TWC Article
8 บทเรียนที่อุบัติขึ้นมา ท่ามกลางวิกฤติการณ์ Covid-19
8 บทเรียนที่อุบัติขึ้นมา ท่ามกลางวิกฤติการณ์ Covid-19
1. การถูก Disruption โดยการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า เป็นลางสังหรณ์ว่าบางสิ่งกำลังจะมา
: การเกิดขึ้นของภัยพิบัติทางธรรมชาติ อย่าง พายุเฮอริเคน แผ่นดินไหวหรือสึนามิ มักจะมีแนวโน้มในการช่วยเผยให้เห็นด้านดีๆ ของมนุษย์ อย่างการร่วมมือร่วมใจกัน เป็นต้น แต่ในขณะการแพร่ระบาดระดับที่รุนแรงของโรคระบาดนั้น มักจะแสดงให้เราเห็นในสิ่งที่ตรงข้ามกัน เจ้าไวรัสเปรียบเสมือนกระจกเงาสะท้อนอยู่ตรงหน้าของพวกเรา มันบังคับให้พวกเราได้มองเห็นพฤติกรรมของเราที่สามารถส่งผลกระทบต่อระบบโดยรวมได้ ซึ่งกระจกบานนี้นั้น จะชวนให้เราได้กลับมาคิดและตระหนักถึงพฤติกรรมของตัวเราเอง และเริ่มที่จะเสียสละประโยชน์ส่วนตนบางส่วนไปยังส่วนรวม นั่นก็เปรียบเหมือนการยกระดับพื้นที่ภายในดวงจิตของเรา จากอัตตาสู่ระบบนิเวศโดยรวมนั่นเอง
2. พฤติกรรมของเรา สามารถเปลี่ยนแปลงระบบได้
: หากถามว่าวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส สามารถให้อะไรคืนกลับมาสู่พวกเราบ้าง สิ่งนั้นก็คือคำว่า “เรา” นั่นเอง มนุษย์เราแต่ละคนต่างอยู่กันอย่างแยกส่วน อยู่ห่างไกลกัน แต่ก็ยังเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งสิ่งนี้ จะช่วยเปลี่ยนแปลงระบบได้ จุดเริ่มต้นของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่านั้น เริ่มมาจากที่เมืองอู๋ฮั๋น ประเทศจีน ซึ่งจะเห็นได้ว่า ไวรัส สามารถเดินทางได้ไกลขนาดไหน ด้วยระยะเวลาไม่นาน มันสามารถแพร่ระบาดไปยังต่างประเทศหรือทวีปต่างๆ ที่อยู่ห่างไกลประเทศจีนได้อย่างรวดเร็ว นั่นแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมถึงกันมากขึ้นของโลกมนุุษย์ในปัจจุบันนี้ แม้มนุษย์จะมีอยู่เป็นจำนวนมาก เรามีกันหลากหลายเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ แต่พวกเราก็ล้วนเป็นหนึ่งเดียวกัน ด้วยสภาวการณ์ในปัจจุบันนี้ เรามีความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันในการยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า เพื่อไม่ให้เกิดความเจ็บปวดอย่างรุนแรงขึ้นโดยไม่จำเป็น ในกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนที่ไม่มีประกันสุขภาพ คนที่ทำงานหาเช้ากินค่ำ หรือกลุ่มคนที่อาศัยอย่างโดดเดี่ยวโดยไม่มีความปลอดภัยใดๆ ในการใช้ชีวิต เป็นต้น การกักกันตัวเองและเว้นระยะห่างจากสังคม ไม่ได้เป็นการกระทำเพียงเรื่องของตัวเราเองเท่านั้น แต่มันหมายถึงการช่วยในการปกป้องกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงทั้งหลายนี้ด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่า พฤติกรรมการใช้ชีวิตของมนุษย์เราเองนั้น สามารถเปลี่ยนแปลงระบบของโลกใบนี้ได้ ในช่วงเวลานี้ เราควรใช้ชีวิตอย่างมีสติใคร่ครวญ เพื่อช่วยลดทอนความร้ายแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
