Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง (ตอนที่ 12)
ตอนพาลูก ๆ ไปเที่ยวเชียงใหม่ช่วงปิดเทอม เกิดกรณีพิพาทที่ไม่รู้สาเหตุ พี่กำลังเลือกซื้อของอยู่ได้ยินแต่เสียงน้องปัญญ์ร้องไห้ดังมาก พี่วิ่งไปดูเห็นผมน้องปัญญ์หนึ่งกระจุกในมือน้องโอม
น้องปัญญ์โมโหมากต่อว่าแม่ว่า "ทำไมแม่ไม่ตีโอมเหมือนที่ตีปัญญ์ตอนเด็ก ๆ " แม่ตอบคำเดียวว่า "ตอนนี้แม่พัฒนาแล้ว" ปัญญ์ไม่เคยรู้เลยว่าตั้งแต่แม่ตีปัญญ์คราวนั้น แม่สัญญากับตัวเองว่าแม่จะไม่มีวันทำผิดกับลูกคนไหนอีก นอกจากช่วงเวลาที่พิเศษจริงๆ ที่ต้องพาลูกออกจากข้อจำกัดของตัวเองตอนอายุ 14 ปี
ลูกบ้านเราใช้เวลาทั้งหมดในการเล่นซนกันอย่างเต็มที่ในวัยเด็ก ยิ่งเล่นก็ยิ่งทะเลาะกัน ดังนั้น กระบวนการทำโทษก็มีมากขึ้นตามลำดับ เมื่อก่อนตอนมีลูกสองคน ลูกแค่ล้างมือและล้างปาก ตอนนี้เพิ่มกอดและหอมแก้มถ้าใครทำผิด
ครู Stephan Kuhne ครูผู้สอนดนตรีบำบัดคนแรกที่ขัดเกลาพี่จนศิโรราบในช่วง Moon Node ที่ 2 ตอนอายุ 37 ครูเคยสอนพวกเราว่าเวลาลูกทะเลาะกันให้ดูให้ดีว่าต้นเรื่องเกิดจากใคร
บางทีลูกที่ถูกกลั่นแกล้งอาจส่งสัญญาณเชิญชวนพี่น้องให้มาแกล้งตัวเองก็ได้
ดังนั้น บางครั้งลูกคนที่ร้องไห้บ่อย ๆ อาจเป็นชะตากรรมที่เขาต้องแก้ไขตัวเอง ถือเป็นความซับซ้อนของสถานการณ์ที่พ่อแม่ต้องหาต้นตอให้เจอ
น้องปัญญ์โอดครวญและต่อรองทุกครั้งที่ทะเลาะกับน้องโอมว่ากอดอย่างเดียวได้ไหม ไม่หอมแก้มเพราะน้องตัวเหม็น "เชิญไปล้างมือ ล้างปาก กอดและหอมแก้มกันค่ะ" เป็นวลีเดียวที่แม่ยืนยันทุกครั้งเพื่อให้การทะเลาะจบลงอย่างที่สมบูรณ์
ในกรณีที่ลูกทะเลาะกับแม่ สิ่งที่บ้านเราถือปฏิบัติมาตลอดคือลูกต้องมากราบขอโทษแม่ทุกครั้ง แม่เคยมีกรณีพิพาทกับปัญญ์ตอนไปกินพิซซ่าวันเกิดของน้องปราง (ในตอนเด็กๆ ลูกจะได้กินพิซซ่าปีละ 3 ครั้งในวันเกิดลูกแต่ละคน)
วันนั้น ปัญญ์ทะเลาะกับโอมกลางร้าน ตีกันจนโอมตกโต๊ะ แม่ให้ปัญญ์ไปล้างมือ ล้างปากเพื่อกลับมาหอมและกอดน้องเหมือนทุกครั้ง แต่เรื่องราวกลับบานปลายใหญ่โตมาก
รูปแบบการเรียนรู้ของลูกคนที่สองผ่านอารมณ์และความรู้สึกชัดมาก น้องปัญญ์โกรธแม่จนเดินออกไปนอกร้านไปและแม่ก็ใจเด็ดพอที่จะไม่ยอมไปตามกลับ
การจัดการความขัดแย้งดูลุกลาม แม่นั่งเงียบเพราะพ่อกำลังโกรธแม่ว่าทำไมยังนั่งนิ่งเฉย ป้อนอาหารโอมเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น พ่อวิ่งไปตามลูกกลับมาและบอกว่าวันนี้เราไม่กินแล้ว ให้ทางร้านห่อทุกอย่างกลับบ้าน
ที่จริงใจแม่เต้นไม่เป็นส่ำ แต่ก็คอยแอบมองว่าลูกเดินป้วนเปี้ยนอยู่แถวนั้น ไม่ได้ไปไหนไกล ถ้าลูกไปไกลจริงแม่ไม่นั่งเงียบรออยู่อย่างนี้ เพราะแม่เชื่อลึก ๆ ว่าทุกอย่างจะจบลงด้วยดีเหมือนทุกครั้ง แม่แบ่งอาหารที่ปัญญ์ชอบไว้ บอกพนักงานว่าไม่ต้องห่อกลับบ้านเพราะเดี๋ยวลูกจะกลับมากิน
