TWC Article
วิทยาศาสตร์ได้ยืนยันแล้วว่า คนเราควรหยุดพักเพื่อดมกลิ่นดอกไม้บ้าง
การพาตัวเองมาอยู่กับธรรมชาติเพียงเล็กน้อย จะสามารถช่วยดึงสิ่งที่ดีที่สุดของผู้คนออกมาได้ เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมสำนวนภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ที่มีความหมายถึงความสุขนั้น จะเกี่ยวข้องกับธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น “Happy as a pig in the muck” (มีความสุขเหมือนหมูในโคลน) “Happy as a clam” (มีความสุขเหมือนหอย ซึ่งมาจากสำนวนเต็มๆ ที่ว่า as happy as a clam at high tide ที่อธิบายถึงธรรมชาติของหอยที่ปกติจะหลบศัตรูหรือนักล่าด้วยการฝังตัวอยู่ในดินโคลน และถูกขุดขึ้นมาได้ง่ายตอนน้ำลง แต่เมื่อกระแสน้ำขึ้นสูง หอยจะรู้สึกปลอดภัยมากขึ้นและร่าเริงแบบสุดๆ) “Happy camper” (เป็นชาวค่ายที่มีความสุข)
นักวิจัยของสถาบันUBC ได้กล่าวว่า เป็นความจริงที่การได้ใช้เวลาอยู่ข้างนอกบ้านบ้าง จะส่งผลโดยตรงต่อปริมาณของความสุขของเรา ซึ่ง Holli-Anne Passmore ได้พูดเอาไว้ว่า ถ้าคนเราใช้เวลาในการสังเกตธรรมชาติที่อยู่รอบๆ ตัวบ้าง มันจะช่วยในการเพิ่มปริมาณของความสุขและสุขภาวะที่ดีได้
Passmore คือนักจิตวิทยาปริญญาเอก แห่งสถาบัน UBC วิทยาเขต Okanagan และเมื่อเร็วๆ นี้ เธอได้ตีพิมพ์งานวิจัยที่พิสูจน์การเชื่อมโยงระหว่างช่วงเวลาได้มองธรรมชาติที่แวดล้อมอยู่รอบตัวกับสุขภาวะส่วนบุคคล โดยงานวิจัยชิ้นนี้ เป็นการวิจัยเกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมให้อยู่กับธรรมชาติเป็นระยะเวลาสองสัปดาห์ ซึ่งผู้เข้าร่วมการวิจัยในกลุ่มแรก จะต้องบันทึกถึงธรรมชาติรอบตัวที่พวกเขาได้พบเจอในชีวิตประจำวัน และบันทึกว่าสิ่งเหล่านั้นทำให้พวกเขารู้สึกอย่างไร โดยพวกเขาจะต้องถ่ายภาพธรรมชาติที่พวกเขาสนใจและจดบันทึกย่อเกี่ยวกับความรู้สึกของพวกเขาที่มีต่อมัน ส่วนอีกกลุ่มที่สอง ให้จดบันทึกปฏิกิริยาของพวกเขาที่มีต่อวัตถุสิ่งของที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ถ่ายรูปมันและจดบันทึกความรู้สึกที่มีต่อวัตถุนั้นๆ ไว้ด้วย ส่วนกลุ่มที่สาม ไม่ต้องทำเหมือนสองกลุ่มแรก แต่ให้สังเกตสิ่งที่อยู่รอบตัวเฉยๆ
นักวิจัยของสถาบันUBC ได้กล่าวว่า เป็นความจริงที่การได้ใช้เวลาอยู่ข้างนอกบ้านบ้าง จะส่งผลโดยตรงต่อปริมาณของความสุขของเรา ซึ่ง Holli-Anne Passmore ได้พูดเอาไว้ว่า ถ้าคนเราใช้เวลาในการสังเกตธรรมชาติที่อยู่รอบๆ ตัวบ้าง มันจะช่วยในการเพิ่มปริมาณของความสุขและสุขภาวะที่ดีได้
