือนหมวกคลุมหัวตามแนวคิดของตะวันตก
ช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญคือช่วงอายุ 14 ปีเพราะเป็นทั้งช่วงขาลงของชีวิตลูกและเป็นทั้งการเปลี่ยนผ่านจาก Childhood สู่ Adolescent หรือช่วงวัยรุ่น ลูกพร้อมตื่นขึ้นจากสภาวะสำนึกกึ่งฝันในช่วง 7-14 ปีแล้ว
เมื่อมาเปรียบเทียบช่วง 0-14 ปีกับแนวคิดและวิถีตะวันออก ช่วงนี้กระหม่อมลูกยังปิดไม่หมดและภูมิคุ้มกันยังอ่อนแอเกินไป คนไทยสมัยโบราณจะให้เด็กๆ ใส่กำไลข้อมือข้อเท้าที่ทำจากเงิน ทอง นากเพื่อเก็บความร้อนไว้ในร่างกาย
พ่อแม่ยุคก่อนจะผูกจุกไว้ตรงกระหม่อมซึ่งเป็นตำแหน่งที่ความร้อนถ่ายเทออกจากร่างกายสูงสุดถึง 75% โดยมีกำไลแขนขาจะช่วยเก็บความร้อนไว้ 25%
พิธีโกนจุกจะเกิดในช่วงอายุ 11 ขวบตอนหัวใจลูกเต้นเท่าผู้ใหญ่ เป็นพิธีใหญ่ที่เตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นตั้งแต่อายุ 12 เป็นต้นไป ปัญญาญาณแบบนี้จางหายจากสังคมไทยจนแทบไม่เหลือ
สติของแม่ครอบคลุมทุกเรื่องตั้งแต่ตื่นจนหลับ ครูที่สอนแม่ย้ำเสมอว่า ช่วง 0-7 ปีเป็นช่วงที่ลูกหลับไหลทางกายภาพพลังชีวิตทุกอย่างจะถูกใช้เพื่อการสร้างอวัยวะภายใน
สัญญาณเดียวที่บอกว่าลูกเริ่มตื่นจากหลับไหลคือช่วง 7 ขวบตอนฟันน้ำนมหลุด และลูกเอามือข้ามไปแตะหูอีกข้างได้ หลัง 7 ขวบพลังชีวิตที่เคยใช้สร้างอวัยวะจะเปลี่ยนเป็นพลังแห่งการเรียนรู้ ลูกจะอ่านหนังสือออกช่วงอายุ 9 ขวบซึ่งเป็นช่วงที่ฟันแท้เริ่มขึ้น
ช่วง 7 ปีแรกคือช่วงทองของชีวิตที่ลูกจะเรียนรู้เรื่องความดี คุณธรรมและจริยธรรมผ่านการเลียนแบบคนรอบข้าง ลูกจะซึมซับและเลียนแบบทุกอย่างตั้งแต่คำพูด น้ำเสียงท่าทาง การกระทำ
ตอนส่งปรางเข้าโรงเรียนใหม่ๆ คิดว่าสบายแล้ว ไปกินข้าวที่ไหนจะให้ปรางเป็นคนสั่งอาหาร แม่จะได้นั่งรอกินอย่างเดียว เพราะปราง 4 ขวบแล้ว ฟังครูสอนเรื่องภาวะหลับไหลเสร็จ พี่กลับมาคุยกับพี่สมบูรณ์ว่าเราต้องเปลี่ยนตารางในบ้านกันใหม่หมด
คำถามทั้งหมดที่แม่เคยถามตอนตัวเองยังไม่รู้อะไรเลยเรื่องการเลี้ยงลูก ถูกกลืนหายเข้าไปในลำคอเวลาจะอ้าปากถามลูกว่า
"วันนี้หนูจะกินอะไร"
"อยากใส่เสื้อตัวไหนคะ "
"ง่วงหรือยังคะ"
"เล่นกันพอหรือยังลูก"