พ่อพาปัญญ์เดินกลับมาที่โต๊ะหลังอิดออดอยู่นาน เมื่อน้องปัญญ์เดินกลับมาที่โต๊ะ แม่พูดคำเดียวว่า "ขอโทษแม่ค่ะ" น้องปัญญ์ก้มลงกราบเท้าแม่กลางร้าน แม่ต้องรีบหดเท้าและให้ปัญญ์กราบตักแม่แทน
พ่อโกรธแม่มากกว่าเดิมที่แม่ให้ลูกทำอะไรเกินเลย ทำไมต้องให้ลูกกราบขอโทษแม่ต่อหน้าสาธารณชน พ่อคงไม่รู้ว่าพวกเราปฏิบัติตัวกันอย่างนี้เสมอถ้ามีการทะเลาะกันทุกครั้ง
ครูที่แม่เรียนเรื่องการบริหารความขัดแย้งในแนวมนุษยปรัชญาสอนแม่ว่า เราต้องจบการทะเลาะอย่าง healthy ทุกฝ่ายก้าวข้ามผ่านผลประโยชน์ส่วนตนและรู้สึกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันอีกครั้งหลังความขัดแย้งจบลง
การบริหารความขัดแย้งเป็นหนึ่งในกระบวนการสร้างความสมานฉันท์ในองค์กร แต่แม่นำความรู้มาประยุกต์ใช้ในบ้าน เพราะรากของความขัดแย้งส่วนใหญ่เกิดจากทุกคนเงียบทำเสมือนหนึ่งไม่มีอะไรเกิดขึ้น หรือใช้อารมณ์เข้าห้ำหั่นจนเรื่องราวเลยเถิดไม่เห็นต้นตอของปัญหา
เรามุ่งเน้นหาคนผิดมากกว่าจะเรียนรู้ผ่านความผิดพลาด ดังนั้น เรื่องราวต่าง ๆ จึงถูกซุกไว้ใต้พรมเพราะไม่อยากผิดใจกัน ครูเล่าให้ฟังว่าบางองค์กรครูต้องไปเดินดูสภาพแวดล้อมในการทำงานหลังเลิกงานเพราะเวลาเกิดความขัดแย้งขึ้นเราจะหาพวกและบ่นผิดคนเสมอ
การปล่อยให้ความขัดแย้งในบ้านดำเนินไปโดยลูกเข้าใจผิดคิดว่าแม่รักลูกแต่ละคนไม่เท่ากันก่อให้เกิดปมในใจลูก แม่เองไม่อยากให้บ้านเรามีแต่ความคุกรุ่นเพราะปัญหานี้จะรอวันระเบิดในวันข้างหน้า บ้านเราไม่มีใครเป็นลูกรักขึ้นอยู่กับปัญหานั้นใครเป็นคนก่อ เมื่อก่อแล้วต้องแก้ด้วยตัวเอง
การสอนให้ลูกทุกคนมีความกล้าหาญที่จะเผชิญหน้ากับความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ ช่วยให้ทุกคนก้าวข้ามสู่อนาคตที่ดีกว่า ศิลปะแห่งการเผชิญหน้าช่วยรักษาเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ทุกฝ่ายได้รับความยุติธรรมและได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม
การล้างปาก ล้างมือ หอม กอดในลูกเล็กมีความสำคัญมาก เพราะเป็นการช่วยย้ำเตือนถึงความสำคัญในการรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง ลูกเล็กเกินไปที่จะดูแลมือของตัวเองไม่ให้ทำร้ายผู้อื่น
ดังนั้น การล้างปากหรือล้างมือคือการสร้างประสบการณ์เชิงลึกให้กับผู้ลงมือก่อนโดยไม่มีการต่อว่า ลงโทษหรือตีซ้ำ ในขณะเดียวกันคู่กรณีมีโอกาสเรียนรู้ที่จะให้อภัยเดินหน้าต่อด้วยความรักและความเมตตาต่อกัน
