TWC Article
ปรับตัวไปกับ COVID-19
มุมมองด้านคุณลักษณะอันเป็นจุดแข็ง (Character Strengths)
โลกในช่วงเวลานี้ นับเป็นช่วงเวลาแห่งความสับสน เต็มไปด้วยความตึงเครียด และเกิดการตั้งคำถามขึ้นมามากมายเกี่ยวกับเจ้า COVID-19 แต่ในตอนนี้ก็ยังไม่สามารถนิยามหรือหาคำตอบให้ได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องพึงพาคุณลักษณะที่เป็นจุดแข็ง (Character Strengths) ของเราในการนำคุณภาพจากภายในของเราออกมาใช้ในการทำให้ตัวเราเองนั้นปลอดภัย มีการกระทำที่รอบคอบ สามารถป้องกันและรักษาตัวเองในอยู่ในความสมดุล ท่ามกลางสังคมที่แตกตื่นเช่นนี้ได้
คนเรานั้นมีคุณลักษณะที่เป็นจุดแข็งอยู่หลายด้านด้วยกัน การมองเห็นคุณลักษณะที่เป็นจุดแข็งของตัวเราเองเป็นโอกาสที่ทำให้เกิดการกระทำในเชิงบวก โดยมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าคุณลักษณะเป็นจุดแข็งของตัวเราเองนั้นมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพร่างกายของเรา โดยจุดแข็งทั้ง 24 ด้านนั้น ในแต่ละด้าน จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและต่างส่งเสริมศักยภาพด้านสุขภาวะ ดังนั้น เรามาลองใช้จุดแข็งเหล่านี้ในการช่วยคิดตัดสินใจและส่งเสริมสุขภาวะดีอย่างสมดุล ด้วยแนวทางทั้ง 6 แนวทางในการใช้งานคุณลักษณะเป็นจุดแข็งของเรา
1. ระบุกลยุทธ์ในการรับมือกับปัญหาในเชิงบวก
เริ่มตันด้วยสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ ด้วยการหยุดพักมันชั่วคราวและมาตอบคำถามที่ว่า อะไรคือสิ่งที่ดีต่อสุขภาพที่สุดที่เราได้ลงมือทำเพื่อรับมือกับความวิตกกังวลหรือความเครียดที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 หรือความปกติใหม่ (New Normal) นี้ แล้วมาดูคำตอบที่เราตอบคำถามนี้กัน หากพิจารณาในคำตอบเหล่านั้น เราจะเห็นว่ามีคุณลักษณะที่เป็นจุดแข็งแฝงตัวอยู่ในคำตอบด้วย บางจุดแข็งอาจจะไม่ได้ถูกระบุให้ชัดเจนว่าเป็นหนึ่งใน 24 คุณลักษณะที่เป็นจุดแข็ง แต่ความหมายของมันนั้น ก็มีความคล้ายคลึงกัน ตัวอย่างเช่น หากว่าตอนนี้ เราล้างมือบ่อยครั้งขึ้น เราก็จะเห็นจุดแข็งด้านความรอบคอบ การใส่ใจตนเอง และการมีระเบียบวินัยต่อตนเอง หรือถ้าหากว่าตอนนี้เราลุกขึ้นมาออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมใดๆ ก็ตามที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรงขึ้น นั่นก็จะให้เราเห็นจุดแข็งด้านความสำราญในการใช้ชีวิต หรือถ้าหากว่าเราลุกมาทำกิจกรรมใหม่ๆ ในบ้านพร้อมๆ กับคนในครอบครัว นั่นก็จะให้เราได้เห็นจุดแข็งด้านความคิดสร้างสรรค์และความเป็นผู้นำ เป็นต้น
2. การใช้จุดแข็งด้านการพินิจพิเคราะห์และการคิดเชิงระบบ