3. การรับมืออย่างทันท่วงทีของรัฐบาล และกระตุ้นการรับรู้ของประชาชนผ่านข้อมูลข่าวสาร
: เพื่อชะลอการแพร่ระบาดของไวรัส เราจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ ของเรา หลายๆ ประเทศอย่างประเทศจีน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น หรือไต้หวัน ล้วนแต่เป็นประเทศที่เผชิญการระบาดอย่างหนักจากไวรัสโคโรน่า แต่ด้วยการรับมือกับการแพร่ระบาดอย่างทันท่วงทีและโปร่งใสของรัฐบาล ด้วยการให้ข้อมูลแกประชาชน รวมไปถึงการรับรู้ของประชาชนที่ได้รับการแนะนำอย่างเป็นทางการและการตอบสนองอย่างรวดเร็วของรัฐบาลในช่วงเวลาที่เหมาะสม และเชิงรุก ซึ่งรัฐบาลของประเทศเหล่านี้ ไม่ได้บริหารจัดการกับวิกฤตการณ์ด้วยการปิดหูปิดตาประชาชน แต่พวกเขาแบ่งปันข้อมูลอย่างโปร่งใส และขับเคลื่อนมาตรการในการต่อสู้กับ Covid-19 ไปอย่างมีสติ ระมัดระวัง พอๆ กับการกระตุ้นการตระหนักและเข้าใจแกประชากรของพวกเขาไปพร้อมๆ กันด้วย
4. เรากำลังเผชิญหน้ากับการเลือก
: วิกฤตการณ์โคโรน่าไวรัส ได้เปิดโอกาสให้มนุษย์ได้หยุดชั่วคราว ได้รีเซ็ต และเดินหน้าต่อ Covid-19 ก็เหมือนกับการ Disruption อื่นๆ โดยเฉพาะมันทำให้พวกเราต้องมาเผชิญหน้ากับการเลือก ซึ่งการเลือกที่ว่านั้นก็คือ การเลือกที่จะหันหลังให้ผู้อื่น แล้วสนใจดูแลแต่ตัวเอง หรือการเลือกที่จะใส่ใจดูแลผู้อื่น ด้วยการให้ความช่วยเหลือและปลอบโยนแก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ เป็นต้น ซึ่งตัวเลือกทั้ง2ตัวเลือกนี้ เป็นตัวเลือกระหว่างการแสดงอัตตาของตัวเราเองหรือการแสดงผ่านการรับรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้นหรือจากสถานการณ์ที่เรากำลังเผชิญอยู่ ยิ่งโลกของเราจมไปกับความโกลาหล ความสิ้นหวังและความสับสนมากเท่าไหร่ ความสำนึกรับผิดชอบอันยอดเยี่ยมของเราก็ยิ่งต้องแสดงออกมา เพื่อแสดงความเห็นอกเห็นใจและลงมือทำอย่างมุ่งมั่น
1. การถูก Disruption โดยการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า เป็นลางสังหรณ์ว่าบางสิ่งกำลังจะมา
: การเกิดขึ้นของภัยพิบัติทางธรรมชาติ อย่าง พายุเฮอริเคน แผ่นดินไหวหรือสึนามิ มักจะมีแนวโน้มในการช่วยเผยให้เห็นด้านดีๆ ของมนุษย์ อย่างการร่วมมือร่วมใจกัน เป็นต้น แต่ในขณะการแพร่ระบาดระดับที่รุนแรงของโรคระบาดนั้น มักจะแสดงให้เราเห็นในสิ่งที่ตรงข้ามกัน เจ้าไวรัสเปรียบเสมือนกระจกเงาสะท้อนอยู่ตรงหน้าของพวกเรา มันบังคับให้พวกเราได้มองเห็นพฤติกรรมของเราที่สามารถส่งผลกระทบต่อระบบโดยรวมได้ ซึ่งกระจกบานนี้นั้น จะชวนให้เราได้กลับมาคิดและตระหนักถึงพฤติกรรมของตัวเราเอง และเริ่มที่จะเสียสละประโยชน์ส่วนตนบางส่วนไปยังส่วนรวม นั่นก็เปรียบเหมือนการยกระดับพื้นที่ภายในดวงจิตของเรา จากอัตตาสู่ระบบนิเวศโดยรวมนั่นเอง