การบริหารความขัดแย้งเป็นกระบวนการที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องรับผิดชอบและหาทางออกร่วมกัน ในวันที่ลูกยังเล็กมาก ลูกไม่สามารถเห็นภาพรวมของความขัดแย้ง พ่อหรือแม่ต้องเป็นคนแสดงภาพนั้นให้ลูกได้เห็นผ่านการตัดสินใจว่าเราเลือกวิถีแบบไหนในบ้านของเรา
ทัศนคติเรื่องความขัดแย้งเป็นเรื่องของมุมมองที่เรามีไม่ครบต่อการกระทำของอีกฝ่าย การเปิดโอกาสให้ลูกได้รับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองจนจบกระบวนการ จะช่วยให้ลูกมีทัศนคติต่อความขัดแย้งอย่างเป็นสากลในวันที่พวกเขาโตขึ้น
แม่เหมือนคนกลางที่คอยไกล่เกลี่ยให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจบความขัดแย้งโดยที่ทุกคนไม่มีอะไรทิ้งค้างในใจ การทำเช่นนี้จะช่วยให้ทุกคนเติบโตขึ้นจากข้างในและมีความมั่นคงทางใจเมื่อเผชิญความขัดแย้งในอนาคต
เหมือนวันนั้นหลังปัญญ์กราบพี่เสร็จ พี่หอมและกอดลูก แม่ป้อนสปาเก็ตตี้แฮมเห็ดที่แบ่งเก็บไว้ น้องปัญญ์นั่งกินอย่างเอร็ดอร่อย บ่นว่า "ปัญญ์ หิวมากเลยแม่" แม่ยิ้มแล้วเราสองคุยกันกระหนุงกระหนิงเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นก่อนหน้า
เรื่องราวสนุก ๆ ของลูกสามคนยังคงดำเนินต่อไป ยังมีเรื่องมากมายให้แม่พัฒนาตัวตนด้านในเพื่อดูแลลูกให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบต่อตัวเองและต่อสังคม ติดตามตอนต่อไปค่ะ
รัก
พี่ณี
21/5/60
บริษัท เดอะ ทรี เวิลด์ส ครีเอเตอร์ จำกัด
LINE ID : the3worldscreator
Facebook : www.facebook.com/the3worldscreator
Tel. 093-2459985, 02-5309150
Fax. 02-5309156
น้องปัญญ์โมโหมากต่อว่าแม่ว่า "ทำไมแม่ไม่ตีโอมเหมือนที่ตีปัญญ์ตอนเด็ก ๆ " แม่ตอบคำเดียวว่า "ตอนนี้แม่พัฒนาแล้ว" ปัญญ์ไม่เคยรู้เลยว่าตั้งแต่แม่ตีปัญญ์คราวนั้น แม่สัญญากับตัวเองว่าแม่จะไม่มีวันทำผิดกับลูกคนไหนอีก นอกจากช่วงเวลาที่พิเศษจริงๆ ที่ต้องพาลูกออกจากข้อจำกัดของตัวเองตอนอายุ 14 ปี
ลูกบ้านเราใช้เวลาทั้งหมดในการเล่นซนกันอย่างเต็มที่ในวัยเด็ก ยิ่งเล่นก็ยิ่งทะเลาะกัน ดังนั้น กระบวนการทำโทษก็มีมากขึ้นตามลำดับ เมื่อก่อนตอนมีลูกสองคน ลูกแค่ล้างมือและล้างปาก ตอนนี้เพิ่มกอดและหอมแก้มถ้าใครทำผิด
ครู Stephan Kuhne ครูผู้สอนดนตรีบำบัดคนแรกที่ขัดเกลาพี่จนศิโรราบในช่วง Moon Node ที่ 2 ตอนอายุ 37 ครูเคยสอนพวกเราว่าเวลาลูกทะเลาะกันให้ดูให้ดีว่าต้นเรื่องเกิดจากใคร
บางทีลูกที่ถูกกลั่นแกล้งอาจส่งสัญญาณเชิญชวนพี่น้องให้มาแกล้งตัวเองก็ได้
ดังนั้น บางครั้งลูกคนที่ร้องไห้บ่อย ๆ อาจเป็นชะตากรรมที่เขาต้องแก้ไขตัวเอง ถือเป็นความซับซ้อนของสถานการณ์ที่พ่อแม่ต้องหาต้นตอให้เจอ
น้องปัญญ์โอดครวญและต่อรองทุกครั้งที่ทะเลาะกับน้องโอมว่ากอดอย่างเดียวได้ไหม ไม่หอมแก้มเพราะน้องตัวเหม็น "เชิญไปล้างมือ ล้างปาก กอดและหอมแก้มกันค่ะ" เป็นวลีเดียวที่แม่ยืนยันทุกครั้งเพื่อให้การทะเลาะจบลงอย่างที่สมบูรณ์