จุดแข็งด้านการพินิจพิเคราะห์จะถูกนำมาใช้เมื่อเราต้องเผชิญหน้ากับความเป็นจริงและความปกติใหม่ที่เกิดขึ้น โดยไม่ได้ใช้การพินิจพิเคราะห์ในเรื่องที่ได้ยิน อย่างเรื่องราวที่น่ากลัวของ COVID-19 ที่เราต่างได้ยินกันผ่านสื่อเท่านั้น แต่ผู้ที่มีจุดแข็งด้านนี้ จะสามารถมองเห็นรายละเอียดด้านต่างๆ ของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในหลายๆ แง่มุม และพวกเขาจะไม่มองเพียงด้านเดียวหรือฟังเรื่องราวจากคนเพียงคนเดียว หรือความคิดเห็นจากคนอื่นเท่านั้น ซึ่งการฝึกใช้จุดแข็งด้านการพินิจพิเคราะห์และการคิดเชิงระบบนั้น สามารถทำได้ด้วยการตั้งคำถามกับตัวเองดังนี้
คนเรานั้นมีคุณลักษณะที่เป็นจุดแข็งอยู่หลายด้านด้วยกัน การมองเห็นคุณลักษณะที่เป็นจุดแข็งของตัวเราเองเป็นโอกาสที่ทำให้เกิดการกระทำในเชิงบวก โดยมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าคุณลักษณะเป็นจุดแข็งของตัวเราเองนั้นมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพร่างกายของเรา โดยจุดแข็งทั้ง 24 ด้านนั้น ในแต่ละด้าน จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและต่างส่งเสริมศักยภาพด้านสุขภาวะ ดังนั้น เรามาลองใช้จุดแข็งเหล่านี้ในการช่วยคิดตัดสินใจและส่งเสริมสุขภาวะดีอย่างสมดุล ด้วยแนวทางทั้ง 6 แนวทางในการใช้งานคุณลักษณะเป็นจุดแข็งของเรา
1. ระบุกลยุทธ์ในการรับมือกับปัญหาในเชิงบวก
เริ่มตันด้วยสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ ด้วยการหยุดพักมันชั่วคราวและมาตอบคำถามที่ว่า อะไรคือสิ่งที่ดีต่อสุขภาพที่สุดที่เราได้ลงมือทำเพื่อรับมือกับความวิตกกังวลหรือความเครียดที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 หรือความปกติใหม่ (New Normal) นี้ แล้วมาดูคำตอบที่เราตอบคำถามนี้กัน หากพิจารณาในคำตอบเหล่านั้น เราจะเห็นว่ามีคุณลักษณะที่เป็นจุดแข็งแฝงตัวอยู่ในคำตอบด้วย บางจุดแข็งอาจจะไม่ได้ถูกระบุให้ชัดเจนว่าเป็นหนึ่งใน 24 คุณลักษณะที่เป็นจุดแข็ง แต่ความหมายของมันนั้น ก็มีความคล้ายคลึงกัน ตัวอย่างเช่น หากว่าตอนนี้ เราล้างมือบ่อยครั้งขึ้น เราก็จะเห็นจุดแข็งด้านความรอบคอบ การใส่ใจตนเอง และการมีระเบียบวินัยต่อตนเอง หรือถ้าหากว่าตอนนี้เราลุกขึ้นมาออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมใดๆ ก็ตามที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรงขึ้น นั่นก็จะให้เราเห็นจุดแข็งด้านความสำราญในการใช้ชีวิต หรือถ้าหากว่าเราลุกมาทำกิจกรรมใหม่ๆ ในบ้านพร้อมๆ กับคนในครอบครัว นั่นก็จะให้เราได้เห็นจุดแข็งด้านความคิดสร้างสรรค์และความเป็นผู้นำ เป็นต้น
2. การใช้จุดแข็งด้านการพินิจพิเคราะห์และการคิดเชิงระบบ
จุดแข็งด้านการพินิจพิเคราะห์จะถูกนำมาใช้เมื่อเราต้องเผชิญหน้ากับความเป็นจริงและความปกติใหม่ที่เกิดขึ้น โดยไม่ได้ใช้การพินิจพิเคราะห์ในเรื่องที่ได้ยิน อย่างเรื่องราวที่น่ากลัวของ COVID-19 ที่เราต่างได้ยินกันผ่านสื่อเท่านั้น แต่ผู้ที่มีจุดแข็งด้านนี้ จะสามารถมองเห็นรายละเอียดด้านต่างๆ ของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในหลายๆ แง่มุม และพวกเขาจะไม่มองเพียงด้านเดียวหรือฟังเรื่องราวจากคนเพียงคนเดียว หรือความคิดเห็นจากคนอื่นเท่านั้น ซึ่งการฝึกใช้จุดแข็งด้านการพินิจพิเคราะห์และการคิดเชิงระบบนั้น สามารถทำได้ด้วยการตั้งคำถามกับตัวเองดังนี้
