บทความ Biography
[ข่าวประชาสัมพันธ์ Biography]
Biography ... วิชาหลักของชีวิต
หลังปีที่ 49 พ้นผ่าน การออกเดินทางในอีกช่วงสำคัญของช่วงวัย 50 ถึง 56 ปี
เพื่อเก็บเกี่ยวความเข้าใจข้างในตัวตนให้มากขึ้น ก่อนจะนำไป Review เมื่อวัย 57 ของชีวิต จากเสียงบางๆ ที่ดังอยู่ข้างหลัง มาตอกย้ำ อย่างสม่ำเสมอ ด้วยแรงผลักดันที่หนักหน่วง ให้ความมั่นใจว่า “Who I am” จะปรากฏชัด (อ่านเพิ่มเติม) |
Biography สัมภาษณ์พิเศษ
|
Biography สัมภาษณ์พิเศษ
|
Biography สัมภาษณ์พิเศษ
|
Biography สัมภาษณ์พิเศษ
|
Biography สัมภาษณ์พิเศษ
|
Biography สัมภาษณ์พิเศษ
|
Biography สัมภาษณ์พิเศษ
|
Biography ช่วงสัมภาษณ์พิเศษ
เรื่องที่เก็บเงียบมานานว่าทำไมพี่สนใจเขียนเรื่องลูกวัยรุ่นกำลังคลี่บาน จากเรื่องเล่าเล็กๆ แต่ยิ่งใหญ่ของคุณคีอานู รีฟส์ ดาราหนุ่มชื่อดังที่เราหลายคนรู้จักเป็นอย่างดี วันนี้เรื่องเล่านี้กำลังผลิดอกออกผล
เรื่องเล็กๆ นี้เริ่มจากวันที่เขาได้พบเด็กสาววัยรุ่นที่หนีออกจากบ้านเพราะตั้งท้องและกลัวที่บ้านจะรู้ เธอต้องใช้ชีวิตที่ตกระกำลำบากจนคลอดลูกและมานั่งขอทานอยู่ข้างทาง สุดท้ายเธอได้กลับไปอยู่ในอ้อมกอดของครอบครัวที่ออกตามหาเธอตลอด 1 ปีที่เธอหนีออกจากบ้าน ด้วยความช่วยเหลือของดาราหนุ่มน้ำใจงามผู้นี้ (อ่านเพิ่มเติม) |
Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง ตอนที่ 31
ความผิดปกติข้อที่ 3 น่าจะมาจากโลกภายในลูกขยายตัวมากขึ้น ตั้งแต่ปัญญ์ทำโปรเจ็ค ม.6 เรื่องการสื่อสารเพื่อสันติของวัยรุ่นภายในครอบครัว ทำให้แม่รู้ว่าเรื่องการสื่อสารเป็นเรื่องที่ต้องฝึก ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แม่ต้องหัดสื่อสารอารมณ์ของตัวเองให้ลูกเข้าใจ
หลายครั้งที่แม่สติหลุด ลูกจะถามว่าแม่โกรธอะไร แม่เลยต้องถามตัวเองบ่อยๆ ว่าโกรธเรื่องอะไร จะได้สื่อสารสิ่งที่แม่รู้สึกออกไปอย่างอิสระ เสียใจก็บอกเสียใจ โกรธก็บอกว่าโกรธ (อ่านเพิ่มเติม) |
Biography กับลำดับที่ของพี่น้องตอนที่ 30ถ้าทุกสิ่งมีเวลาของตัวเอง เคยนึกแปลกใจไหมคะว่าทำไมเรื่องบางเรื่องต้องใช้เวลาเดินทางยาวนานเพื่อมาถึงจุดหมาย เมื่อถึงที่หมายแล้วประตูบานใหม่ก็เปิดขึ้นและมีเสียงเตือนว่าถึงเวลาที่ต้องบอกลาใครสักคนเพื่อเดินทางต่อไป
4 ปีผ่านไป Biography กับลำดับที่ของพี่น้องที่เริ่มต้นจากเรื่องเล่าของครอบครัวเราผ่านลำดับการเกิดของลูก จากข้อมูลในกระดาษหน้า A4 ที่ครู Karl-Heinz สอนพวกเราใน Module ชื่อ Life Encounter (อ่านเพิ่มเติม) |
Biography กับลำดับที่ของพี่น้องตอนที่ 29
ช่วงเปลี่ยนผ่านสำคัญในชีวิตแม่คือการที่ลูกทุกคนในบ้านเป็นวัยรุ่นครบทั้ง 3 คน ลองคิดถึงภาพแม่ลูก 3 ที่เคยมีลูกล้อมหน้าล้อมหลัง แม้จะเหนื่อยและยุ่งสุดฤทธิ์แต่ลูกก็ยังอยู่ในสายตา พูดอะไรยังเชื่อฟัง แต่พอลูกโตหมดแม่กลับพบสถานะใหม่ว่า เรากลายเป็นปฏิมากรรมชิ้นใหม่ในบ้านที่ถูกเก็บขึ้นหิ้งไว้