ในกรณีที่ลูกทะเลาะกับแม่ สิ่งที่บ้านเราถือปฏิบัติมาตลอดคือลูกต้องมากราบขอโทษแม่ทุกครั้ง แม่เคยมีกรณีพิพาทกับปัญญ์ตอนไปกินพิซซ่าวันเกิดของน้องปราง (ในตอนเด็กๆ ลูกจะได้กินพิซซ่าปีละ 3 ครั้งในวันเกิดลูกแต่ละคน)
วันนั้น ปัญญ์ทะเลาะกับโอมกลางร้าน ตีกันจนโอมตกโต๊ะ แม่ให้ปัญญ์ไปล้างมือ ล้างปากเพื่อกลับมาหอมและกอดน้องเหมือนทุกครั้ง แต่เรื่องราวกลับบานปลายใหญ่โตมาก
รูปแบบการเรียนรู้ของลูกคนที่สองผ่านอารมณ์และความรู้สึกชัดมาก น้องปัญญ์โกรธแม่จนเดินออกไปนอกร้านไปและแม่ก็ใจเด็ดพอที่จะไม่ยอมไปตามกลับ
การจัดการความขัดแย้งดูลุกลาม แม่นั่งเงียบเพราะพ่อกำลังโกรธแม่ว่าทำไมยังนั่งนิ่งเฉย ป้อนอาหารโอมเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น พ่อวิ่งไปตามลูกกลับมาและบอกว่าวันนี้เราไม่กินแล้ว ให้ทางร้านห่อทุกอย่างกลับบ้าน
ที่จริงใจแม่เต้นไม่เป็นส่ำ แต่ก็คอยแอบมองว่าลูกเดินป้วนเปี้ยนอยู่แถวนั้น ไม่ได้ไปไหนไกล ถ้าลูกไปไกลจริงแม่ไม่นั่งเงียบรออยู่อย่างนี้ เพราะแม่เชื่อลึก ๆ ว่าทุกอย่างจะจบลงด้วยดีเหมือนทุกครั้ง แม่แบ่งอาหารที่ปัญญ์ชอบไว้ บอกพนักงานว่าไม่ต้องห่อกลับบ้านเพราะเดี๋ยวลูกจะกลับมากิน
พ่อพาปัญญ์เดินกลับมาที่โต๊ะหลังอิดออดอยู่นาน เมื่อน้องปัญญ์เดินกลับมาที่โต๊ะ แม่พูดคำเดียวว่า "ขอโทษแม่ค่ะ" น้องปัญญ์ก้มลงกราบเท้าแม่กลางร้าน แม่ต้องรีบหดเท้าและให้ปัญญ์กราบตักแม่แทน
พ่อโกรธแม่มากกว่าเดิมที่แม่ให้ลูกทำอะไรเกินเลย ทำไมต้องให้ลูกกราบขอโทษแม่ต่อหน้าสาธารณชน พ่อคงไม่รู้ว่าพวกเราปฏิบัติตัวกันอย่างนี้เสมอถ้ามีการทะเลาะกันทุกครั้ง
ครูที่แม่เรียนเรื่องการบริหารความขัดแย้งในแนวมนุษยปรัชญาสอนแม่ว่า เราต้องจบการทะเลาะอย่าง healthy ทุกฝ่ายก้าวข้ามผ่านผลประโยชน์ส่วนตนและรู้สึกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันอีกครั้งหลังความขัดแย้งจบลง
การบริหารความขัดแย้งเป็นหนึ่งในกระบวนการสร้างความสมานฉันท์ในองค์กร แต่แม่นำความรู้มาประยุกต์ใช้ในบ้าน เพราะรากของความขัดแย้งส่วนใหญ่เกิดจากทุกคนเงียบทำเสมือนหนึ่งไม่มีอะไรเกิดขึ้น หรือใช้อารมณ์เข้าห้ำหั่นจนเรื่องราวเลยเถิดไม่เห็นต้นตอของปัญหา
เรามุ่งเน้นหาคนผิดมากกว่าจะเรียนรู้ผ่านความผิดพลาด ดังนั้น เรื่องราวต่าง ๆ จึงถูกซุกไว้ใต้พรมเพราะไม่อยากผิดใจกัน ครูเล่าให้ฟังว่าบางองค์กรครูต้องไปเดินดูสภาพแวดล้อมในการทำงานหลังเลิกงานเพราะเวลาเกิดความขัดแย้งขึ้นเราจะหาพวกและบ่นผิดคนเสมอ
