การบ่มเพาะแรงผลักร่วมกัน (Shared Passion)
แรงผลัก หรือ Passion คือพลังงานบวกที่จะช่วยส่งเสริมแรงบันดาลใจเชิงบวกให้เกิดขึ้นในที่ทำงาน ซึ่ง Passion นั้นเป็นสิ่งที่คล้ายกับโรคติดต่อ สามารถแพร่เชื้อไฟแห่งความปรารถนาจากผู้หนึ่งไปยังอีกผู้หนึ่งได้ เพียงแค่มีคนเริ่มต้นตื่นเต้นกับการทำงานบางชิ้น หรือบางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้นในองค์กร คนอื่น ๆ ที่อยู่รอบบริเวณนั้นก็จะรู้สึกร่วมและตื่นเต้นไปกับสิ่งนั้นด้วย โดยหากเราสามารถจัดสรรและใช้งาน Passion ในองค์กรได้อย่างเหมาะสม มันจะช่วยเป็นแรงขับเคลื่อนอันทรงพลังที่สามารถสร้างแรงกระเพิ่มในเชิงบวกให้เกิดขึ้นภายในองค์กรและส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กรได้เป็นอย่างดี
Passion เป็นสิ่งที่สามารถเติมโตงอกงามได้ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม และสามารถสูญหายไปได้หากไม่ได้รับการเติมเชื้อไฟอย่างสม่ำเสมอ องค์กรจึงควรสร้างสภาวะแวดล้อมในการทำงานที่เหมาะสม ทั้งในส่วนของพื้นที่ที่ใช้ในการทำงาน พื้นที่ที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติงาน และการบริหารจัดการการฝึกฝนฝีมือของบุคลากร เป็นต้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในนโยบายขององค์กรที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และได้นำศักยภาพสูงสุดของแต่ละบุคลากรมาใช้จริง อันจะส่งผลต่อการลงมือทำงานที่มาจาก Passion ของแต่ละคน ซึ่งสามารถเริ่มต้นได้ด้วยกระบวนการดังต่อไปนี้
1. รับรู้พันธกิจหลักขององค์กรร่วมกัน : ทำให้บุคลากรในองค์กรเข้าใจก่อนว่า แต่ละคนนั้นมีบทบาทหน้าที่และอิทธิพลต่อองค์กรขนาดไหน องค์กรควรแบ่งปันเรื่องราวของความท้าทายใหม่ที่องค์กรกำลังเผชิญให้กับบุคลากรในองค์กรทราบ เพื่อให้พวกเขารับรู้และเข้าใจว่า ตนเองนั้นจะต้องทำอย่างไร ควรใช้ศักยภาพไหนในการช่วยเหลือและนำพาองค์กรให้ก้าวต่อไปข้างหน้าได้
2. เปิดพื้นที่ให้ลองผิดลองถูก : องค์กรควรเปิดพื้นที่ให้บุคลากรได้มีการทดลองการทำงาน ได้ลองผิดลองถูก โดยการจัดสรรพื้นที่ โปรเจค อุปกรณ์เครื่องมือในการทดลองทำงาน ตัวอย่างเช่น การสร้างโปรเจคเล็ก ๆ ในองค์กร เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรได้มีการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ อันเอื้อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ มีกรอบความคิดเติบโต (Growth Mindset) สามารถคิดนอกกรอบได้และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ ๆ ในการทำงาน
3. ส่งเสริมการช่วยเหลือ เชื่อมต่อ แบ่งปัน : การช่วยเหลือ เชื่อมต่อและแบ่งปันระหว่างเพื่อนร่วมงาน เป็นการเปิดช่องทางให้สามารถเรียนรู้ผ่านการให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงสร้างสรรค์ หรือที่เรียกกันว่าCreative Feedback ระหว่างเพื่อนร่วมงานด้วยกัน ซึ่งวิธีนี้ จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และนำศักยภาพของบุคลากรมาใช้ได้อย่างเหมาะสม และเมื่อบุคลากรในองค์กรแต่ละคนได้นำศักยภาพที่ตนเองมีออกมาวางรวมกัน และนำมาปรับใช้และเชื่อมต่อซึ่งกันและกัน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กร สามารถเผชิญหน้าและแก้ไขปัญหา พร้อมกับนำพาองค์กรให้ก้าวต่อไปข้างหน้าต่อไป ได้อย่างมีคุณภาพ
Resources:
https://www.forbes.com/sites/work-in-progress/2017/06/28/lets-get-real-about-passion-at-work/#29bf1ed93c23
https://www.officevibe.com/blog/passion-work-important-engagement
https://www2.deloitte.com/insights/us/en/topics/talent/worker-passion-employee-behavior.html