2. พฤติกรรมของเรา สามารถเปลี่ยนแปลงระบบได้
: หากถามว่าวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส สามารถให้อะไรคืนกลับมาสู่พวกเราบ้าง สิ่งนั้นก็คือคำว่า “เรา” นั่นเอง มนุษย์เราแต่ละคนต่างอยู่กันอย่างแยกส่วน อยู่ห่างไกลกัน แต่ก็ยังเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งสิ่งนี้ จะช่วยเปลี่ยนแปลงระบบได้ จุดเริ่มต้นของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่านั้น เริ่มมาจากที่เมืองอู๋ฮั๋น ประเทศจีน ซึ่งจะเห็นได้ว่า ไวรัส สามารถเดินทางได้ไกลขนาดไหน ด้วยระยะเวลาไม่นาน มันสามารถแพร่ระบาดไปยังต่างประเทศหรือทวีปต่างๆ ที่อยู่ห่างไกลประเทศจีนได้อย่างรวดเร็ว นั่นแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมถึงกันมากขึ้นของโลกมนุุษย์ในปัจจุบันนี้ แม้มนุษย์จะมีอยู่เป็นจำนวนมาก เรามีกันหลากหลายเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ แต่พวกเราก็ล้วนเป็นหนึ่งเดียวกัน ด้วยสภาวการณ์ในปัจจุบันนี้ เรามีความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันในการยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า เพื่อไม่ให้เกิดความเจ็บปวดอย่างรุนแรงขึ้นโดยไม่จำเป็น ในกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนที่ไม่มีประกันสุขภาพ คนที่ทำงานหาเช้ากินค่ำ หรือกลุ่มคนที่อาศัยอย่างโดดเดี่ยวโดยไม่มีความปลอดภัยใดๆ ในการใช้ชีวิต เป็นต้น การกักกันตัวเองและเว้นระยะห่างจากสังคม ไม่ได้เป็นการกระทำเพียงเรื่องของตัวเราเองเท่านั้น แต่มันหมายถึงการช่วยในการปกป้องกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงทั้งหลายนี้ด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่า พฤติกรรมการใช้ชีวิตของมนุษย์เราเองนั้น สามารถเปลี่ยนแปลงระบบของโลกใบนี้ได้ ในช่วงเวลานี้ เราควรใช้ชีวิตอย่างมีสติใคร่ครวญ เพื่อช่วยลดทอนความร้ายแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
3. การรับมืออย่างทันท่วงทีของรัฐบาล และกระตุ้นการรับรู้ของประชาชนผ่านข้อมูลข่าวสาร
: เพื่อชะลอการแพร่ระบาดของไวรัส เราจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ ของเรา หลายๆ ประเทศอย่างประเทศจีน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น หรือไต้หวัน ล้วนแต่เป็นประเทศที่เผชิญการระบาดอย่างหนักจากไวรัสโคโรน่า แต่ด้วยการรับมือกับการแพร่ระบาดอย่างทันท่วงทีและโปร่งใสของรัฐบาล ด้วยการให้ข้อมูลแกประชาชน รวมไปถึงการรับรู้ของประชาชนที่ได้รับการแนะนำอย่างเป็นทางการและการตอบสนองอย่างรวดเร็วของรัฐบาลในช่วงเวลาที่เหมาะสม และเชิงรุก ซึ่งรัฐบาลของประเทศเหล่านี้ ไม่ได้บริหารจัดการกับวิกฤตการณ์ด้วยการปิดหูปิดตาประชาชน แต่พวกเขาแบ่งปันข้อมูลอย่างโปร่งใส และขับเคลื่อนมาตรการในการต่อสู้กับ Covid-19 ไปอย่างมีสติ ระมัดระวัง พอๆ กับการกระตุ้นการตระหนักและเข้าใจแกประชากรของพวกเขาไปพร้อมๆ กันด้วย