การปล่อยให้ความขัดแย้งในบ้านดำเนินไปโดยลูกเข้าใจผิดคิดว่าแม่รักลูกแต่ละคนไม่เท่ากันก่อให้เกิดปมในใจลูก แม่เองไม่อยากให้บ้านเรามีแต่ความคุกรุ่นเพราะปัญหานี้จะรอวันระเบิดในวันข้างหน้า บ้านเราไม่มีใครเป็นลูกรักขึ้นอยู่กับปัญหานั้นใครเป็นคนก่อ เมื่อก่อแล้วต้องแก้ด้วยตัวเอง
การสอนให้ลูกทุกคนมีความกล้าหาญที่จะเผชิญหน้ากับความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ ช่วยให้ทุกคนก้าวข้ามสู่อนาคตที่ดีกว่า ศิลปะแห่งการเผชิญหน้าช่วยรักษาเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ทุกฝ่ายได้รับความยุติธรรมและได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม
การล้างปาก ล้างมือ หอม กอดในลูกเล็กมีความสำคัญมาก เพราะเป็นการช่วยย้ำเตือนถึงความสำคัญในการรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง ลูกเล็กเกินไปที่จะดูแลมือของตัวเองไม่ให้ทำร้ายผู้อื่น
ดังนั้น การล้างปากหรือล้างมือคือการสร้างประสบการณ์เชิงลึกให้กับผู้ลงมือก่อนโดยไม่มีการต่อว่า ลงโทษหรือตีซ้ำ ในขณะเดียวกันคู่กรณีมีโอกาสเรียนรู้ที่จะให้อภัยเดินหน้าต่อด้วยความรักและความเมตตาต่อกัน
การบริหารความขัดแย้งเป็นกระบวนการที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องรับผิดชอบและหาทางออกร่วมกัน ในวันที่ลูกยังเล็กมาก ลูกไม่สามารถเห็นภาพรวมของความขัดแย้ง พ่อหรือแม่ต้องเป็นคนแสดงภาพนั้นให้ลูกได้เห็นผ่านการตัดสินใจว่าเราเลือกวิถีแบบไหนในบ้านของเรา
ทัศนคติเรื่องความขัดแย้งเป็นเรื่องของมุมมองที่เรามีไม่ครบต่อการกระทำของอีกฝ่าย การเปิดโอกาสให้ลูกได้รับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองจนจบกระบวนการ จะช่วยให้ลูกมีทัศนคติต่อความขัดแย้งอย่างเป็นสากลในวันที่พวกเขาโตขึ้น
แม่เหมือนคนกลางที่คอยไกล่เกลี่ยให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจบความขัดแย้งโดยที่ทุกคนไม่มีอะไรทิ้งค้างในใจ การทำเช่นนี้จะช่วยให้ทุกคนเติบโตขึ้นจากข้างในและมีความมั่นคงทางใจเมื่อเผชิญความขัดแย้งในอนาคต
เหมือนวันนั้นหลังปัญญ์กราบพี่เสร็จ พี่หอมและกอดลูก แม่ป้อนสปาเก็ตตี้แฮมเห็ดที่แบ่งเก็บไว้ น้องปัญญ์นั่งกินอย่างเอร็ดอร่อย บ่นว่า "ปัญญ์ หิวมากเลยแม่" แม่ยิ้มแล้วเราสองคุยกันกระหนุงกระหนิงเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นก่อนหน้า
เรื่องราวสนุก ๆ ของลูกสามคนยังคงดำเนินต่อไป ยังมีเรื่องมากมายให้แม่พัฒนาตัวตนด้านในเพื่อดูแลลูกให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบต่อตัวเองและต่อสังคม ติดตามตอนต่อไปค่ะ
รัก
พี่ณี
21/5/60
บริษัท เดอะ ทรี เวิลด์ส ครีเอเตอร์ จำกัด
LINE ID : the3worldscreator
Facebook : www.facebook.com/the3worldscreator
Tel. 093-2459985, 02-5309150
Fax. 02-5309156