แน่นอนแม่อย่างพี่ย่อมไม่ยอมนิ่งเฉย ต้องหาทาง update สถานะของตัวเองให้นำสมัยคุยกับลูกได้เสมอ แต่ดูเหมือนความทันสมัยของเราไม่ทันวัยรุ่นยุคใหม่ ความคิดแม่ดูเชย ไม่ทันลูกๆ ที่เดี๋ยวนี้สามารถนำข้อมูลที่เรียนมาโต้แย้งแม่ได้แบบคำต่อคำ ถ้าเป็นคำโบราณก็จะเรียกว่า “เถียงคำไม่ตกฟาก” (อ่านเพิ่มเติม) |
Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง (ตอนที่ 28)
ความรู้สึกวัน present โปรเจ็คโอมกับโปรเจ็คปัญญ์ต่างกันราวฟ้ากับดิน เมื่อ present จบโอมปลาบปลื้ม ยิ้มไม่หุบ พูดถึงสิ่งที่ตัวเองผ่านโปรเจ็คนี้มาได้อย่างภาคภูมิใจ โอมดูกลายเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมาทันควันในสายตาแม่ เหมือนเด็กหนุ่มที่ไปล่าสิงโตด้วยหอกของตัวเองในแอฟริกา ความโล่งใจและความภาคภูมิใจของโอมทำให้แม่กลับมาสะท้อนย้อนมองตัวเองว่าเราได้ทำหรือไม่ได้ทำอะไรในโปรเจ็คนี้
สิ่งที่พี่ทำเหมือนเดิมคือช่วยลูกค้นข้อมูลในช่วงแรก และปล่อยที่เหลือทั้งหมดให้พี่สมบูรณ์ดูแล พ่อลูกกระเตงกันไปซื้อของ พ่อขับรถไป-กลับรับลูกไปหาครูที่ลำลูกกาคลองสองทุกเสาร์ อาทิตย์ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา พ่อเป็นคนเคี่ยวกรำเรื่องการจัดการเวลาและความคืบหน้าของงาน พี่เข้าไปดูอยู่แบบห่างมาก ๆ แค่ประสานงานกับครูแต้มช่วงที่โอมต้องกลับมาเย็บชุดจนครูแต้มเสียชีวิตเท่านั้น (อ่านเพิ่มเติม) |
Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง (ตอนที่ 27)
ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ สิ่งที่พี่อยากแก้ไขมากที่สุดคือกลับไปนั่งดูปัญญ์ present งานโปรเจ็คการจัดดอกไม้แบบ Ikebana อีกครั้ง
พี่ไม่เคยรู้มาก่อนว่าการ present โปรเจ็คที่ลูก ม. 2 ทุกคนทำมีความหมายต่อชีวิตของลูกมาก ความผิดพลาดอย่างมหันต์ของพี่คือยกมือตอบปัญหาแทนปัญญ์ตอน present โปรเจ็ค Ikabana ช่วงสุดท้ายที่เปิดโอกาสให้คนดูถามตอนนั้นพี่คิดอย่างเดียวว่าแม่หวังดี เห็นลูกตอบปัญหาที่คนถามไม่ได้ แม่เลยตอบเสียเอง มารู้ภายหลังว่าปัญญ์โกรธแม่มาก (อ่านเพิ่มเติม) |
Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง (ตอนที่ 26) มาตามต่อเรื่องจิต 5 ลักษณะที่สังคมควรปลูกฝังในคนรุ่นถัดไปกันนะคะ จิตลักษณะที่ 2 คือจิตรู้สังเคราะห์ (Synthesizing Mind) ที่คุณเมอร์เรย์ เกลล์-แมนน์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์กล่าวไว้ว่า ในศตวรรษที่ 21 จิตใจที่มีค่ามากที่สุดคือจิตรู้สังเคราะห์
คุณเกลล์-แมนน์ กล่าวว่าการฉลาดเลือกข้อมูลในวันที่ข้อมูลท่วมท้นทางอินเตอร์เน็ตเป็นทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ใครที่รู้จักสังเคราะห์ข้อมูลได้เก่งจะกลายเป็นบุคลากรแถวหน้า และใครที่สังเคราะห์ข้อมูลให้ผู้อื่นเข้าใจง่ายจะกลายเป็นครู นักการสื่อสารและผู้นำที่ทรงคุณค่า เด็กๆ ในโรงเรียนวอลดอร์ฟถูกเตรียมการเรื่องนี้มาอย่างดีเยี่ยมตั้งแต่เล็กจนโต กระบวนการเรียนรู้ค่อยๆ เกิดขึ้นผ่านนิทานที่หลับไหลในตัวลูกโดยไม่มีการสรุปว่านิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า .... (อ่านเพิ่มเติม) |
Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง (ตอนที่ 25)
ก่อนที่จะแบ่งปันเรื่องความเท่าทันโลกของลูกทั้ง 3 คน พี่อยากให้ภาพการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 รวมถึงบทคัดย่อที่น่าสนใจจากหนังสือทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21
ดร. เฮาเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner, Ph.D.) ศาสตราจารย์ด้านการรู้คิดและการศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สรุปไว้น่าฟังว่าโลกในศตวรรษที่ 21 เป็นโลกที่หลอมรวมในแง่เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสังคม รวมถึงการผลัดเปลี่ยนผสมผสานและการปะทะกันเป็นครั้งคราวของผู้ที่มีพื้นเพและมีความปรารถนาต่างกัน พลังอำนาจของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันอย่างเหลือเชื่อ ข้อมูลไม่ค่อยมีคุณภาพนักแต่มีจำนวนมหาศาลเพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส (อ่านเพิ่มเติม) |
Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง (ตอนที่ 24)
กลับมาอีกครั้งหลังติดภารกิจใหญ่หลายงานในช่วงเดือนที่ผ่านมา ต้องขอโทษเพื่อนๆ ที่รออ่านด้วยนะคะ
หลัง Post เรื่องการเลือกโรงเรียนลูก พี่กลับมาถามตัวเองอีกครั้งว่า "อะไรจะเกิดขึ้นถ้าครอบครัวเราไม่ได้ส่งลูกเรียนโรงเรียนวอลดอร์ฟ" พี่อยากพูดในมุมของพ่อแม่ก่อนพูดถึงมุมลูก ถ้าเปรียบการศึกษาเหมือนการเดินทางไกล เป้าหมายที่เราอยากเห็นคือการที่ลูกมีทักษะชีวิตที่เหมาะสมกับยุคสมัยของตัวเอง (อ่านเพิ่มเติม) |
Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง (ตอนที่ 23)
พี่ตัดสินใจเลือกโรงเรียนให้ลูกตอน Moon Node ครั้งที่ 2 ตอนอายุ 37 มองย้อนทวนกลับไปไม่เคยคิดเลยว่าตัวเองจะเดินทางมาไกลขนาดนี้
ในฐานะคนบ้างานทั้งคู่ พี่สมบูรณ์กับพี่ยอมลางาน 3 วันเพื่อหาโรงเรียนให้ลูกเรียน พี่ใช้ปัจจัยการเลือกโรงเรียน 2 แบบคือจะเลือกโรงเรียนใกล้บ้านหรือใกล้ที่ทำงาน ตัวเลือกโรงเรียนใกล้บ้านมี 4 แห่ง ใกล้ที่ทำงานแถวสาธรมีโรงเรียนคอนแวนต์เพียงแห่งเดียวเพราะตอนนั้นมีลูกสาว 2 คนคือปรางกับปัญญ์ (อ่านเพิ่มเติม) |
Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง (ตอนที่ 22)
ต้องยอมรับค่ะว่าเป็นช่วงที่ตื่นเต้นที่สุดในชีวิตของคนเป็นแม่ ที่ได้เป็นสักขีพยานของช่วงเวลาสำคัญในชีวิตลูก ช่วง Moon node เป็นช่วงเวลาสำคัญที่ดาวอาทิตย์ ดาวจันทร์ และโลกเรียงตัวในระนาบเดียวกันอีกครั้งหลังลูกเกิดบนโลกได้ 18 ปี 7 เดือน 11 วัน หรือ 19 ปีโดยประมาณ
ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาพิเศษที่ลูกจะได้กลับไปค้นพบสัญญาณบางอย่างว่า "ฉันคือใคร" "ภารกิจบนโลกใบนี้คืออะไร" สำหรับคนเป็นแม่ การให้กำเนิดทางกายภาพถือเป็นภารกิจที่สำคัญยิ่ง แต่การช่วยให้ลูกได้ตระหนักถึงภารกิจทางจิตวิญญาณของตัวเอง ถือเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่ของแม่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน (อ่านเพิ่มเติม) |
Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง (ตอนที่ 21)
แม้พี่ให้ความสำคัญกับการยืนยันตัวตนของลูกซึ่งคือคุณลักษณะของเพศชาย (masculine) แต่สิ่งที่พี่ไม่เคยยอมและไม่มีวันยอมคือคือคุณสมบัติของการทีส่วนร่วมซึ่งเป็นคุณลักษณะของเพศหญิง (feminine)
โดยธรรมชาติเด็กวัยรุ่นเริ่มแยกตัว วิพากษ์วิจารณ์สังคมและความเป็นไปของโลกรอบตัว ถ้าเราปล่อยให้เขาเติบโตแบบต่อต้านสังคมและมองโลกแยกส่วน ลูกจะเห็นโลกเพียงมุมเดียวและขาดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นยามเติบโตขึ้น (อ่านเพิ่มเติม) |
Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง (ตอนที่ 20)
ช่วงอายุ 14-21 ปีของลูกถือเป็นช่วงพิสูจน์รักแท้ของคุณพ่อคุณแม่กันอีกหน นอกจากต้องแตะมือเพื่อส่งไม้ในการดูแลลูก ยังต้องปรับใจเพื่อให้เข้ากับสภาวะอารมณ์และภาษาของวัยรุ่น และปรับ "ชั้นเชิง" ในการครองเรือนกันทั้งคู่
ช่วงนี้ถือเป็นช่วงเวลาพิเศษที่ลูกลุกขึ้นมาท้าทายทุกความเชื่อที่พ่อแม่บอกว่าดี เวลานี้เป็นช่วงทองที่พ่อแม่ผู้มีภารกิจยุ่งเหยิงทั้งคู่จะได้กลับมานั่งคุยกัน ปรับความเข้าใจให้ตรงกันว่าใครจะรับบทบาทไหน เราจะ update ความคืบหน้าของลูกกันอย่างไร อะไรคือขอบเขตในบ้านที่เรายอมและไม่ยอม (อ่านเพิ่มเติม) |
Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง (ตอนที่ 19)
ช่วงเปลี่ยนผ่านของชีวิตแม่คือการส่งมอบลูกที่อยู่ในอ้อมอกตลอด 14 ปีให้กับพ่อ การค่อยๆ ผละลูกจากอกเป็นบทบาทใหม่ของผู้หญิงที่เป็นแม่ทุกคนต้องก้าวผ่าน แม้พี่จะเตรียมตัวมาดีเพียงใดก็อดใจหายไม่ได้ ในอีกมุมก็รู้สึกเบาใจว่าคนที่มารับไม้ต่อคือพ่อที่รักลูกไม่ต่างไปจากเรา
ลองนึกภาพเด็กคนหนึ่งที่ค่อยๆ ตื่นขึ้นมาท่ามกลางโลกที่ไม่ได้สวยงามอีกต่อไป ทุกอย่างรอบตัวเป็นเรื่องใหม่ที่ลูกต้องเรียนรู้ (อ่านเพิ่มเติม) |
Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง (ตอนที่ 18)
ช่วง 7-14 ปีคือช่วงเวลาสำคัญในการบ่มเพาะคุณค่าให้เกิดขึ้นในตัวลูก ถือเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญจากวัยเด็กสู่วัยรุ่นตอนต้น
เหตุการณ์สำคัญในช่วงนี้คือความรู้สึกแปลกแยกจากโลก ลูกไม่ได้เป็นหนึ่งเดียวกับโลกรอบตัวอีกต่อไป ความรู้สึกถึงการมีตัวตนที่แตกต่างจากพี่น้องหรือพ่อแม่ในช่วงวัย 9 ขวบ แนวการศึกษาวอลล์ดอร์ฟเรียกช่วงเวลานี้ว่า Rubicon (อ่านเพิ่มเติม) |
Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง (ตอนที่ 17)
ชีวิตก้าวเข้าสู่ดินแดนแห่งใหม่ที่ไม่มีแผนที่นำทางมีเพียงหมุดปักบนแผนที่ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ ทุก 7 ปี การเปลี่ยนแปลงของลูกแต่ละคนช้าเร็วไม่เท่ากัน แม่ต้องหารูปแบบเฉพาะที่เหมาะกับลูกแต่ละคนและเหมาะกับบ้านของตัวเอง