- ความจริงคืออะไร แล้วอะไรคือรายละเอียดที่แท้จริงของเรื่องนี้ โดยที่รายละเอียดที่รับรู้มา ไม่ใช่แค่ความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
- สถิติเกี่ยวกับ COVID-19 เปิดเผยล่าสุดคืออะไร
- ประเด็นที่เรารับรู้เพียงด้านเดียวนี้ มันเกินจากความเป็นจริงที่เกิดขึ้นหรือไม่ แล้วด้านอื่นๆของประเด็นนี้เป็นอย่างไรบ้าง
- เรากำลังคล้อยตามเพราะความรู้สึกจากการรับรู้เพียงด้านเดียว หรือเพียงเรื่องเดียวที่เราได้ยินมา หรือข้อมูลเพียงข้อมูลเดียวที่เราได้รับหรือไม่
3. ใช้จุดแข็งด้านการใช้มุมมอง
การใช้มุมมองคือคุณลักษณะที่เป็นจุดแข็งที่ทำให้เรามองเห็นภาพที่อยู่ในหัวของเราได้ใหญ่ขึ้น เพราะในช่วงเวลาแบบนี้มันง่ายมากที่จะจะถูกดูดลงไปติดอยู่ในหลุมของข้อมูลแย่ๆ หรือความหวาดกลัวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่การใช้มุมมองจะช่วงดึงเราให้มองเห็นประเด็นต่างๆ ได้กว้างขึ้นอย่างมีทัศนวิสัย และครอบคลุมสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งนี่ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ต้องกังวลอะไร เพียงแต่ว่าการใช้มุมมอง จะช่วยให้เราได้ถอยหลังออกไปมอง และฉุกคิดได้ว่า อะไรคือความจริงที่สุดในเรื่อง COVID-19 ซึ่งจุดแข็งด้านมุมมองจะมีส่วนในการเปรียบเทียบผู้คนนับล้านในสถานที่ที่กำหนดกับจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดและผู้ป่วยรายใหม่ที่ปรากฏขึ้นในเมืองหรือจังหวัดหรือประเทศของเรา โดยมุมมองที่กว้างขึ้นนี้จะช่วยในการข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูล รวมถึงระดับของสถานการณ์ คำแนะนำ เรื่องราวและมุมมองของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์และบุคลากรด้านสาธารณสุข รวมถึงผู้นำชุมชนด้วย |
ฝึกความแข็งแกร่งให้แก่มุมมองของเรา
เมื่อฉันรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ฉันจะลองมองให้กว้างขึ้นอีกหน่อย ว่ามีอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องหรือกระทบกับตัวฉันและครอบครัวมากที่สุดในเวลานี้
4.ใช้จุดแข็งด้านความรอบคอบ
ด้วยระดับของความระมัดระวังที่ต้องเพิ่มสูงขึ้น ความรอบคอบจึงกลายเป็นเรื่องที่โดยรวมแล้วตอนนี้จะถูกยกระดับให้สำคัญมากขึ้นในสังคม ซึ่งมันทำให้เราสามารถใช้ความรอบคอบไปในการคิดก่อนลงมือทำ ใช้ในการวางแผน ใช้ในการเตรียมตัว และใช้ในการป้องกัน
ฝึกจุดแข็งด้านความรอบคอบ
คิดถึงความปลอดภัยไว้ก่อน ก่อนที่จะเข้าร่วมทำกิจกรรมใดๆ ก็ตามในที่สาธารณะหรือต้องเข้าไปอยู่ท่ามกลางผู้คนกลุ่มใหญ่ ให้วางแผนในจุดที่สำคัญหรือจุดที่เสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อได้ง่ายและให้ความสำคัญด้านสุขภาพอนามัยของตัวเราก่อน
5. ใช้จุดแข็งด้านการมีระเบียบวินัยต่อตนเอง