Passmore คือนักจิตวิทยาปริญญาเอก แห่งสถาบัน UBC วิทยาเขต Okanagan และเมื่อเร็วๆ นี้ เธอได้ตีพิมพ์งานวิจัยที่พิสูจน์การเชื่อมโยงระหว่างช่วงเวลาได้มองธรรมชาติที่แวดล้อมอยู่รอบตัวกับสุขภาวะส่วนบุคคล โดยงานวิจัยชิ้นนี้ เป็นการวิจัยเกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมให้อยู่กับธรรมชาติเป็นระยะเวลาสองสัปดาห์ ซึ่งผู้เข้าร่วมการวิจัยในกลุ่มแรก จะต้องบันทึกถึงธรรมชาติรอบตัวที่พวกเขาได้พบเจอในชีวิตประจำวัน และบันทึกว่าสิ่งเหล่านั้นทำให้พวกเขารู้สึกอย่างไร โดยพวกเขาจะต้องถ่ายภาพธรรมชาติที่พวกเขาสนใจและจดบันทึกย่อเกี่ยวกับความรู้สึกของพวกเขาที่มีต่อมัน ส่วนอีกกลุ่มที่สอง ให้จดบันทึกปฏิกิริยาของพวกเขาที่มีต่อวัตถุสิ่งของที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ถ่ายรูปมันและจดบันทึกความรู้สึกที่มีต่อวัตถุนั้นๆ ไว้ด้วย ส่วนกลุ่มที่สาม ไม่ต้องทำเหมือนสองกลุ่มแรก แต่ให้สังเกตสิ่งที่อยู่รอบตัวเฉยๆ
โดย Passmore ได้อธิบายว่า ตัวอย่างของสิ่งที่อยู่ในธรรมชาตินั้น จะเป็นอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นพวกพืชพันธ์ที่ปลูกในบ้าน ดอกแดนดิไลออนที่เติบโตตรงรอยแยกของทางเท้า หรือจะเป็นเจ้านกน้อย หรือแม้แต่ดวงอาทิตย์ที่ขึ้นมาตรงหน้าต่างก็ได้ และนี่ไม่ได้เป็นเพียงการได้ใช้เวลาทำกิจกรรมข้างนอกบ้านหรือเดินทางไกลเข้าไปในป่าลึก แต่มันเกี่ยวกับการได้มองเห็นต้นไม้ที่อยู่ตรงป้ายรถเมล์ในใจกลางเมืองใหญ่และพลังบวกที่ต้นไม้เหล่านั้นสามารถส่งถึงผู้คนได้ ซึ่งปฏิกิริยาที่ได้จากผู้เข้าร่วมการทดสอบทั้ง 395 คน ไม่ได้มีเพียงแค่ความรู้สึกที่ท้วมท้นเท่านั้น แต่ยังมีรูปถ่ายและคำบรรยายกว่า 2500 ข้อความที่ได้อธิบายถึงความรู้สึกของพวกเขาที่ถูกส่งเข้ามา ทำให้เห็นว่าการสังเกตธรรมชาติเล็กๆ น้อยๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวนั้น สามารถส่งผลให้กับสุขภาวะที่ดีส่วนบุคคล อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะเกิดการแบ่งปันทรัพยากรและคุณค่าต่างๆ ให้แก่ชุมชนที่พวกเขาอยู่อีกด้วย
รายงานทางวิทยาศาสตร์ ได้บอกกับเราว่า โดยทั่วไปแล้ว คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สีเขียว จะมีความสุขและมีชีวิตที่ยืนยาวมากกว่าผู้คนที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่สีเขียว และ Passmore ก็ยังได้ทำการวิจัยต่อไปอีก โดยการศึกษาวิจัยในครั้งนี้นั้นเป็นหนึ่งในในการวิจัยของทีมวิจัยในแผนกจิตวิทยาของ UBC Okanagan ที่รู้จักกันในนาม "ทีมแห่งความสุข" โดยพิสูจน์ข้อสันนิษฐานที่ว่าธรรมชาติสามารถเพิ่มความสุขได้อย่างไร ซึ่งถ้าพูดถึงความแตกต่างที่เกิดขึ้นในกลุ่มผู้เข้าร่วมนั้น สุขภาวะที่ดี ความสุข การยกระดับคุณภาพชีวิต ระดับการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นที่ไม่ใช่แค่ธรรมชาติ ของกลุ่มผู้เข้าร่วมที่ได้สังเกตธรรมชาติรอบตัวนั้น จะมีระดับที่สูงกว่าผู้เข้าร่วมที่อยู่ในกลุ่มที่ต้องสังเกตวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้น ที่มา: https://news.ok.ubc.ca/2017/11/02/science-confirms-you-should-stop-and-smell-the-roses/ บริษัท เดอะ ทรี เวิลด์ส ครีเอเตอร์ จำกัด LINE ID : the3worldscreator Facebook : www.facebook.com/the3worldscreator Tel. 093-2459985, 02-5309150 |