ยิ่งเรียนยิ่งค้นพบว่าการศึกษาวอลดอร์ฟคือการศึกษาเพื่ออนาคต สิ่งที่แม่ทำและไม่ทำในวันนี้คือการกำหนดชะตาชีวิตของลูกและชะตากรรมของโลกในอนาคต แม่คือผู้สร้างโลกในตัวลูก (อ่านเพิ่มเติม) |
Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง (ตอนที่ 16)
เสียงดัง "ปัง" ลอดหน้าต่างห้องนอนช่วงเที่ยงคืนทำให้พี่ต้องชะโงกหน้าออกไปดู ด้านนอกมืดเกินไปที่จะมองเห็นต้นเสียง ยังนึกแปลกใจว่าใครมาจุดประทัดเล่นกลางดึก
เช้ามาพี่เก็บความสงสัยไว้ไม่ได้ ถามนวลว่าได้ยินเสียงอะไรหรือเปล่าเมื่อคืน พี่นวลบอกได้ยินเหมือนกันแต่ไม่ได้เดินออกมาดู เมื่อคืนหมาทุกตัวเห่ากันขรมคงตกใจเสียงแต่เช้านี้ทุกอย่างเรียบร้อยดี พวกมันนอนกันอย่างสงบเสงี่ยม (อ่านเพิ่มเติม) |
Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง (ตอนที่ 15)
ชีวิตในบ้านกลับเข้าสู่จังหวะเดิมหลังซ่อมห้องครัวเสร็จเรียบร้อย ลูกหมาทั้ง 11 ตัวได้รับการตั้งชื่อเป็นเครื่องประดับเช่นเจ้าเพชร เจ้าไข่มุก ยกเว้นเจ้าไทเกอร์ตัวเดียวที่มีชื่อและหน้าตาแตกต่างจากตัวอื่น
ด้วยความน่ารักของเจ้าตัวน้อย เด็กๆ แวะเวียนไปเยี่ยมกันทุกวันหลังเลิกเรียนและจะเล่นนานเป็นพิเศษในวันเสาร์ อาทิตย์ โดยมีพี่นวลเป็นผู้นำทัพ แม่ต้องตะโกนข้ามกำแพงให้กลับเข้าบ้านหลังลูกหายกันไปนาน (อ่านเพิ่มเติม) |
Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง (ตอนที่ 14)
เรากลับมาถึงบ้านตอนรถดับเพลิงกลับไปหมดแล้ว พี่รีบวิ่งเข้าไปดูในครัวที่เต็มไปด้วยเขม่าควัน ไฟลุกลามกินพื้นที่ในห้องครัวเกือบ 90% เห็นแต่สายไฟระโยงระยางห้อยต่องแต่ง ฝ้าเพดานโดนไฟไหม้เกือบหมด กลิ่นไหม้คลุ้งไปทั่ว
เครื่องดูดควันไหม้เกรียมหมดสภาพ ไฟลามไปทั่วห้องครัวเพราะน้ำมันในกระทะลุกพรึบและลามอย่างรวดเร็วขึ้นตามเครื่องดูดควัน ที่กลายสภาพเป็นเครื่องจ่ายเพลิงชั้นเยี่ยมด้วยคราบน้ำมันที่เป็นเชื้อไฟชั้นดี (อ่านเพิ่มเติม) |
Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง (ตอนที่ 13)
ปกติบ้านเรามีโอกาสได้ต้อนรับสมาชิกใหม่อยู่เนือง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงูเขียวหางไหม้ งูหางกระดิ่ง สมาชิกที่พลัดเปลี่ยนเวียนกันมาเยี่ยมบ้านเราเป็นสมาชิกที่เราตัดสินใจเชิญออกจากบ้านทุกครั้ง ยกเว้นสมาชิกใหม่สี่ชีวิตที่เปลี่ยนชะตากรรมของพวกเราทุกคนในบ้านตลอดไป
เช้าวันอาทิตย์เมื่อ 11 ปีก่อนมีบุคคลใจดีนำลูกสุนัข 4 ตัวมาทิ้งไว้หน้าบ้านของเรา เพื่อนบ้านเห็นว่าช่วง 2-3 วันแรกแม่หมายังนอนให้นมลูกอยู่ แต่หลังจากนั้นก็มีรถมารับแม่หมากลับไป (อ่านเพิ่มเติม) |
Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง (ตอนที่ 12)
ตอนพาลูก ๆ ไปเที่ยวเชียงใหม่ช่วงปิดเทอม เกิดกรณีพิพาทที่ไม่รู้สาเหตุ พี่กำลังเลือกซื้อของอยู่ได้ยินแต่เสียงน้องปัญญ์ร้องไห้ดังมาก พี่วิ่งไปดูเห็นผมน้องปัญญ์หนึ่งกระจุกในมือน้องโอม