คุณลักษณะเป็นจุดแข็งในด้านนี้นั้น จะเกี่ยวกับการมีระเบียบวินัยในพฤติกรรมด้านสุขภาพ นอกจากนี้ยังหมายถึงการจัดการกับสิ่งที่เป็นทางเลือกที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และดูแลรักษาสุขภาพของเราในระยะยาวมากขึ้น
ฝึกจุดแข็งด้านการมีระเบียบวินัยต่อตนเอง
การมีระเบียบวินัยด้านพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกแนะนำกันก็คือ การหมั่นล้างมือ การใช้เจลแอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือ ระวังการจับมือทักทาย และพฤติกรรมการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม โดยคุณลักษณะที่เป็นจุดแข็งทั้ง 24 ด้าน จุดแข็งด้านการมีระเบียบวินัยต่อตนเอง ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนในงานวิจัยว่า มันมีความเชื่อมโยงเป็นอย่างมากในด้านต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพกายของเรา
6. จัดการกับจุดแข็งที่เราใช้มากเกินไป (Overuse) และใช้น้อยเกินไป (Underuse)
เป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะใช้คุณลักษณะเป็นจุดแข็งทั้ง 24 ด้านของเรา มากเกินไปหรือน้อยเกินไป ซึ่งเราสามารถเห็นได้จากปัญหาความขัดแย้งหรือความเครียดที่เกินขึ้น ในสถานการณ์ของ COVID-19 นี้ เราก็อาจจะใช้คุณลักษณะที่เป็นจุดแข็งของเรา มากหรือน้อยเกินไป
หากเราพบว่าตัวเรานั้นตอบสนองต่อสถานการณ์นี้ จนเกิดความวิตกกังวลมาก และพยายามที่จะหลีกเลี่ยงกิจกรรมทุกอย่างที่เคยชอบทำเพราะกลัวจะได้รับเชื้อ หรือรู้สึกสับสนในสิ่งที่เราควรทำ รวมถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นอันเกี่ยวเนื่องมาจากสถานการณ์ของ COVID-19 เป็นต้น จากนั้นลองมาตรวจสอบดูว่า มีจุดแข็งด้านใดบ้างที่เรามักจะใช้มากเกินไปหรือน้อยเกินไป ตัวอย่างเช่น
เราอาจจะใช้จุดแข็งด้านความรักในการเรียนรู้มากเกินไปด้วยการดูข่าว 20 ชั่วโมงต่อวัน นั่นเป็นเพราะเราอยากทราบว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง หรือรายละเอียดในสถานการณ์ล่าสุดที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอย่างไร แต่การใช้จุดแข็งด้านนี้มากเกินไป อาจจะทำให้เกิดความเหนื่อยล้าจากการเสพข้อมูลต่างๆ อันทำให้ตื่นตระหนกและจิตใจไม่สงบ ซึ่งถ้าหากตอนนี้เรามีลักษณะแบบนี้ ให้ลองลดการเสพข่าวประเภทข่าวสั้นล่าสุดลง แล้วลองมาติดตามข่าวสารที่มาในรูปแบบของการสรุปข่าวในแต่ละวันแทน เป็นต้น
หากเราใช้จุดแข็งด้านความรอบคอบและระมัดระวังมากจนเกินไป ซึ่งถึงแม้ว่าในสถานการณ์ตอนนี้ มีความจำเป็นอย่างมากที่เราต้องใช้จุดแข็งด้านนี้ แต่มันอาจทำให้เราใช้มันสุดโต่งมากจนเกิดความเคร่งเครียดในการใช้ชีวิตประจำวัน แต่เราอาจจะมาลองใช้ประโยชน์จากจุดแข็งด้านความกล้าดูบ้าง เพื่อที่จะเอาชนะสภาวะความหวาดกลัวของสาธารณะชนและลองใช้ชีวิตในการทำกิจกรรมประจำวันตามปกติหรือออกไปใช้ชีวิตในวันหยุด หรือทำกิจกรรมที่เราเคยวางแผนไว้ เป็นต้น