ทุกเช้าที่ลูกตื่นมาไม่ว่าจะไปโรงเรียนหรือไม่ไป ลูกจะเห็นชุดนักเรียน ชุดไปเที่ยว หรือชุดอยู่บ้าน จัดเรียงไว้หน้าห้องน้ำอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย อาบน้ำแต่งตัวเสร็จมานั่งกินข้าวที่โต๊ะอาหารที่มีช้อนจาน แก้วน้ำของแต่ละคนเตรียมไว้ให้แล้ว
ลูกเคยได้ยินเพื่อนพูดเรื่องไก่ทอดร้านดัง อยากให้แม่พาไปกินบ้าง แม่ทอดไก่ใส่ตะไคร้และบอกว่า นี่คือไก่ทอดเจ้าดังที่ลูกอยากกิน ลูกกินกันอย่างเอร็ดอร่อยจนวันที่ปรางโตพอ พ่อแม่ลองพาไปกินหนึ่งครั้งตอนวันเกิดสลับกับการกินพิซซ่าที่แม่เริ่มเบื่อ
ลูกสามคนกินกันเงียบมาก ปรางถามแม่ว่า "ทำไมไก่จืดเหมือนกินกระดาษเลยแม่ ไม่เห็นเหมือนไก่ที่บ้านเรา ไก่บ้านเราอร่อยกว่า" แม่ปลื้มแบบยิ้มไม่หุบ เข้าทางแม่ที่พยายามสุดความสามารถในการทำอาหารทุกอย่างให้มีรูป รส กลิ่นเสียง สัมผัส เพื่อตัดวงจรอาหารฟาสฟู้ดออกจากชีวิตลูก
เราสองคนพาลูกไปกินข้าวร้านอาหารร้านเดิม นั่งโต๊ะตัวเดิมถ้าเป็นไปได้ สั่งอาหารเหมือนเดิมทุกครั้งเพื่อให้ลูกได้สังเกตรายละเอียดรอบตัว ตอนลูกเล็กพี่ซื้อเสื้อผ้าให้ลูกสามคนใส่เหมือนกันหมด เวลาไปไหนคนนึกว่ามีแฝดสาม
พอปรางอายุ 9 ขวบก็เริ่มต่อรองกับแม่ว่าไม่อยากใส่เสื้อเหมือนน้องแล้ว พี่ยอมเป็นบางครั้งเพราะรู้ว่าปรางเริ่มตื่นจากภาวะหลับไหลแล้ว บรรยากาศของบ้านเริ่มเปลี่ยนเป็นแนวฝันๆ หลังลูก 7 ขวบ
ตอนลูกเล็กแม่คิดว่ายากแล้ว ยิ่งลูกก้าวสู่ข่วงวัยรุ่นตอนต้นก่อนอายุ 14 อัตราของความยากและความท้าทายเพิ่มเป็นยกกำลังสาม แม่ต้องฝึกฝนตัวเองอย่างหนักในการรู้เท่าทันอารมณ์ตัวเองและการเตรียมลดบทบาทตัวเองลงเพื่อส่งมอบหน้าที่ให้พ่อต่อเมื่อลูกอายุครบ 14 ปีบริบูรณ์
พอมาเรียน Biography ตารางชีวิต 9 ช่องที่ครู Karl-Heinz สอนทำให้ต้องกลับมาพิจารณาตัวเองเพิ่มอย่างเร่งด่วนและเลือกจุดยืนสองเรื่องที่แม่ไม่เคยยอมอ่อนข้อไม่ว่าลูกอายุเท่าไหร่ก็ตามคือเรื่องสุขภาพและจิตวิญญาณ
การเลี้ยงดู 21 ปีแรกกำหนดชะตากรรมลูกใน 21 ปีที่สองและชะตากรรมของโลกใน 21 ปีสุดท้าย ทุกอย่างเรียงร้อยและส่งผลกระทบถึงกันแบบที่แม่คนนี้ศิโรราบ
0---/---7 , 35---/---42, 56---/---63
7---/---14, 28---/---35, 49---/---56
14---/---21, 21---/---28, 42---/---49