น้องปัญญ์โมโหมากต่อว่าแม่ว่า "ทำไมแม่ไม่ตีโอมเหมือนที่ตีปัญญ์ตอนเด็ก ๆ " แม่ตอบคำเดียวว่า "ตอนนี้แม่พัฒนาแล้ว" ปัญญ์ไม่เคยรู้เลยว่าตั้งแต่แม่ตีปัญญ์คราวนั้น แม่สัญญากับตัวเองว่าแม่จะไม่มีวันทำผิดกับลูกคนไหนอีก นอกจากช่วงเวลาที่พิเศษจริงๆ ที่ต้องพาลูกออกจากข้อจำกัดของตัวเองตอนอายุ 14 ปี (อ่านเพิ่มเติม) |
Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง (ตอนที่ 11)
เลข 3 เป็นเลขแห่งความสมดุลของสามด้านในชีวิต แนวการศึกษาวอลดอร์ฟให้ความสำคัญกับพัฒนาการทั้ง 3 ด้านคือความคิด ความรู้สึกและเจตจำนง การมีลูก 3 คนทำให้มีโอกาสได้เห็นพัฒนาการทั้งสามด้านที่ปรากฏชัดในตัวลูกแต่ละคน
ลูกคนแรกเรียนรู้โลกผ่านเจตจำนงหรือแขนขา ในกรณีน้องปรางความอ่อนประสบการณ์เรื่องผลกระทบของสื่อและการให้ลูกดูทีวีตั้งแต่แบเบาะ (อ่านเพิ่มเติม) |
Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง (ตอนที่ 10)
บททดสอบของชีวิตยามต้องเผชิญกับ Crisis of Value เป็นช่วงเวลาที่หนักหนายิ่งนัก ตอนนั้นพี่เหมือนเดินเข้าไปในถ้ำที่มืดมิดหาทางออกไม่ได้ทั้งเรื่องขีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว
ในช่วงอายุ 42 ถ้าใครสังเกตุชีวิตตัวเองดีๆ จะพบว่าคู่ครอง เพื่อนสนิทหรือผู้ใหญ่ที่เคยสนับสนุนจะแยกตัว จะเกิดความบาดหมางใจจนเข้าหน้ากันไม่ติด สิ่งที่คิดว่าทุกอย่างมั่นคงแน่นอนจะพลิกผัน ช่วงนี้เหมือนชีวิตผลักเราให้มาถึงทางแยกที่ต้องตัดสินใจ (อ่านเพิ่มเติม) |
Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง (ตอนที่ 9)
เส้นทางชีวิตของแม่วัย 40 กับลูกเล็กอีกสามคนไม่ใช่เรื่องสนุกนักในตอนนั้น เพราะเราสองคนพ่อแม่ตัดสินใจที่จะไม่ให้ลูกกินยาปฏิชีวนะและไม่ฉีดวัคซีนให้น้องโอม พี่ตัดสินใจหยุดฉีดวัคซีนที่เหลือทั้งหมดให้น้องปรางและน้องปัญญ์ด้วยเช่นกัน
วันที่พี่ตัดสินใจเด็ดขาดว่าต้องไปเรียนเป็นหมอคือวันที่ลูก 3 คนป่วยพร้อมกัน พี่รู้อย่างเดียวว่าต้องเช็ดตัวด้วยมะนาวผ่าใต้น้ำ ใช้ผ้าสีน้ำเงินเช็ดตัวตอนเป็นไข้ตัวแดง เช็ดตัวด้วยผ้าสีแดงตอนลูกเป็นไข้ตัวซีด ประคบหูลูกด้วยหอมแดงสับเวลาลูกหูอักเสบจากอาการหวัด ประคบขิงสับตอนลูกปวดท้อง แต่พอลูกป่วยพร้อมกันพ่อแม่ไปต่อยาก (อ่านเพิ่มเติม) |
Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง (ตอนที่ 8)
น้องโอมเกิดในช่วงชีวิตที่แม่กำลังย่างเข้าช่วงเวลาที่สำคัญมากสองช่วงคือ Midlife Crisis หรือวิกฤติวัยกลางคนตอนอายุ 40 และช่วง Crisis of Value วิกฤติด้านคุณค่าตอนอายุ 42 ปี
เป็นครั้งแรกที่รู้สึกว่าได้เลี้ยงลูกด้วยตัวเองด้วยวิถีธรรมชาติที่โอบล้อมไปด้วยความรัก การต้อนรับสมาชิกใหม่ในบ้านเต็มไปด้วยความอบอุ่น ชีวิตเหมือนฝัน..บ้านเป็นดั่งสรวงสวรรค์ (อ่านเพิ่มเติม) |
Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง (ตอนที่ 7) น้องโอมคือลูกคนที่สามของบ้านที่เราสองคนพ่อแม่อายุเกือบ 40 แล้วในช่วงนั้น น้องโอมเป็นลูกคนสุดท้ายที่หมอสั่งห้ามมีลูกอีกต่อไปเพราะมดลูกพี่บางมาก