หรือถ้าหากใช้จุดแข็งด้านความคิดสร้างสรรค์น้อยจนเกินไป โดยอาจจะพบว่าตัวเรานั้นได้แต่ขังตัวเองไว้ในบ้านและเริ่มรู้สึกเบื่อแล้ว ลองหันมาใช้ความคิดสร้างสรรค์ของเราดู ใช้สถานที่ในบ้านให้เป็นโอกาสในการสร้างสรรค์เกมใหม่ๆ หรือกิจกรรมที่เราสามารถทำร่วมกับคนในครอบครัวหรือคนที่เรารักได้ อาจจะได้เวลาปัดฝุ่นแปรงทาสีหรือกลับมาทำเครื่องปั้นดินเผาที่เคยทำทิ้งเอาไว้เมื่อ 2-3 ปีที่ก่อนหน้านี้ หรือถ้าหากเราเคยอยากเป็นนักเขียนบล๊อกออนไลน์หรือเป็นนักกวี ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่เราจะกลับไปทำกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้อีกครั้ง
ที่มา:https://www.viacharacter.org/topics/articles/coping-with-the-coronavirus-a-strengths-perspective
บริษัท เดอะ ทรี เวิลด์ส ครีเอเตอร์ จำกัด
LINE ID : the3worldscreator
Facebook : www.facebook.com/the3worldscreator
Tel. 093-2459985, 02-5309150
เมื่อฉันรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ฉันจะลองมองให้กว้างขึ้นอีกหน่อย ว่ามีอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องหรือกระทบกับตัวฉันและครอบครัวมากที่สุดในเวลานี้
4.ใช้จุดแข็งด้านความรอบคอบ
ด้วยระดับของความระมัดระวังที่ต้องเพิ่มสูงขึ้น ความรอบคอบจึงกลายเป็นเรื่องที่โดยรวมแล้วตอนนี้จะถูกยกระดับให้สำคัญมากขึ้นในสังคม ซึ่งมันทำให้เราสามารถใช้ความรอบคอบไปในการคิดก่อนลงมือทำ ใช้ในการวางแผน ใช้ในการเตรียมตัว และใช้ในการป้องกัน
ฝึกจุดแข็งด้านความรอบคอบ
คิดถึงความปลอดภัยไว้ก่อน ก่อนที่จะเข้าร่วมทำกิจกรรมใดๆ ก็ตามในที่สาธารณะหรือต้องเข้าไปอยู่ท่ามกลางผู้คนกลุ่มใหญ่ ให้วางแผนในจุดที่สำคัญหรือจุดที่เสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อได้ง่ายและให้ความสำคัญด้านสุขภาพอนามัยของตัวเราก่อน
5. ใช้จุดแข็งด้านการมีระเบียบวินัยต่อตนเอง
คุณลักษณะเป็นจุดแข็งในด้านนี้นั้น จะเกี่ยวกับการมีระเบียบวินัยในพฤติกรรมด้านสุขภาพ นอกจากนี้ยังหมายถึงการจัดการกับสิ่งที่เป็นทางเลือกที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และดูแลรักษาสุขภาพของเราในระยะยาวมากขึ้น
ฝึกจุดแข็งด้านการมีระเบียบวินัยต่อตนเอง
การมีระเบียบวินัยด้านพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกแนะนำกันก็คือ การหมั่นล้างมือ การใช้เจลแอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือ ระวังการจับมือทักทาย และพฤติกรรมการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม โดยคุณลักษณะที่เป็นจุดแข็งทั้ง 24 ด้าน จุดแข็งด้านการมีระเบียบวินัยต่อตนเอง ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนในงานวิจัยว่า มันมีความเชื่อมโยงเป็นอย่างมากในด้านต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพกายของเรา
6. จัดการกับจุดแข็งที่เราใช้มากเกินไป (Overuse) และใช้น้อยเกินไป (Underuse)