เห็นภาพรวมชีวิตแล้วแม่แทบอยู่ในทุกช่วงชีวิตของลูก พ่อมารับไม้ต่อช่วง 14-21 ซึ่งลูกตื่นทางความคิดและความรับผิดชอบชีวิตตัวเองได้แล้ว
พ่อดูแลช่วง Moon Node แรกของลูก แม่คือต้นแบบและเงาสะท้อนของ Moon Node ที่ 2 ตอน 37 ปีและ Moon Node ที่ 3 ตอน 56 ปี
พี่เก็บช่วงเวลาสำคัญตอน 7-14 ปีที่เป็นช่วงแห่งความทรงสิทธิ์ของแม่ไว้เล่าในตอนต่อไป เพราะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญมากของแม่ทุกคน ติดตามตอนต่อไปค่ะ
รัก
พี่ณี
11/6/60
บริษัท เดอะ ทรี เวิลด์ส ครีเอเตอร์ จำกัด
LINE ID : the3worldscreator
Facebook : www.facebook.com/the3worldscreator
Tel. 093-2459985, 02-5309150
Fax. 02-5309156
ยิ่งเรียนยิ่งค้นพบว่าการศึกษาวอลดอร์ฟคือการศึกษาเพื่ออนาคต สิ่งที่แม่ทำและไม่ทำในวันนี้คือการกำหนดชะตาชีวิตของลูกและชะตากรรมของโลกในอนาคต แม่คือผู้สร้างโลกในตัวลูก
ตอนยังไม่เรียน Biography แม่นั่งนับนิ้วตอนครูสอนว่ามีช่วงไหนของแผนที่ที่แม่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ในช่วงชีวิตลูกที่มีทั้งขาขึ้นและขาลง ครูเน้นพัฒนาการสูงสุดไว้ที่กึ่งกลางของทุก 7 ปี เป็นช่วงพักหายใจของคนเป็นแม่
0---/---7 ลูกเรียนรู้ผ่านเจตจำนงและการเลียนแบบ
7---/---14 ลูกเรียนรู้ผ่านความรู้สึกและความทรงสิทธิ์
14---/---21 ลูกเรียนรู้ผ่านความคิดและความรับผิดชอบ
ลูกในช่วงอายุ 0-14 ปี เรายังเรียกลูกว่าเป็น Childhood แม่คือ Hood ที่ปกป้องดูแลลูกเหมือนหมวกคลุมหัวตามแนวคิดของตะวันตก
ช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญคือช่วงอายุ 14 ปีเพราะเป็นทั้งช่วงขาลงของชีวิตลูกและเป็นทั้งการเปลี่ยนผ่านจาก Childhood สู่ Adolescent หรือช่วงวัยรุ่น ลูกพร้อมตื่นขึ้นจากสภาวะสำนึกกึ่งฝันในช่วง 7-14 ปีแล้ว
เมื่อมาเปรียบเทียบช่วง 0-14 ปีกับแนวคิดและวิถีตะวันออก ช่วงนี้กระหม่อมลูกยังปิดไม่หมดและภูมิคุ้มกันยังอ่อนแอเกินไป คนไทยสมัยโบราณจะให้เด็กๆ ใส่กำไลข้อมือข้อเท้าที่ทำจากเงิน ทอง นากเพื่อเก็บความร้อนไว้ในร่างกาย
พ่อแม่ยุคก่อนจะผูกจุกไว้ตรงกระหม่อมซึ่งเป็นตำแหน่งที่ความร้อนถ่ายเทออกจากร่างกายสูงสุดถึง 75% โดยมีกำไลแขนขาจะช่วยเก็บความร้อนไว้ 25%