ความตั้งใจอยากมีลูกคนที่สามเกิดจากเสียงเพรียก (Calling)ของแนวการศึกษาวอลดอร์ฟที่กล่าวว่า การมีลูกสามคนคือประสบการณ์ทางจิตวิญญาณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชีวิตคนเป็นแม่ มีคำกล่าวว่าลูกคนที่สามจะเลี้ยงง่ายมาก (อ่านเพิ่มเติม) |
Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง (ตอนที่ 6)
ช่วงฝึกฝนตนเองเป็นเรื่องท้าทายมากเพราะสิ่งแรกที่ต้องทำคือการสร้างความชัดเจนในตัวเอง ต้องรู้ว่าจะทำอะไรและไม่ทำอะไร ลดความเยอะทุกอย่างลงและเลือกเพียงเรื่องเดียวที่ทำซ้ำทุกวัน
พี่ตัดสินใจเลือกวิธีดูแลลูกเวลาทะเลาะกันให้เหมือนที่โรงเรียน ครูให้พี่พูดประโยคเดิมทุกครั้งว่า "เชิญไปล้างปากเลยค่ะถ้าหนูพูดไม่เพราะ เชิญไปล้างมือเลยค่ะถ้าหนูตีกัน" (อ่านเพิ่มเติม) |
Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง (ตอนที่ 5)
"ลูกคนที่สองของบ้านเป็นคนที่รักธรรมชาติ เป็นนักฝัน ฟังอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง เป็นผู้แสวงหาไม่ใช่นักต่อสู้ เป็นนักแต่งโคลงกลอน บางครั้งเป็นดั่งนักบุญ ชอบความอิสระ ชอบเดินทาง พึ่งพาตัวเอง โลกทั้งหมดคือสนามเด็กเล่นของพวกเขา"
ต้องบอกว่าถ้าแม่รู้ตั้งแต่ตอนลูกสองคนยังเล็กแม่คงไม่ต้องตีปัญญ์สาวน้อยตัวเล็กของบ้านจนแม่เจ็บมือ ยังจำวินาทีที่ตีลูกเสร็จแล้วพี่เลี้ยงคนใหม่เดินมาบอกแม่ด้วยความโกรธว่า "คุณตีลูกผิดคนค่ะ" (อ่านเพิ่มเติม) |
Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง (ตอนที่ 4)
ถ้าเพื่อน ๆ ได้อ่านเรื่องราวของสาวน้อยมหัศจรรย์ "น้องปัญญ์" ลูกสาวคนที่สองของบ้านคงเห็นการต่อสู้เพื่อมีชีวิตอยู่ของสาวน้อยตัวเล็กคนนี้ตั้งแต่อยู่ในท้อง
ก่อนหน้าที่พี่จะมีน้องปัญญ์ พี่แท้งลูกคนที่สองได้ไม่ถึงปี การตั้งครรภ์ในช่วงที่มดลูกไม่แข็งแรงดีทำให้พี่มีปัญหาตลอดตั้งแต่ตั้งท้องสี่เดือนจนคลอด พี่แยกตัวไม่ค่อยได้เล่นกับน้องปรางเหมือนเดิมเพราะกังวลเรื่องการคลอดก่อนกำหนด (อ่านเพิ่มเติม) |
Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง (ตอนที่่ 3)
ตอนที่พี่เลี้ยงอาวุโสลาออกเป็นช่วงเวลาเดียวกันที่พี่ส่งน้องปรางเข้าโรงเรียนวอลดอร์ฟ ตอนนั้นพี่อายุ 37 ปีพอดี ในภาษา Biography ครูเรียกช่วงนี้ว่าช่วง Moon Node ครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ชีวิตส่งโจทย์ยากที่สุดมาให้เพื่อให้เราตอบคำถามตัวเองว่า "ฉันคือใคร" และ "ภารกิจบนโลกของฉันคืออะไร"
(อ่านเพิ่มเติม) |
Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง (ตอนที่ 2)
ชีวิตหลังมีลูกเป็นของตัวเองในช่วงแรกโรยโดยกลีบกุหลาบ ทุกอย่างดูราบรื่นสวยงาม ใครเห็นใครชมว่าน้องปรางแสนน่ารัก พี่กับพี่สมบูรณ์ใช้สัญชาติญาณในการเลี้ยงลูก แม่มาช่วยดูพี่ตอนปรางคลอดเท่านั้น พี่บอกแม่ว่าเดี๋ยวแม่เหนื่อย เราสองคนขอดูแลลูกเอง ขอให้แม่ช่วยหาพี่เลี้ยงที่แม่คิดว่าดีที่สุดให้เราก็พอ
(อ่านเพิ่มเติม) |
Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง (ตอนที่่ 1)