4. เรากำลังเผชิญหน้ากับการเลือก
: วิกฤตการณ์โคโรน่าไวรัส ได้เปิดโอกาสให้มนุษย์ได้หยุดชั่วคราว ได้รีเซ็ต และเดินหน้าต่อ Covid-19 ก็เหมือนกับการ Disruption อื่นๆ โดยเฉพาะมันทำให้พวกเราต้องมาเผชิญหน้ากับการเลือก ซึ่งการเลือกที่ว่านั้นก็คือ การเลือกที่จะหันหลังให้ผู้อื่น แล้วสนใจดูแลแต่ตัวเอง หรือการเลือกที่จะใส่ใจดูแลผู้อื่น ด้วยการให้ความช่วยเหลือและปลอบโยนแก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ เป็นต้น ซึ่งตัวเลือกทั้ง2ตัวเลือกนี้ เป็นตัวเลือกระหว่างการแสดงอัตตาของตัวเราเองหรือการแสดงผ่านการรับรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้นหรือจากสถานการณ์ที่เรากำลังเผชิญอยู่ ยิ่งโลกของเราจมไปกับความโกลาหล ความสิ้นหวังและความสับสนมากเท่าไหร่ ความสำนึกรับผิดชอบอันยอดเยี่ยมของเราก็ยิ่งต้องแสดงออกมา เพื่อแสดงความเห็นอกเห็นใจและลงมือทำอย่างมุ่งมั่น
รูปด้านบน จะอธิบายให้เห็นถึงปฏิกิริยา 2 แบบ ที่มนุษย์เราจะแสดงเมื่อเกิดการถูกDisruption ครึ่งบนแรกของรูป เป็นปฏิกิริยาที่เรียกว่า "Freeze Reaction" เป็นการแช่แข็งทางความรู้สึก การวางเฉย ไม่รับรู้ อันสามารถนำไปสู่ความไม่สนอกสนใจ ความเกลียดชังและความหวาดกลัว ส่วนในครึ่งล่างของรูป แสดงให้เราเห็นถึงปฏิกิริยาที่มีลักษณะของการ "เปิดรับ (Opening)" อันจะนำไปสู่ความสนใจใคร่รู้ ความเห็นอกเห็นใจ และความกล้าหาญ ซึ่งถ้าคิดถึงสถานการณ์ในปัจจุบันนี้ การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าที่เกิดขึ้น แม้ว่ามันจะรุนแรง ร้ายกาจ และน่าหวาดกลัว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เราควรที่จะนิ่งเฉย ไม่รับรู้อะไร แล้วรักษาเพียงชีวิตตัวเองให้อยู่รอด จริงๆ แล้วเมื่อไม่นานมานี้ เราอาจจะได้เห็นคลิปวิดีโอจากประเทศอิตาลีและสเปน ที่แสดงให้เราเห็นถึงการรับมือกับสถานการณ์อันเลวร้ายี่เกิดขึ้นในประเทศของพวกเขาอย่างไรบ้าง หนึ่งในนั้นคือการสร้างความรู้สึกเห็นอกเห็นใจและพร้อมที่จะฝ่าฟันอุปสรรคไปด้วยกัน ตัวอย่างจากคลิปวิดีโอที่เห็นกันก็คือ ประชาชนชาวสเปนพากันออกไปยืนที่ระเบียงบ้านในเวลา 22.00 น. เพื่อจะพร้อมใจกันปรบมือแสดงการขอบคุณและให้กำลังใจเหล่าเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ที่กำลังทำหน้าที่ในการช่วยเหลือประชาชนจากวิกฤการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในครั้งนี้ หรือในประเทศอิตาลี ประชาชนก็นัดกันผ่านช่องทาง Social Media เพื่อออกมาเล่นเครื่องดนตรีกันที่ระเบียงบ้าน เพื่อให้กำลังใจซึ่งกันและกันและเพื่อให้การกักตัวอยู่แต่ในบ้านของแต่ละคนไม่เงียบเหงาจนเกินไป
