Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง (ตอนที่ 19)
ช่วงเปลี่ยนผ่านของชีวิตแม่คือการส่งมอบลูกที่อยู่ในอ้อมอกตลอด 14 ปีให้กับพ่อ การค่อยๆ ผละลูกจากอกเป็นบทบาทใหม่ของผู้หญิงที่เป็นแม่ทุกคนต้องก้าวผ่าน แม้พี่จะเตรียมตัวมาดีเพียงใดก็อดใจหายไม่ได้ ในอีกมุมก็รู้สึกเบาใจว่าคนที่มารับไม้ต่อคือพ่อที่รักลูกไม่ต่างไปจากเรา
ลองนึกภาพเด็กคนหนึ่งที่ค่อยๆ ตื่นขึ้นมาท่ามกลางโลกที่ไม่ได้สวยงามอีกต่อไป ทุกอย่างรอบตัวเป็นเรื่องใหม่ที่ลูกต้องเรียนรู้ ลูกต้องการคนนำทางคนใหม่ที่บอกทางชัดเจน ตัดสินใจเด็ดขาด กล้าเสี่ยงและเท่าทันความเป็นไปของชีวิต แน่นอนที่สุดว่าไม่มีใครทำหน้าที่นี้ได้เหมาะสมเท่ากับพ่อผู้เป็นสะพานเชื่อมโลกแห่งความฝันสู่โลกแห่งความจริง
การให้ลูกคุ้นชินกับวิถีพ่อกลายเป็นหน้าที่ใหม่ของแม่ ยังจำช่วงแรกที่พี่เริ่มถอยตัวเองออกจากชีวิตลูก สิ่งที่ได้ยินคือ
"พ่อไม่เหมือนแม่ พ่อไม่รู้ว่าบ้านเราเก็บอะไรไว้ตรงไหน"
"พ่อพาเราไปกินข้าวนอกบ้านทุกวัน ช่วงแม่ไม่อยู่"
"พ่อซื้ออาหารที่แม่ห้ามให้พวกเรากินด้วยล่ะ"
แม้พี่จะตกลงกับพี่สมบูรณ์ไว้ล่วงหน้าว่าจะส่งมอบลูกให้พ่อดูแลหลังลูกอายุ 14 ไปแล้ว แต่ถึงเวลาจริงพี่ก็ลืมตัว กลายร่างเป็นจงอางหวงไข่ จนมีเรื่องได้ถกเถียงกันเป็นประจำ
สำหรับแม่แล้วเราอยากให้สิ่งที่ดีที่สุด สมบูรณ์แบบที่สุดเพื่ออนาคตของลูก พี่สมบูรณ์กลับมองต่างว่าเราต้องเลี้ยงลูกให้อยู่กับความเป็นจริงเพราะปัจจุบันกำหนดอนาคต
พี่ต้องกัดฟันเตือนสติตัวเองให้ปล่อยวางและไม่โอนเอนกับความรู้สึกที่ลูกมีต่อพ่อ สงบปากคำของตัวเองลง เพื่อเปิดโอกาสให้พ่อลูกเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ประโยคเดียวที่พี่พูดกับลูกทุกครั้งที่ได้ยินลูกบ่นพ่อให้ฟังคือ "เราต้องช่วยพ่อ"
เป็นเรื่องขำเล็กๆ ของแม่แต่แน่นอนว่าพ่อไม่เคยขำด้วย เมื่อได้ยินลูก 3 คนตกลงกันว่าให้โอมไปเรียนกฎหมายเหมือนพ่อโตมาจะได้ขับรถรับส่งแม่และพี่ๆ นี่เป็นมุมที่ลูกเห็นพ่อมาตลอด 14 ปีที่พ่อขับรถส่งลูกไปโรงเรียนตั้งแต่ลูกสามคนเข้าอนุบาล
ตอนโรงเรียนเราย้ายไปอยู่ลำลูกกา พี่ไม่เคยได้ยินพี่สมบูรณ์บ่นสักครั้งว่าไปส่งลูกไม่ได้ นอกจากติดภารกิจจริงๆ ถ้านำระยะทางจากลาดพร้าว-ลำลูกกา-สาธร มารวมกันนับตั้งแต่วันย้ายโรงเรียนจนถึงวันนี้ คงเป็นระยะทางจากเหนือจรดใต้เป็นแน่แท้