เป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะใช้คุณลักษณะเป็นจุดแข็งทั้ง 24 ด้านของเรา มากเกินไปหรือน้อยเกินไป ซึ่งเราสามารถเห็นได้จากปัญหาความขัดแย้งหรือความเครียดที่เกินขึ้น ในสถานการณ์ของ COVID-19 นี้ เราก็อาจจะใช้คุณลักษณะที่เป็นจุดแข็งของเรา มากหรือน้อยเกินไป
หากเราพบว่าตัวเรานั้นตอบสนองต่อสถานการณ์นี้ จนเกิดความวิตกกังวลมาก และพยายามที่จะหลีกเลี่ยงกิจกรรมทุกอย่างที่เคยชอบทำเพราะกลัวจะได้รับเชื้อ หรือรู้สึกสับสนในสิ่งที่เราควรทำ รวมถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นอันเกี่ยวเนื่องมาจากสถานการณ์ของ COVID-19 เป็นต้น จากนั้นลองมาตรวจสอบดูว่า มีจุดแข็งด้านใดบ้างที่เรามักจะใช้มากเกินไปหรือน้อยเกินไป ตัวอย่างเช่น
เราอาจจะใช้จุดแข็งด้านความรักในการเรียนรู้มากเกินไปด้วยการดูข่าว 20 ชั่วโมงต่อวัน นั่นเป็นเพราะเราอยากทราบว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง หรือรายละเอียดในสถานการณ์ล่าสุดที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอย่างไร แต่การใช้จุดแข็งด้านนี้มากเกินไป อาจจะทำให้เกิดความเหนื่อยล้าจากการเสพข้อมูลต่างๆ อันทำให้ตื่นตระหนกและจิตใจไม่สงบ ซึ่งถ้าหากตอนนี้เรามีลักษณะแบบนี้ ให้ลองลดการเสพข่าวประเภทข่าวสั้นล่าสุดลง แล้วลองมาติดตามข่าวสารที่มาในรูปแบบของการสรุปข่าวในแต่ละวันแทน เป็นต้น
หากเราใช้จุดแข็งด้านความรอบคอบและระมัดระวังมากจนเกินไป ซึ่งถึงแม้ว่าในสถานการณ์ตอนนี้ มีความจำเป็นอย่างมากที่เราต้องใช้จุดแข็งด้านนี้ แต่มันอาจทำให้เราใช้มันสุดโต่งมากจนเกิดความเคร่งเครียดในการใช้ชีวิตประจำวัน แต่เราอาจจะมาลองใช้ประโยชน์จากจุดแข็งด้านความกล้าดูบ้าง เพื่อที่จะเอาชนะสภาวะความหวาดกลัวของสาธารณะชนและลองใช้ชีวิตในการทำกิจกรรมประจำวันตามปกติหรือออกไปใช้ชีวิตในวันหยุด หรือทำกิจกรรมที่เราเคยวางแผนไว้ เป็นต้น
หรือถ้าหากใช้จุดแข็งด้านความคิดสร้างสรรค์น้อยจนเกินไป โดยอาจจะพบว่าตัวเรานั้นได้แต่ขังตัวเองไว้ในบ้านและเริ่มรู้สึกเบื่อแล้ว ลองหันมาใช้ความคิดสร้างสรรค์ของเราดู ใช้สถานที่ในบ้านให้เป็นโอกาสในการสร้างสรรค์เกมใหม่ๆ หรือกิจกรรมที่เราสามารถทำร่วมกับคนในครอบครัวหรือคนที่เรารักได้ อาจจะได้เวลาปัดฝุ่นแปรงทาสีหรือกลับมาทำเครื่องปั้นดินเผาที่เคยทำทิ้งเอาไว้เมื่อ 2-3 ปีที่ก่อนหน้านี้ หรือถ้าหากเราเคยอยากเป็นนักเขียนบล๊อกออนไลน์หรือเป็นนักกวี ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่เราจะกลับไปทำกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้อีกครั้ง
ที่มา:https://www.viacharacter.org/topics/articles/coping-with-the-coronavirus-a-strengths-perspective
บริษัท เดอะ ทรี เวิลด์ส ครีเอเตอร์ จำกัด
LINE ID : the3worldscreator
Facebook : www.facebook.com/the3worldscreator
Tel. 093-2459985, 02-5309150