ความรักอันเป็นนิรันดร์ที่พ่อแม่ส่งผ่านลูกแต่ละคนตามลำดับของการเกิดเป็นเรื่องที่พี่สนใจมาก กลับมาทบทวนสิ่งที่ครู Karl-Heinz Finke สอนเรื่องลำดับการเกิดของพี่น้องแต่ละคนใน Module เรื่อง Life Encounter ที่ผ่านมาทำให้พี่เข้าใจตัวเองและเข้าใจลูกทั้งสามคนมากขึ้น
พี่อายุห่างกับน้องชาย 2 ปี จำได้เพียงลาง ๆ ว่าแม่อุ้มน้องชายกลับบ้านมาหนึ่งคน น้องตัวเล็ก ๆ ที่เราแอบลอกผิวแห้ง ๆ ของน้องเล่น จำกลิ่นมหาหิงคุ์ที่แม่ทาให้น้องได้ นอกนั้นพี่ไม่มีความทรงจำเกี่ยวกับน้องตอนแรกคลอดอีกเลย (อ่านเพิ่มเติม) |
จุดเริ่มต้นของ Biography กับลำดับที่ของพี่น้อง เพิ่งเห็นว่าตัวเองเข้าสู่วงการนักเขียนในวันที่ 22 เมษายน 2560 ตอน FB ส่งข้อความมาเตือนความทรงจำ ตอนแรกก็ยังเฉยๆ เพราะ FB ส่งมาเตือนทุกวัน แต่แปลกใจที่ทำไมวันนี้ส่งเตือนแบบต่อเนื่อง เพิ่งถึงบางอ้อว่าพี่เขียนทีเดียว สามตอนรวด FB เลยกระหน่ำส่งมาไม่หยุด
เริ่มเห็นเส้นทางการเขียนของตัวเองตั้งแต่แชร์บทความหรือความคิดเห็นที่ถูกใจ...จนมาเขียนความคิดเห็นของตัวเอง เพิ่งคิดได้ว่าตัวเองเป็นคนชอบเขียนบันทึกมาตั้งแต่เด็กๆ ปาป๊าซื้อสมุดไดอารี่ปกกำมะหยี่สีแดงที่มีกุญแจล็อคให้ 1 เล่ม ตั้งแต่ยังเล็ก เสียดายไม่รู้ว่าตอนนี้ไดอารี่เล่มแดงอยู่ที่ไหนแล้ว อยากเปิดดูความลับวัยเด็กของตัวเองว่าบันทึกอะไรไว้บ้าง (อ่านเพิ่มเติม) |
Biography.. ชีวิตลิขิตได้ กลับไปย้อนดูภาพตัวเองตอนเรียนวิชา Biography หลักสูตร 5 ปี่ที่อินเดียในมุมมองของคนที่เรียนจบว่า เราได้อะไรจากวิชานี้
ตอนตัดสินใจเรียนวิชานี้รู้เพียงลางๆ ว่าวิชานี้ช่วยทำให้เราเข้าใจชีวิตตัวเองและชีวิตคนอื่นมากขึ้น แต่ไม่เคยรู้ว่าหลักสูตรมีเนิ้อหาอะไรบ้าง เราไปพร้อมความมุ่งมั่นและความตั้งใจเต็มร้อยว่าต้องได้รับคำตอบกับปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ว่า... (อ่านเพิ่มเติม) |
Biography ...ชีวิตลิขิตได้ (ตอนที่ 1) อะไรจะเกิดขึ้นในวันที่ชีวิตเดินทางมาถึงจุดที่เดินหน้าต่อหรือหันหลังกลับไม่ได้ เป็นช่วงเวลาที่ใครหลายคนหาทางออกไม่เจอและไม่รู้ว่าควรตัดสินใจอย่างไร
วันเสาร์ที่ผ่านมาถือเป็นช่วงเวลาพิเศษที่พวกเราในชุมชนกลับมาทบทวนวิชา Biography กันอีกครั้งหลังจากไม่ได้จัดมา 7 ปี ตั้งแต่เราย้ายโรงเรียนมาอยู่ลำลูกกา เราเริ่มต้นวันด้วยคำถามที่เราแต่ละคนยังหาคำตอบไม่ได้ แม้บางคำถามเป็นคำถามที่ยากมากแต่พวกเราทุกคนเลือกที่จะเผชิญหน้ากับ 13 คำถามนี้ (อ่านเพิ่มเติม) |
Biography ชีวิตลิขิตได้ (ตอนที่ 2) กิจกรรมครั้งนี้พิเศษกว่าครั้งไหนๆ เพราะเราขอให้เพื่อนทุกคนนำหมอนและผ้าห่มมานอนหลังกินข้าวกลางวัน ในวิชา Biography คุณภาพการนอนมีความสำคัญอย่างยิ่งในการรับมือกับปัญหาและการสะท้อนย้อนมองตัวเอง
ก่อนถอดรหัสว่าพันธกิจบนโลกนี้คืออะไรและภารกิจที่เราต้องเรียนรู้คืออะไร เรามาทำความเข้าใจกับสิ่งเดียวที่สำคัญของแต่ละช่วงวัยกันก่อนค่ะ (อ่านเพิ่มเติม) |