ก่อนส่งมอบลูกให้กับพ่อ ช่วงนั้นเป็นช่วงแห่งความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของบ้าน อาม่าผู้เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของพวกเราจากเราไปอย่างไม่มีวันกลับ บ้านตกอยู่ในความเศร้า คืนหลังวันเผาอาม่าเสร็จ พี่บอกพี่สมบูรณ์ว่าเราสองคนคือผู้อาวุโสที่สุดในบ้านนับจากนี้ไป
พี่พรแม่บ้านคนสุดท้ายของเราขอลาออกเพราะไม่กล้าอยู่บ้านคนเดียวหลังอาม่าเสีย พี่พยายามโทร. ตามพรอยู่สองครั้ง จนในที่สุดพี่ตัดสินใจเด็ดขาดที่จะไม่มีแม่บ้าน พี่เลือกกลับมาทำกับข้าวให้ลูกกินเองทุกมื้อ ทำงานบ้านเองโดยกระจายความรับผิดชอบให้ลูกทุกคนช่วยกัน
ช่วงแรกเต็มไปด้วยอุปสรรคเพราะจังหวะในบ้านรวนหมด ลูกกินข้าวเย็นตอนสี่ทุ่ม พี่เปลี่ยนจากทำข้าวเช้าตอนเที่ยงคืนมาทำกับข้าวตอนเช้าแทนก็ไม่ช่วยแก้ปัญหา ลูกต้องไปโรงเรียนสายเพราะบางวันแม่ตื่นมาทำอาหารเช้าไม่ทัน ทุกคนต้องปรับตัวใหม่หมดเพื่อหาจังหวะของบ้าน
พี่ใช้เวลาเกือบปีเต็มทำงานบ้านกับลูกทุกเสาร์-อาทิตย์จนทุกอย่างเข้าที่เข้าทาง พี่สมบูรณ์ขอให้พี่ทบทวนเรื่องการจ้างแม่บ้านอีกครั้งหลังพรโทร. กลับมาของานทำกับพี่สมบูรณ์โดยตรง พี่โทร. กลับไปคุยกับพรผู้ที่ไม่เคยเห็นภาพเด็กๆ ทำงานบ้านว่าเราไม่ได้รับแม่บ้านมาเกือบปีตอนนี้เด็กๆ ดูแลบ้านได้แล้ว
พรพยายามโทร. มาอีกหลายครั้งเพราะอยากกลับมาอยู่กับเราอีก พี่เล่าให้พรฟังว่า เด็กๆ หุงข้าวทำกับข้าวกินเองได้แล้ว รวมทั้งซักผ้า ตากผ้า ขัดห้องน้ำ กวาดบ้านถูบ้าน เก็บของ กวาดสวน อาบน้ำหมา พรไม่ต้องเป็นห่วง
พี่คิดว่านั่นคือข้อดีของการไม่มีแม่บ้านเพราะลูกทุกคนได้ฝึกทักษะชีวิตที่ไม่เคยทำมาก่อนนอกจากให้อาหารสัตว์เลี้ยงในบ้าน คำพูดที่พี่สมบูรณ์ต้องยอมคือปัญญ์พูดว่า "เราไม่อยากนับศูนย์ใหม่พ่อ เราอยู่กันเองได้แล้วจริงๆ"
เราห้าคนเริ่มคุ้นกับชินกับวิถีใหม่ที่เราเลือกเอง มีอิสระมากขึ้น เห็นใจกันและกันมากขึ้น ทุกคนต่างเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อให้จิตวิญญาณของบ้านดำรงอยู่ ความไม่สมบูรณ์แบบช่วยให้บ้านกลับมามี ชีวิตและมีสีสันใหม่ๆ ที่เราสองคนพ่อแม่ไม่เคยได้เห็นนับแต่ลูกเกิด
ติดตามตอนต่อไปนะคะว่าบทบาทและสถานะใหม่ของแม่ส่งผลกับชีวิตลูกวัยรุ่นอย่างไร เมื่อพ่อกลายเป็นฮีโร่ของลูก แม่ควรวางตัวอย่างไรในบ้านหลังนี้
รัก
พี่ณี