(Video Clips : Spain : https://vimeo.com/398077164 / Italy : https://www.youtube.com/watch?v=k7bobc-vRbQ )
5. การเผชิญกับความเป็นจริง
: วิธีการที่เราแสดงปฏิกิริยาตอบโตต่อการถูก Disruption ไม่ว่าจะเป็นการวางเฉยหรือหันหน้าหนีปัญหา หรือการอ้าแขนเปิดรับและหันหน้าไปสู้กับมันนั้น ปฏิกิริยาสองอย่าง ล้วนเป็นการเลือกทำด้วยตัวของเราเองและอาจหมายถึง มันจะเป็นปฏิกิริยารวมกันตอบสนองของหมู่คณะได้ ยิ่งในช่วงเวลาแห่งการถูก Disruption แบบนี้ อุปนิสัยบางอย่าง เช่น การปฏิเสธ ไม่สะทกสะท้าน หลีกหนีปัญหา กล่าวโทษผู้อื่น หรือโบยความผิดให้ผู้อื่น ฯลฯ ซึ่งอุปนิสัยเหล่านี้ เมื่อมันมาอยู่รวมกัน มันจะมีพลังมหาศาลในการทำลายล้างตัวตนที่เป็นแก่นแท้ของเรา รวมไปถึงมันสามารถวางกรอบรูปแบบการตัดสินใจของเราให้ก้าวไปสู่การคิดตัดสินใจในรูปแบบของการทำลายตัวเองและผู้อื่นได้อย่างรวดเร็ว และยิ่งเรามองเห็นอุปนิสัยด้านที่ไม่เป็นมิตรเหล่านี้มากขึ้นเท่าไหร่ โมเดลการแก้ไขปัญหาแบบเก่าๆ ก็จะถูกแขวนขึ้นหิ้งมากขึ้นเรื่อยๆ และเป็นไปได้ว่า รูปแบบความคิดและการลงมือทำในลักษณะของการร่วมมือร่วมใจและเป็นหนึ่งเดียงของผู้คนในสังคมก็จะอุบัติขึ้นมา
6. การขับเคลื่อนผ่านข้อมูลข่าวสารและกระตุ้นการตระหนักรู้ร่วมกัน
: วิกฤตการณ์ของไวรัสโคโรน่า เป็นตัวกระตุ้นให้เราปรับวิธีการใหม่ในการประสานและร่วมมือกัน โดยการขับเคลื่อนผ่านข้อมูลข่าวสารและกระตุ้นการตระหนักรู้ร่วมกันนั้น เป็นการดำเนินการโดยการเข้ามาร่วมอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน และปรับพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน อธิบายอีกอย่างหนึ่งก็คือการกำกับดูแลโดยการขับเคลื่อนผ่านข้อมูลข่าวสารนั้น เป็นการประสานกันของการ "ปล่อยทิ้งบางสิ่งบางอย่างไป (letting go)" และ "ปล่อยให้บางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้น" (letting come)" โดยขึ้นอยู่กับสิ่งที่เรามองเห็นร่วมกันเป็นพื้นฐาน นั่นหมายถึง การปล่อยทิ้งแผนการที่วางแผนไว้ก่อนหน้านั้นไปเสีย และปล่อยให้สิ่งที่กำลังจะเกิดนั้นอุบัติขึ้นมา (letting go and letting come) ในช่วงระหว่างปี 2555 ระหว่างที่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงิน เราจะเห็นองค์กรใหญ่ๆ หลายองค์กรได้เปลี่ยนวิธีการทำงานที่ต่างไปจากเดิม หลายๆ องค์กรได้ละทิ้งแผนการประจำปีที่วางแผนเอาไว้ รวมถึงเป้าหมายที่วางไว้ในแต่ละไตรมาส แล้วมาให้ความสนใจกับสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่แทน ค่อยๆ แกะปมของปัญหาและปรับตัวเองไปตามสถานการณ์ ซึ่งสิ่งนี้เป็นทักษะและความสามารถที่เราต้องหยิบมาใช้อย่างเร่งด่วน ในการเผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้