https://www.psychologytoday.com/us/blog/beautiful-minds/201109/how-increase-your-harmonious-passion
https://www.psychologytoday.com/us/blog/the-good-life/201001/passion-and-positive-psychology
บริษัท เดอะ ทรี เวิลด์ส ครีเอเตอร์ จำกัด
LINE ID : the3worldscreator
Facebook : www.facebook.com/the3worldscreator
Tel. 093-2459985, 02-5309150
Passion เป็นสิ่งที่สามารถเติมโตงอกงามได้ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม และสามารถสูญหายไปได้หากไม่ได้รับการเติมเชื้อไฟอย่างสม่ำเสมอ องค์กรจึงควรสร้างสภาวะแวดล้อมในการทำงานที่เหมาะสม ทั้งในส่วนของพื้นที่ที่ใช้ในการทำงาน พื้นที่ที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติงาน และการบริหารจัดการการฝึกฝนฝีมือของบุคลากร เป็นต้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในนโยบายขององค์กรที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และได้นำศักยภาพสูงสุดของแต่ละบุคลากรมาใช้จริง อันจะส่งผลต่อการลงมือทำงานที่มาจาก Passion ของแต่ละคน ซึ่งสามารถเริ่มต้นได้ด้วยกระบวนการดังต่อไปนี้
1. รับรู้พันธกิจหลักขององค์กรร่วมกัน : ทำให้บุคลากรในองค์กรเข้าใจก่อนว่า แต่ละคนนั้นมีบทบาทหน้าที่และอิทธิพลต่อองค์กรขนาดไหน องค์กรควรแบ่งปันเรื่องราวของความท้าทายใหม่ที่องค์กรกำลังเผชิญให้กับบุคลากรในองค์กรทราบ เพื่อให้พวกเขารับรู้และเข้าใจว่า ตนเองนั้นจะต้องทำอย่างไร ควรใช้ศักยภาพไหนในการช่วยเหลือและนำพาองค์กรให้ก้าวต่อไปข้างหน้าได้
2. เปิดพื้นที่ให้ลองผิดลองถูก : องค์กรควรเปิดพื้นที่ให้บุคลากรได้มีการทดลองการทำงาน ได้ลองผิดลองถูก โดยการจัดสรรพื้นที่ โปรเจค อุปกรณ์เครื่องมือในการทดลองทำงาน ตัวอย่างเช่น การสร้างโปรเจคเล็ก ๆ ในองค์กร เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรได้มีการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ อันเอื้อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ มีกรอบความคิดเติบโต (Growth Mindset) สามารถคิดนอกกรอบได้และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ ๆ ในการทำงาน
3. ส่งเสริมการช่วยเหลือ เชื่อมต่อ แบ่งปัน : การช่วยเหลือ เชื่อมต่อและแบ่งปันระหว่างเพื่อนร่วมงาน เป็นการเปิดช่องทางให้สามารถเรียนรู้ผ่านการให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงสร้างสรรค์ หรือที่เรียกกันว่าCreative Feedback ระหว่างเพื่อนร่วมงานด้วยกัน ซึ่งวิธีนี้ จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และนำศักยภาพของบุคลากรมาใช้ได้อย่างเหมาะสม และเมื่อบุคลากรในองค์กรแต่ละคนได้นำศักยภาพที่ตนเองมีออกมาวางรวมกัน และนำมาปรับใช้และเชื่อมต่อซึ่งกันและกัน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กร สามารถเผชิญหน้าและแก้ไขปัญหา พร้อมกับนำพาองค์กรให้ก้าวต่อไปข้างหน้าต่อไป ได้อย่างมีคุณภาพ
Resources:
https://www.forbes.com/sites/work-in-progress/2017/06/28/lets-get-real-about-passion-at-work/#29bf1ed93c23
https://www.officevibe.com/blog/passion-work-important-engagement
https://www2.deloitte.com/insights/us/en/topics/talent/worker-passion-employee-behavior.html
https://www.psychologytoday.com/us/blog/beautiful-minds/201109/how-increase-your-harmonious-passion
https://www.psychologytoday.com/us/blog/the-good-life/201001/passion-and-positive-psychology
บริษัท เดอะ ทรี เวิลด์ส ครีเอเตอร์ จำกัด
LINE ID : the3worldscreator
Facebook : www.facebook.com/the3worldscreator
Tel. 093-2459985, 02-5309150