6/7/60
บริษัท เดอะ ทรี เวิลด์ส ครีเอเตอร์ จำกัด
LINE ID : the3worldscreator
Facebook : www.facebook.com/the3worldscreator
Tel. 093-2459985, 02-5309150
Fax. 02-5309156
ลองนึกภาพเด็กคนหนึ่งที่ค่อยๆ ตื่นขึ้นมาท่ามกลางโลกที่ไม่ได้สวยงามอีกต่อไป ทุกอย่างรอบตัวเป็นเรื่องใหม่ที่ลูกต้องเรียนรู้ ลูกต้องการคนนำทางคนใหม่ที่บอกทางชัดเจน ตัดสินใจเด็ดขาด กล้าเสี่ยงและเท่าทันความเป็นไปของชีวิต แน่นอนที่สุดว่าไม่มีใครทำหน้าที่นี้ได้เหมาะสมเท่ากับพ่อผู้เป็นสะพานเชื่อมโลกแห่งความฝันสู่โลกแห่งความจริง
การให้ลูกคุ้นชินกับวิถีพ่อกลายเป็นหน้าที่ใหม่ของแม่ ยังจำช่วงแรกที่พี่เริ่มถอยตัวเองออกจากชีวิตลูก สิ่งที่ได้ยินคือ
"พ่อไม่เหมือนแม่ พ่อไม่รู้ว่าบ้านเราเก็บอะไรไว้ตรงไหน"
"พ่อพาเราไปกินข้าวนอกบ้านทุกวัน ช่วงแม่ไม่อยู่"
"พ่อซื้ออาหารที่แม่ห้ามให้พวกเรากินด้วยล่ะ"
แม้พี่จะตกลงกับพี่สมบูรณ์ไว้ล่วงหน้าว่าจะส่งมอบลูกให้พ่อดูแลหลังลูกอายุ 14 ไปแล้ว แต่ถึงเวลาจริงพี่ก็ลืมตัว กลายร่างเป็นจงอางหวงไข่ จนมีเรื่องได้ถกเถียงกันเป็นประจำ
สำหรับแม่แล้วเราอยากให้สิ่งที่ดีที่สุด สมบูรณ์แบบที่สุดเพื่ออนาคตของลูก พี่สมบูรณ์กลับมองต่างว่าเราต้องเลี้ยงลูกให้อยู่กับความเป็นจริงเพราะปัจจุบันกำหนดอนาคต
พี่ต้องกัดฟันเตือนสติตัวเองให้ปล่อยวางและไม่โอนเอนกับความรู้สึกที่ลูกมีต่อพ่อ สงบปากคำของตัวเองลง เพื่อเปิดโอกาสให้พ่อลูกเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ประโยคเดียวที่พี่พูดกับลูกทุกครั้งที่ได้ยินลูกบ่นพ่อให้ฟังคือ "เราต้องช่วยพ่อ"
เป็นเรื่องขำเล็กๆ ของแม่แต่แน่นอนว่าพ่อไม่เคยขำด้วย เมื่อได้ยินลูก 3 คนตกลงกันว่าให้โอมไปเรียนกฎหมายเหมือนพ่อโตมาจะได้ขับรถรับส่งแม่และพี่ๆ นี่เป็นมุมที่ลูกเห็นพ่อมาตลอด 14 ปีที่พ่อขับรถส่งลูกไปโรงเรียนตั้งแต่ลูกสามคนเข้าอนุบาล
ตอนโรงเรียนเราย้ายไปอยู่ลำลูกกา พี่ไม่เคยได้ยินพี่สมบูรณ์บ่นสักครั้งว่าไปส่งลูกไม่ได้ นอกจากติดภารกิจจริงๆ ถ้านำระยะทางจากลาดพร้าว-ลำลูกกา-สาธร มารวมกันนับตั้งแต่วันย้ายโรงเรียนจนถึงวันนี้ คงเป็นระยะทางจากเหนือจรดใต้เป็นแน่แท้
ก่อนส่งมอบลูกให้กับพ่อ ช่วงนั้นเป็นช่วงแห่งความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของบ้าน อาม่าผู้เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของพวกเราจากเราไปอย่างไม่มีวันกลับ บ้านตกอยู่ในความเศร้า คืนหลังวันเผาอาม่าเสร็จ พี่บอกพี่สมบูรณ์ว่าเราสองคนคือผู้อาวุโสที่สุดในบ้านนับจากนี้ไป