ปกติแล้ว การดำเนินการทางธุรกิจ เรามักจะว่าจ้างให้ผู้อื่นมาประสานงานระหว่างระบบของเรากับกลไกภายนอก อย่างเช่น มือที่มองไม่เห็น อย่างกฎระเบียบของรัฐบาล หรือกลไกของตลาด แต่ในช่วงของการ Disruption กลไกเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะพังลายลง และเมื่อสิ่งนั้นเกิดขึ้น เราในฐานะผู้เล่นหลักในระบบจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องมารวมกัน เพื่อร่วมรับรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้น และร่วมกันกำหนดอนาคตนี่จะอุบัติขึ้นในวันหน้า ในอีกนัยหนึ่ง เราควรพุ่งความสนใจและความตั้งใจของเราให้สอดคล้องไปกับสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นด้วย การเรียนรู้ที่จะเชื่อมต่อกันอย่างมีสติ ด้วยวิถีอันมุ่งมั่นนั้นจะกลายเป็นของขวัญเชิงสัญญะอุบัติขึ้นในช่วงเวลาแห่งวิกฤตนี้ ซึ่งการทำงานที่เชื่อมต่อกันอย่างสอดประสานนี้จะต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่สำคัญ 2 ประการ คือ
- ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้
- พื้นที่ร่วมที่ช่วยให้ผู้คนได้แสดงตนเพื่อความผาสุกมวลรวม และอนุญาตให้พวกเขาได้ขับเคลื่อนอัตตาของตัวเอง ไปสู่สิ่งที่อยู่แวดล้อมโดยรอบมากยิ่งขึ้น
ความสามารถร่วมที่เกิดขึ้นนี้ จะมีความสำคัญต่อการจัดการกับวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในหลายๆ พื้นที่ ทั้งวิกฤตการณ์ทางสภาพอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ ปัญหาของผู้ลี้ภัยที่กำลังเรียกร้องหาความยุติธรรมและความผาสุกแห่งการใช้ชีวิต เป็นต้น
7. บทสนทนาควรเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ : การปรับเปลี่ยนอารยธรรมของพวกเรา
: การเกิดขึ้นของ Disruption นั้น มักจะให้เรามองเห็น 2 ด้าน นั่นคือ สิ่งที่เราต้องการจะปล่อยทิ้งไป และสิ่งที่กำลังจะอุบัติขึ้นมา ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา เราอาจจะมัวไปให้ความสำคัญกับเรื่องที่ไม่ใช่แก่นแท้ อย่างเช่นการที่ตารางงานยุ่งตลอดและเต็มไปด้วยการประชุมที่ไม่มีความสำคัญ เป็นต้น หากเรามาตั้งคำถามด้วยกันว่า หากเราจะใช้โอกาสของการถูก Disruption ในครั้งนี้เป็นโอกาสในการทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างที่ไม่จำเป็นในชีวิตออกไป รวมถึงสิ่งที่ไม่สำคัญในการทำงาน หรือสิ่งที่เราทำอยู่ทุกวี่วัน เป็นไปได้ไหมที่เราจะมีคิดกันใหม่ว่าเราจะใช้ชีวิตและงานร่วมกันได้อย่างไร เรามาทบทวนโครงสร้างพื้นฐานของอารยธรรมของเรากันใหม่ดีหรือไม่ ในรูปแบบจริงจังและมีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงทั้งระบบนิเวศ สังคมและจิตวิญญาณ เป็นต้น นี่คือบทสนทนาเราต้องการให้เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ ทั้งในวงพูดคุยของเหล่าเพื่อนฝูง ครอบครัว องค์กรและสังคม
สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากวิกฤตการณ์ทางการเงินที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้ คือผลกระทบเกิดขึ้นในแต่ละองค์กรนั้นมีความแตกต่างกัน โดยมันขึ้นอยู่กับว่าองค์กรนั้นๆ ใช้ภาวะผู้นำอย่างไร และผู้คนทั่วไป หรือผู้มีส่วนในการสร้างการเปลี่ยนแปลงนั้น ตอบสนองต่อสถานการณ์นั้นๆ อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการหันหน้าหนีปัญหา หรือการวางเฉยไม่สนใจ หรือแม้แต่เปิดรับต่อปัญหา เป็นต้น องค์กรหนึ่งอาจจะซ่อนตัวเองจากสถานการณ์นั้นๆ ในขณะที่อีกองค์กร อาจจะตอบสนองกับสถานการณ์ในอีกรูปแบบหนึ่ง อย่างการลงไปหาพนักงานในองค์กรในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังรู้สึกอ่อนแอ ซึ่งความแตกต่างของผลกระทบที่เกิดขึ้นในแต่ละองค์กรนั้นจับต้องได้และมีความลึกซึ้ง บางองค์กร ทีมงานรุ่นบุกเบิก อาจจะแตกแยกกันไปคนละทิศคนละทาง ในขณะอีกองค์กรทีมของเขาอาจจะมีแนวโน้มที่จะเติบโตไปด้วยกัน ในระดับที่มีความร่วมมือกันอย่างที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นอันเกิดขึ้นภายนอกในวันนี้ ทำให้เราต้องกลับไปปรับแต่งและเปิดใช้งานแหล่งข้อมูลจากภายในของเราซึ่งเป็นระดับที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นของมนุษยชาติ แน่นอนรากที่หยั่งลึกเหล่านี้ไม่ได้ถูกจำกัดด้วยนิยามของลัทธิขงจื้อใด แต่พวกมันมีอยู่ในทุกวัฒนธรรมของเราและพวกมันก็สงบนิ่งอยู่ภายในมนุษย์ทุกคน เพียงแต่เราจะสามารถเปิดใช้งานแหล่งข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้ได้หรือไม่ และเราไม่เพียงแต่ต้องเปิดใช้งานแหล่งข้อมูลเชิงลึกนี้ในระดับบุคคล แต่ยังหมายถึง ในระดับของระบบโดยรวมทั้งหมด ซึ่งนี่คือกุญแจ ที่จะช่วยเราในการยกระดับระบบปฏิบัติการ (ผู้คนในองค์) ที่มีอยู่อย่างหลากหลายได้
- ปรับโครงสร้างของการเรียนรู้ จากการเรียนรู้ส่วนบุคคลไปสู่การเรียนรู้ร่วมกันทั้งระบบ
- พัฒนาโครงสร้างทางประชาธิปไตย ให้เข้าถึงพวกเขาโดยตรง ทั่วถึงและพูดคุยกันได้
- ปรับโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ จากอัตตาของตนเองไปสู่การตระหนักถึงระบบนิเวศแวดล้อมมากขึ้น
อาจจะเป็นการดีที่เราได้ใช้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ในการใช้ชีวิตให้ช้าลง หยุดพัก และเชื่อมต่อไปยังสิ่งที่สงบนิ่งอยู่ภายในของเรามาอย่างช้านาน บางทีสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้อาจจะเป็นช่วงเวลาของโลกที่ทุกสิ่งอย่างและทุกคนได้หยุดนิ่งชั่วครู่หนึ่งเพื่อเชื่อมต่อไปยังแหล่งที่มาอันจริงแท้ของตัวเรา (Connecting to the sources)