พิธีโกนจุกจะเกิดในช่วงอายุ 11 ขวบตอนหัวใจลูกเต้นเท่าผู้ใหญ่ เป็นพิธีใหญ่ที่เตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นตั้งแต่อายุ 12 เป็นต้นไป ปัญญาญาณแบบนี้จางหายจากสังคมไทยจนแทบไม่เหลือ
สติของแม่ครอบคลุมทุกเรื่องตั้งแต่ตื่นจนหลับ ครูที่สอนแม่ย้ำเสมอว่า ช่วง 0-7 ปีเป็นช่วงที่ลูกหลับไหลทางกายภาพพลังชีวิตทุกอย่างจะถูกใช้เพื่อการสร้างอวัยวะภายใน
สัญญาณเดียวที่บอกว่าลูกเริ่มตื่นจากหลับไหลคือช่วง 7 ขวบตอนฟันน้ำนมหลุด และลูกเอามือข้ามไปแตะหูอีกข้างได้ หลัง 7 ขวบพลังชีวิตที่เคยใช้สร้างอวัยวะจะเปลี่ยนเป็นพลังแห่งการเรียนรู้ ลูกจะอ่านหนังสือออกช่วงอายุ 9 ขวบซึ่งเป็นช่วงที่ฟันแท้เริ่มขึ้น
ช่วง 7 ปีแรกคือช่วงทองของชีวิตที่ลูกจะเรียนรู้เรื่องความดี คุณธรรมและจริยธรรมผ่านการเลียนแบบคนรอบข้าง ลูกจะซึมซับและเลียนแบบทุกอย่างตั้งแต่คำพูด น้ำเสียงท่าทาง การกระทำ
ตอนส่งปรางเข้าโรงเรียนใหม่ๆ คิดว่าสบายแล้ว ไปกินข้าวที่ไหนจะให้ปรางเป็นคนสั่งอาหาร แม่จะได้นั่งรอกินอย่างเดียว เพราะปราง 4 ขวบแล้ว ฟังครูสอนเรื่องภาวะหลับไหลเสร็จ พี่กลับมาคุยกับพี่สมบูรณ์ว่าเราต้องเปลี่ยนตารางในบ้านกันใหม่หมด
คำถามทั้งหมดที่แม่เคยถามตอนตัวเองยังไม่รู้อะไรเลยเรื่องการเลี้ยงลูก ถูกกลืนหายเข้าไปในลำคอเวลาจะอ้าปากถามลูกว่า
"วันนี้หนูจะกินอะไร"
"อยากใส่เสื้อตัวไหนคะ "
"ง่วงหรือยังคะ"
"เล่นกันพอหรือยังลูก"
ทุกเช้าที่ลูกตื่นมาไม่ว่าจะไปโรงเรียนหรือไม่ไป ลูกจะเห็นชุดนักเรียน ชุดไปเที่ยว หรือชุดอยู่บ้าน จัดเรียงไว้หน้าห้องน้ำอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย อาบน้ำแต่งตัวเสร็จมานั่งกินข้าวที่โต๊ะอาหารที่มีช้อนจาน แก้วน้ำของแต่ละคนเตรียมไว้ให้แล้ว
ลูกเคยได้ยินเพื่อนพูดเรื่องไก่ทอดร้านดัง อยากให้แม่พาไปกินบ้าง แม่ทอดไก่ใส่ตะไคร้และบอกว่า นี่คือไก่ทอดเจ้าดังที่ลูกอยากกิน ลูกกินกันอย่างเอร็ดอร่อยจนวันที่ปรางโตพอ พ่อแม่ลองพาไปกินหนึ่งครั้งตอนวันเกิดสลับกับการกินพิซซ่าที่แม่เริ่มเบื่อ