พี่พรแม่บ้านคนสุดท้ายของเราขอลาออกเพราะไม่กล้าอยู่บ้านคนเดียวหลังอาม่าเสีย พี่พยายามโทร. ตามพรอยู่สองครั้ง จนในที่สุดพี่ตัดสินใจเด็ดขาดที่จะไม่มีแม่บ้าน พี่เลือกกลับมาทำกับข้าวให้ลูกกินเองทุกมื้อ ทำงานบ้านเองโดยกระจายความรับผิดชอบให้ลูกทุกคนช่วยกัน
ช่วงแรกเต็มไปด้วยอุปสรรคเพราะจังหวะในบ้านรวนหมด ลูกกินข้าวเย็นตอนสี่ทุ่ม พี่เปลี่ยนจากทำข้าวเช้าตอนเที่ยงคืนมาทำกับข้าวตอนเช้าแทนก็ไม่ช่วยแก้ปัญหา ลูกต้องไปโรงเรียนสายเพราะบางวันแม่ตื่นมาทำอาหารเช้าไม่ทัน ทุกคนต้องปรับตัวใหม่หมดเพื่อหาจังหวะของบ้าน
พี่ใช้เวลาเกือบปีเต็มทำงานบ้านกับลูกทุกเสาร์-อาทิตย์จนทุกอย่างเข้าที่เข้าทาง พี่สมบูรณ์ขอให้พี่ทบทวนเรื่องการจ้างแม่บ้านอีกครั้งหลังพรโทร. กลับมาของานทำกับพี่สมบูรณ์โดยตรง พี่โทร. กลับไปคุยกับพรผู้ที่ไม่เคยเห็นภาพเด็กๆ ทำงานบ้านว่าเราไม่ได้รับแม่บ้านมาเกือบปีตอนนี้เด็กๆ ดูแลบ้านได้แล้ว
พรพยายามโทร. มาอีกหลายครั้งเพราะอยากกลับมาอยู่กับเราอีก พี่เล่าให้พรฟังว่า เด็กๆ หุงข้าวทำกับข้าวกินเองได้แล้ว รวมทั้งซักผ้า ตากผ้า ขัดห้องน้ำ กวาดบ้านถูบ้าน เก็บของ กวาดสวน อาบน้ำหมา พรไม่ต้องเป็นห่วง
พี่คิดว่านั่นคือข้อดีของการไม่มีแม่บ้านเพราะลูกทุกคนได้ฝึกทักษะชีวิตที่ไม่เคยทำมาก่อนนอกจากให้อาหารสัตว์เลี้ยงในบ้าน คำพูดที่พี่สมบูรณ์ต้องยอมคือปัญญ์พูดว่า "เราไม่อยากนับศูนย์ใหม่พ่อ เราอยู่กันเองได้แล้วจริงๆ"
เราห้าคนเริ่มคุ้นกับชินกับวิถีใหม่ที่เราเลือกเอง มีอิสระมากขึ้น เห็นใจกันและกันมากขึ้น ทุกคนต่างเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อให้จิตวิญญาณของบ้านดำรงอยู่ ความไม่สมบูรณ์แบบช่วยให้บ้านกลับมามี ชีวิตและมีสีสันใหม่ๆ ที่เราสองคนพ่อแม่ไม่เคยได้เห็นนับแต่ลูกเกิด
ติดตามตอนต่อไปนะคะว่าบทบาทและสถานะใหม่ของแม่ส่งผลกับชีวิตลูกวัยรุ่นอย่างไร เมื่อพ่อกลายเป็นฮีโร่ของลูก แม่ควรวางตัวอย่างไรในบ้านหลังนี้
รัก
พี่ณี
6/7/60
บริษัท เดอะ ทรี เวิลด์ส ครีเอเตอร์ จำกัด
LINE ID : the3worldscreator
Facebook : www.facebook.com/the3worldscreator
Tel. 093-2459985, 02-5309150
Fax. 02-5309156