8. โรงเรียนแห่งการเปลี่ยนแปลง
: พวกเราหลายๆ คนอาจจะรู้สึกว่าเรากำลังอยู่ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่เพียงแต่เปลี่ยนแปลงแล้วจบลง แต่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงและหว่านเมล็ดพันธ์ หยั่งรากและเติบโตของอารยธรรมใหม่แห่งทศวรรษและศตวรรษที่จะมาถึงนี้อีกด้วย ซึ่งนั่นเป็นความจริงที่เกิดขึ้นทั้งก่อนและหลังการระบาดของไวรัส Covid-19 เสียอีก คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ แล้วเราจะตอบสนองต่อสถานการณ์ปัจจุบันนี้ในรูปแบบที่ช่วยส่งเสริมให้ก่อเกิดศักยภาพใหม่และช่วยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกมากขึ้นได้อย่างไร เราจะสามารถทบทวนและปรับเปลี่ยนรูปแบบในการขับเคลื่อนไปข้างหน้าโดยให้เกิดผลแห่งการเยียวยาโลกใบนี้และก่อกำเนิดสังคมใหม่ได้อย่างไร แล้วเราจะพัฒนาการเรียนรู้และความเป็นผู้นำในรูปแบบที่ปรับเปลี่ยนการเรียนรู้ จากการฝึกฝนอบรมเฉพาะส่วนบุคคล ไปสู่การเรียนรู้ไปพร้อมกันทั้งระบบได้อย่างไรบ้าง (ดูรูป “ระบบของการเรียนรู้และภาวะผู้นำ” ประกอบ)
โรงเรียนแห่งการเปลี่ยนแปลง (School for Transformation) คือการที่เราเปลี่ยนจุดที่เราให้ความสนใจ จากการโฟกัสแค่เพียงบุคคล ไปมุ่งเน้นที่การเปิดพื้นที่ให้สังคมได้มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงนี้ร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลทั้งการเยียวยาโลกและการสร้างอายธรรมใหม่แห่งการร่วมมือร่วมใจให้แก่โลกใบนี้ (ดูรูปประกอบ)
สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า คือการแสดงท่าทีตอบสนองต่อมัน ทำให้เราได้เห็นปรากฏการณ์ทางสังคม ที่เกิดขึ้นอย่างหลากหลาย ทั้งการที่สังคมหันมาแสดงความร่วมมือร่วมใจกันในการร่วมกันคิด (Co-creation) หรือ การแสดงที่ตอบโต้ด้วยลักษณะของการทำลายตัวเองของผู้นำบางคนหรือบางประเทศ เป็นต้น แต่สิ่งหนึ่งที่ควรทำอย่างเร่งด่วนที่สุดคือการปลูกฝังรูปแบบการเรียนรู้ ในการคิดแก้ไขปัญหา ทั้งจากตนเองและการร่วมมือร่วมใจในการลงมือทำ โดยพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย วัดผลได้จริง และปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ ซึ่งทุกคนในสังคม สามารถเข้ามาเรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้หรือนำไปบูรณาการในการเรียนรู้และสร้างการขับเคลื่อนไปข้างหน้า ท่ามกลางความโกลาหลและการถูก Disruption ที่เกิดขึ้นในสภาวการณ์ปัจจุบันนี้
สรุปจากบทความ: https://medium.com/presencing-institute-blog/eight-emerging-lessons-from-coronavirus-to-climate-action-683c39c10e8b
บริษัท เดอะ ทรี เวิลด์ส ครีเอเตอร์ จำกัด
LINE ID : the3worldscreator
Facebook : www.facebook.com/the3worldscreator
Tel. 093-2459985, 02-5309150