ลูกสามคนกินกันเงียบมาก ปรางถามแม่ว่า "ทำไมไก่จืดเหมือนกินกระดาษเลยแม่ ไม่เห็นเหมือนไก่ที่บ้านเรา ไก่บ้านเราอร่อยกว่า" แม่ปลื้มแบบยิ้มไม่หุบ เข้าทางแม่ที่พยายามสุดความสามารถในการทำอาหารทุกอย่างให้มีรูป รส กลิ่นเสียง สัมผัส เพื่อตัดวงจรอาหารฟาสฟู้ดออกจากชีวิตลูก
เราสองคนพาลูกไปกินข้าวร้านอาหารร้านเดิม นั่งโต๊ะตัวเดิมถ้าเป็นไปได้ สั่งอาหารเหมือนเดิมทุกครั้งเพื่อให้ลูกได้สังเกตรายละเอียดรอบตัว ตอนลูกเล็กพี่ซื้อเสื้อผ้าให้ลูกสามคนใส่เหมือนกันหมด เวลาไปไหนคนนึกว่ามีแฝดสาม
พอปรางอายุ 9 ขวบก็เริ่มต่อรองกับแม่ว่าไม่อยากใส่เสื้อเหมือนน้องแล้ว พี่ยอมเป็นบางครั้งเพราะรู้ว่าปรางเริ่มตื่นจากภาวะหลับไหลแล้ว บรรยากาศของบ้านเริ่มเปลี่ยนเป็นแนวฝันๆ หลังลูก 7 ขวบ
ตอนลูกเล็กแม่คิดว่ายากแล้ว ยิ่งลูกก้าวสู่ข่วงวัยรุ่นตอนต้นก่อนอายุ 14 อัตราของความยากและความท้าทายเพิ่มเป็นยกกำลังสาม แม่ต้องฝึกฝนตัวเองอย่างหนักในการรู้เท่าทันอารมณ์ตัวเองและการเตรียมลดบทบาทตัวเองลงเพื่อส่งมอบหน้าที่ให้พ่อต่อเมื่อลูกอายุครบ 14 ปีบริบูรณ์
พอมาเรียน Biography ตารางชีวิต 9 ช่องที่ครู Karl-Heinz สอนทำให้ต้องกลับมาพิจารณาตัวเองเพิ่มอย่างเร่งด่วนและเลือกจุดยืนสองเรื่องที่แม่ไม่เคยยอมอ่อนข้อไม่ว่าลูกอายุเท่าไหร่ก็ตามคือเรื่องสุขภาพและจิตวิญญาณ
การเลี้ยงดู 21 ปีแรกกำหนดชะตากรรมลูกใน 21 ปีที่สองและชะตากรรมของโลกใน 21 ปีสุดท้าย ทุกอย่างเรียงร้อยและส่งผลกระทบถึงกันแบบที่แม่คนนี้ศิโรราบ
0---/---7 , 35---/---42, 56---/---63
7---/---14, 28---/---35, 49---/---56
14---/---21, 21---/---28, 42---/---49
เห็นภาพรวมชีวิตแล้วแม่แทบอยู่ในทุกช่วงชีวิตของลูก พ่อมารับไม้ต่อช่วง 14-21 ซึ่งลูกตื่นทางความคิดและความรับผิดชอบชีวิตตัวเองได้แล้ว
พ่อดูแลช่วง Moon Node แรกของลูก แม่คือต้นแบบและเงาสะท้อนของ Moon Node ที่ 2 ตอน 37 ปีและ Moon Node ที่ 3 ตอน 56 ปี
พี่เก็บช่วงเวลาสำคัญตอน 7-14 ปีที่เป็นช่วงแห่งความทรงสิทธิ์ของแม่ไว้เล่าในตอนต่อไป เพราะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญมากของแม่ทุกคน ติดตามตอนต่อไปค่ะ
รัก
พี่ณี
11/6/60
บริษัท เดอะ ทรี เวิลด์ส ครีเอเตอร์ จำกัด
LINE ID : the3worldscreator
Facebook : www.facebook.com/the3worldscreator
Tel. 093-2459985, 02-5309150
Fax. 02-5309156